เฝ้าระวังพายุฤดูร้อนและฝนหนักภาคใต้ตอนบน 6-8 มี.ค.นี้

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนจะเกิดพายุฤดูร้อน 6-8 มี.ค. นี้ ส่วนผู้อำนวยการสสนง ระบุ พายุฤดูร้อนปีนี้เกิดเร็วตั้งแต่ต้นฤดูร้อน พร้อมเตือนอาจมีลมกระโชกแรงทำให้สิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคงเสียหายจนเกิดอันตรายได้ ด้านอธิบดีกรมชลประทานระบุ สั่งรับมือฝนที่จะตกเพิ่มขึ้นจากพายุฤดูร้อน โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมซ้ำอีก

“เฉลิมชัย” สั่งด่วนให้กรมชลฯ เร่งระบายน้ำ 3 จังหวัดชายแดนใต้

อธิบดีกรมชลประทาน ระบุเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ต่างๆ ในภาคใต้อย่างเต็มที่ตามข้อสั่งการของ รมว.เกษตรฯ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนประตูระบายน้ำมูโนะ จ.นราธิวาส ที่น้ำไหลล้นตลิ่งข้ามพนังกั้นน้ำประตูระบายน้ำ เจ้าหน้าที่นำบิ๊กแบ็กมากั้นชะลอน้ำ พร้อมทำทำนบดิน จนสามารถควบคุมการไหลของน้ำให้ผ่านประตูระบายน้ำได้แล้ว

กรมชลฯ สั่งเตรียมรับฝนตกหนักใต้ตอนล่าง

อธิบดีกรมชลประทานสั่งโครงการชลประทานภาคใต้พร้อมรับมือสถานการณ์น้ำเนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฝนตกหนักจนถึง 26 ก.พ. นี้

เริ่มลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลอีกครั้งพรุ่งนี้

อธิบดีกรมชลประทานระบุ จะปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เนื่องจากมีฝนตกภาคกลางตอนล่างและมีน้ำไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ส่วนค่าความเค็มของน้ำดิบซึ่งนำมาผลิตน้ำประปาที่สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ช่วงน้ำทะเลหนุนสูง 14-18 ก.พ. ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เฝ้าระวังค่าความเค็มแม่น้ำบางปะกงตลอดแล้งนี้

กรมชลประทานวางมาตรการควบคุมความเค็มในแม่น้ำบางปะกง กำหนดจุดเฝ้าระวังและจุดควบคุมค่าความเค็ม จากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงตลอดฤดูแล้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ใช้น้ำหยุดรับน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำบางปะกงในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงสุด

วางแผนรับมือน้ำเค็มรุก จากนี้ถึง 18 ก.พ.

กรุงเทพฯ 15 ก.พ. – อธิบดีกรมชลประทานระบุ เตรียมพร้อมรับภาวะน้ำทะเลหนุนสูงซึ่งจะต่อเนื่องถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ตลอดจนวางมาตรการล่วงหน้ารับมือน้ำทะเลหนุนสูงตลอดฤดูแล้งอย่างรัดกุมให้สอดคล้องกับประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ชู “ประหยัดน้ำ เท่ากับ บริจาคน้ำ” ทางรอดจากวิกฤติแล้ง

อธิบดีกรมชลประทาน คาดฤดูแล้งนี้พื้นที่ทำนาเกินแผน เดินหน้าจัดสรรน้ำแบบประณีต รณรงค์ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ชูแนวคิด “ประหยัดน้ำ เท่ากับ บริจาคน้ำ” ตามโครงการ “ประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้ง” สอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี

หนุนลุ่มเจ้าพระยาทำนาเปียกสลับแห้งในแล้งนี้

ชัยนาท 28 ธ.ค. – กระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนชาวนาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปลูกข้าวนาปรังให้ทำนาแบบเปียกสลับแห้งซึ่งใช้น้ำน้อย แต่ได้ผลผลิตดี ทำให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักในฤดูแล้งนี้ มีเพียงพอใช้และสำรองไว้ถึงต้นฤดูฝน

เร่งซ่อมพนังแม่น้ำโก-ลก ที่ชำรุดใน จ.นราธิวาส

กรุงเทพฯ 22 ธ.ค. – อธิบดีกรมชลประสานสั่งเร่งซ่อมพนังกั้นน้ำแม่น้ำโก-ลกที่ขาด โดยย้ำให้ปิดจุดไหลเร็วที่สุด ส่งเจ้าหน้าที่ชี้แจงขั้นตอนการซ่อมแซมแก่ประชาชนในพื้นที่ และหารือแนวทางไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุสานอิสลาม

กรมชลฯ เฝ้าระวังน้ำท่วมภาคใต้ตอนล่าง

อธิบดีกรมชลประทาน สั่งเฝ้าระวังน้ำท่วมจากฝนตกหนักในภาคใต้ตอนล่าง ล่าสุดออกหนังสือแจ้งเตือนประชาชนในลุ่มน้ำโก-ลก และคลองยะหา รวมทั้งเฝ้าระวังพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี ตามประกาศศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ กอนช.

กรมชลฯ เร่งระบายน้ำควบคุมความเค็มแม่น้ำบางปะกง

กรุงเทพฯ 17 ธ.ค. – อธิบดีกรมชลประทานสั่งการเร่งระบายน้ำจากเขื่อนสียัดและอ่างเก็บน้ำคลองระบมเพื่อควบคุมค่าความเค็มแม่น้ำบางปะกง บรรเทาภาวะน้ำเค็มเริ่มรุก ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาและการทำเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า สั่งการให้สำนักงานชลประทานที่ 9 ดำเนินการตามแผนควบคุมความเค็มในลุ่มน้ำบางปะกงในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 โดยระบายน้ำผ่านฝายท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งรับน้ำที่ระบายจากอ่างเก็บน้ำคลองสียัดในเกณฑ์ 1.7 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วัน และอ่างเก็บน้ำคลองระบม 0.3 ล้าน ลบ.ม./วัน วันนี้ (17 ธ.ค.) วัดค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกงที่จุดเริ่มต้นควบคุมความเค็มที่เขื่อนบางปะกง ระยะทาง 66 กิโลเมตรจากปากแม่น้ำได้  0.22 กรัม/ลิตรซึ่งอยู่ในเกณฑ์ควบคุม โดยดำเนินการควบคุมค่าความเค็มตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค. เป็นต้นมา เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรีให้สามารถใช้ผลิตน้ำประปาและทำการเกษตรได้ตามปกติ.-สำนักข่าวไทย

เดินหน้าแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง

อธิบดีกรมชลประทาน เผยเร่งดำเนินโครงการตามแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เสริมแนวทางบริหารจัดการที่มีอยู่ โดยมี 6 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และอีก 3 โครงการอยู่ระหว่างเสนอ กนช. และ ครม. ตามลำดับ หากแล้วเสร็จทั้งหมดจะบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มาก

1 23 24 25 26 27 49
...