ชู “ประหยัดน้ำ เท่ากับ บริจาคน้ำ” ทางรอดจากวิกฤติแล้ง

กรุงเทพฯ 4 ม.ค. – อธิบดีกรมชลประทาน คาดฤดูแล้งนี้พื้นที่ทำนาเกินแผน เดินหน้าจัดสรรน้ำแบบประณีต รณรงค์ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ชูแนวคิด “ประหยัดน้ำ เท่ากับ บริจาคน้ำ” ตามโครงการ “ประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้ง” สอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยว่า ในฤดูแล้ง 2564/2565 นี้คาดว่า พื้นที่นาปรังทั่วประเทศจะมากกว่าแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาคาดว่า จะมีความต้องการใช้น้ำจากโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง 5,700 ล้าน ลบ.ม โดยกำหนดแผนการปลูกข้าวไว้ 2.81 ล้านไร่ แต่จากการสำรวจเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ปลูกไปแล้ว 2.08 ล้านไร่ จึงมีแนวโน้มว่า จะมีพื้นที่เพาะปลูกเกินแผน 

สำหรับแนวทางในการจัดสรรน้ำของกรมชลประทานคือ จัดสรรอย่างประณีตให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของแต่ละภาคส่วน ล่าสุดกำหนดให้ “การทำนาเปียกสลับแห้ง” ซึ่งเป็นการให้น้ำแก่ต้นข้าวในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละช่วงซึ่งลดการใช้น้ำในการทำนาได้ถึงร้อยละ 28 แต่ให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาแบบปกติ โดยนำร่องในพื้นที่สำนักงานชลประทำนที่ 12 จังหวัดชัยนาทซึ่งอยู่ในลุ่มเจ้าพระยา โดยมีแผนเพาะปลูกข้าว 0.83 ล้านไร่ ปลูกไปแล้ว 0.67 ล้านไร่ และมีแนวโน้มที่จะเพาะะปลูกเกินแผนที่วางไว้เช่นเดียวกัน 


วันนี้ (4 ม.ค.) กรมชลประทานจัดประชุมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยขานรับนโยบายแก้ปัญหาภัยแล้งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้คนไทยมีน้ำเพียงพอใช้ตลอดทั้งปี จึงจัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “ประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้ง” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยประหยัดน้ำเพื่อชาติ ภายใต้แนวคิด “ประหยัดน้ำ เท่ากับ บริจาคน้ำ” เตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดทรัพยากรน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติภัยแล้ง

อธิบดีกรมชลประทานกล่าวต่อว่า แนวทางด้านการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 จะดำเนินการตามมาตรการการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง 8 มาตรการได้แก่ 

มาตรการที่ 1 เร่งเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อเป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้ง


มาตรการที่ 2 จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งสํารวจ ตรวจสอบ พื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองได้

มาตรการที่ 3 กําหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง รวมทั้งติดตามกํากับให้เป็นไปตามแผนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค พร้อมจัดทําทะเบียนผู้ใช้น้ำ

มาตรการที่ 4 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นอันดับแรก

มาตรการที่ 5 เตรียมน้ำสํารองสําหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อสนับสนุนน้ำเตรียมแปลง

มาตรการที่ 6 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก สายรอง และเตรียมแผนรองรับกรณีเกิดปัญหา

มาตรการที่ 7 ติดตามประเมินผล เพื่อให้ผลการดําเนินงานเป็นไปตามแผน

มาตรการที่ 8 สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและแผนบริหารจัดการน้ำ ให้ทุกภาคส่วน เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้

นอกจากนี้ยังจัดทำคอนเทนต์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของกรมชลประทาน ทั้งในรูปแบบของการรายงานสถานการณ์น้ำ รูปแบบการบริหารจัดการน้ำ แนวทางในการประหยัดน้ำ เพื่อสร้างจิตสำนึก ให้เกิดความเข้าใจ แล้วแชร์ต่อในวงกว้าง จึงขอให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น อีกทั้งร่วมกันประหยัดน้ำและใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่สำนักงานชลประทานในพื้นที หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

จับเรือประมงเมียนมา

จับเรือประมงเมียนมา รุกล้ำน่านน้ำไทย

ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงเมียนมาพร้อมลูกเรือ 13 คน ขณะลักลอบนำเรือประมงจอดลอยลำในทะเลอาณาเขตของไทย บริเวณ จ.ระนอง ใกล้เกาะค้างคาว