ชัวร์ก่อนแชร์ จับมือ สสอท. และ ETDA ร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา รู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จับมือ สสอท. และ ETDA ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา และบุคคลากรฝ่ายกิจการนักศึกษา สมาชิกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้เท่าทันสื่อ และดิจิทัล กรุงเทพฯ 31 ก.ค. 66 – ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จับมือ  สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ (สสอท.) และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ร่วมลงนาม (MOU) ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ เป็นประธาน ร่วมกับ คุณนิมิต สุขประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักพัฒนาธุรกิจ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ คุณมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมพิธีลงนาม  ทั้งนี้ เพื่อลงนามความร่วมมือสนับสนุนวิทยากร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม 

29 กรกฎาคม 2566 กระบวนการหลอกลวงของมิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ระบุข้อความว่า  “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความข้างต้น หากเผลอกดลิงก์ไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสร้างบัญชีปลอมและใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชันจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไลน์ปลอมจะใช้ชื่อว่า “ Thai ID ” จงใจตั้งให้คล้ายกับแอปพลิเคชันจริง “ThaID” หากไม่สังเกต อาจตกเป็นเหยื่อได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปที่ เว็บไซต์ของกรมการปกครอง ยืนยันว่า ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด และฝากเตือนประชาชนว่า ห้ามกดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ หรือให้อัพเดทข้อมูล หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว หากเหยื่อหลงเชื่อและกดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ มิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจะแกล้งสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แก้ไฟหน้าเหลืองด้วยน้ำยาทำความสะอาดครัว จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีแก้ไฟหน้าเหลืองง่าย ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดห้องครัว ให้กลับมาขาวขึ้นนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์  ⚠️ น้ำยาทำความสะอาดห้องครัวมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถทำความสะอาดไฟฟ้ารถที่เหลืองให้ขาวขึ้นได้ แต่ก็จะทำให้กระจกไฟหน้านั้นมัวไม่ใส  เพราะตัวสารเคลือบไฟหน้าถูกกัดจนหมดด้วย และยังทำให้สีของรถที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ไฟหน้าที่โดนตัวน้ำยานั้นถูกกัดจนด่างไม่เท่ากับสีส่วนอื่น

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคเบาหวาน จริงหรือ ?

26 กรกฎาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคเบาหวานเอาไว้มากมายทั้ง ใบยี่หร่า ช่วยรักษาแผลเบาหวาน และการดื่มน้ำรากใบเตยช่วยให้เบาหวานหายขาดใน 5 วัน ได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : สรรพคุณของใบหม่อน จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปแนะนำว่าใบหม่อนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในหลอดเลือด ไปจนถึงยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ  ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ใบหม่อนมีสาร DNJ สารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลระบุปริมาณการใช้ใบหม่อนที่แน่ชัด จึงไม่ควรแชร์” อันดับที่ 2 : น้ำรากใบเตยรักษาเบาหวาน 5 วัน จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาเบาหวาน 5 วันหาย 100% ทำเองง่ายๆ แค่เอารากใบเตยมาล้างน้ำ […]

OPEN BANKING | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

27 กรกฎาคม 2566 OPEN BANKING คืออะไร และจะมาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมทางการเงินการธนาคารไปในทิศทางไหน และเกี่ยวข้องอะไรกับผู้ใช้บริการทางธนาคารอย่างเรา ๆ มาติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน มาร่วมมองอนาคตว่า ในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า รูปแบบการทำธุรกรรมทางธนาคารจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

เตรียมพร้อมสู่การธนาคารยุคใหม่ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

26 กรกฎาคม 2023 คุณคิดว่า อนาคตของการเงินและการธนาคารเป็นอย่างไร ? จะมีหน้าตาเป็นแบบไหน และจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน มาร่วมมองอนาคตว่า ในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า รูปแบบการทำธุรกรรมทางธนาคารจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข้เลือดออก – สังเกตอาการ และ การรักษา

24 กรกฎาคม 2566 – ไข้เลือดออก โรคร้ายที่หลายคนละเลย เราจะรับมือและป้องกันได้อย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากรุนแรงและรักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปี 2566 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น เดือนมกราคม – กรกฎาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 36,000 ราย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสูงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 5,000 ราย หากเทียบกับปี 2565 จะอยู่ในระดับ 1,000-2,000 ราย และพบผู้เสียชีวิตในประเทศ 32 ราย ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงมาจากการได้รับวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกช้าหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาการโรค โรคไข้เลือดออกอาจมีอาการแสดงเพียงไข้อย่างเดียว ซึ่งในบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : CYBERBULLYING

CYBERBULLYING หมายถึง การกลั่นแกล้ง ระราน คุกคามหรือกระทำใด ๆ ให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย หรือได้รับความทุกข์ใจ โดยมีวิธีดำเนินการผ่านทางโลกออนไลน์ กรณีนี้คือการนำข้อความหรืออะไรก็ได้มาโพสต์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เพื่อให้อีกฝ่ายเกิดความทุกข์ใจ หากรู้สึกว่ากำลังโดนบูลลี่ควรพักเว้นจากการเข้าโซเชียลและปรึกษาคนที่ไว้ใจ Cyberbullying มีผลกระทบที่ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพร่างกาย หรือจิตใจ ทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันได้ โดยการคิดก่อนจะโพสต์ คอมเมนต์ แชร์ หรือแชตอะไรไปว่าไม่เป็นการละเมิดหรือสร้างความรู้สึกไม่ดี บางครั้งความรู้สึกร่วม หรืออารมณ์ที่รุนแรงในขณะนั้น อาจจะทำให้พิมพ์ข้อความหรือแชร์บางอย่างที่ทำร้ายคนอื่นโดยที่บางครั้งไม่ทันรู้ตัวให้หยุดคิด ก่อนกดแชร์ กดโพสต์ ไปพัก ไปดื่มน้ำ หรือปรับอารมณ์สักพักแล้วกลับมาทบทวนสิ่งที่จะโพสต์ลงบนโลกออนไลน์อีกครั้งอาจจะทำให้ค้นพบว่าสิ่งที่จะโพสต์หรือแชร์นั้น มีบางส่วนข้อความ หรือภาพที่ทำร้ายคนอื่นได้

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เลสิก

23 กรกฎาคม 2566 –  เลสิกคืออะไร แก้ปัญหาสายตาได้อย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เลสิก คืออะไร ? เลสิก เป็นการแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด ให้หายกลับมาเป็นปกติได้ หลักการคือเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดว่าคนไข้จะเข้ารับการรักษาด้วยเลสิกได้หรือไม่ คือ ความหนาและความแข็งแรงของกระจกตา ช่วงอายุที่เหมาะสมกับการทำเลสิก แพทย์แนะนำให้ทำเลสิกได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เพราะเป็นอายุที่ค่าสายตาคงที่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ความนิ่งของค่าสายตา ผู้ที่จะทำเลสิกได้นั้น ควรมีค่าสายตาที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้วอย่างน้อย 1 ปี ข้อดีของการทำเลสิก ทำให้ชีวิตสะดวกมากขึ้น เช่น นักกีฬา คนออกกำลังกายหรือคนเล่นกีฬาบางชนิด หรือเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ภาวะแทรกซ้อนของคนทำเลสิก อย่างไรก็ตาม สำหรับคนอยากทำเลสิก ต้องหาข้อมูลและตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตา การตรวจประเมินสภาพตา จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก คนไข้ควรปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 11 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย :  พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ยิ่งใส่แว่น สายตายิ่งแย่ลง จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเรื่อง การยิ่งใส่แว่น จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลง หรือตรงกันข้าม การไม่ใส่แว่น จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลงด้วยนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “การใส่หรือไม่ใส่แว่นไม่ได้ทำให้ค่าสายตาแย่ลง แว่นสายตาเป็นเพียงตัวช่วยปรับให้แสงที่เข้าสู่ดวงตาไปตกที่จอประสาทตาพอดี จึงทำให้เห็นภาพชัดขึ้นถ้าสายตาผิดปกติแล้วรู้สึกว่ากระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การทำงาน การขับรถ ก็ควรจะไปตรวจเพื่อนำแว่นมาใส่”

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคไต จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม 2566 – มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคไตเอาไว้มากมาย ทั้ง หญ้าพันงู หญ้าไผ่น้ำ ช่วยรักษาโรคไต และการดื่มน้ำผักชีช่วยล้างไตได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กระชายโสมเมืองไทย ยาอายุวัฒนะ รักษาโรคไต จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำสรรพคุณของกระชาย เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงไต รักษาโรคไต บำรุงสมอง มีคุณค่าสูงกว่านมหลายเท่า ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : น.อ.นพ.พงศธร คชเสนี ประธานคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ไม่มีงานวิจัยรองรับว่ากระชายปั่นรักษาโรคได้ การกินกระชายทำให้รู้สึกร้อน กระชุ่มกระชวย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แต่ไม่ได้ช่วยบำรุงหรือรักษาโรคไตตามที่แชร์กัน ” อันดับที่ 2 : หญ้าไผ่น้ำแก้โรคไต จริงหรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 ข้อห้ามทำร้ายรถเกียร์ออโต้ จริงหรือ?

18 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่ามี 5 สิ่งที่ห้ามทำสำหรับผู้ใช้รถเกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ออโต้ เช่น ห้ามใช้เกียร์ว่างขับลงเขานั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Q : ห้ามเปลี่ยนเกียร์ D เป็น R ขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง จริงหรือ ? A : จริง ✅ การเข้าเกียร์ R (ถอยหลัง) ทุกครั้งจะต้องรอให้รถหยุดนิ่งก่อน เพื่อเป็นการถนอมเกียร์ และป้องกันการเสียหายต่อชุดเฟือง ชุดคลัชของเกียร์ แต่ในรถยนต์รุ่นใหม่หัวเกียร์ถูกปรับเป็นแบบจอยสติ๊ก หากเกิดเหตุเผลอเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ R ระหว่างรถกำลังวิ่งอยู่ ตำแหน่งเกียร์ก็จะไม่เปลี่ยน Q : ห้ามออกตัวแบบรถซิ่ง ทำให้เกียร์สึกหรอและเป็นอันตราย จริงหรือ ? A : จริง […]

1 39 40 41 42 43 202
...