ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐใช้ยา Ivermectin รักษาผู้อพยพที่ติดเชื้อโควิด จริงหรือ?
CDC อนุมัติการใช้ยา Ivermectin แก่ผู้อพยพในสหรัฐฯ เพื่อป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากพยาธิเส้นด้าย ไม่ใช่การใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาผู้ป่วยโควิด 19 แต่อย่างใด
CDC อนุมัติการใช้ยา Ivermectin แก่ผู้อพยพในสหรัฐฯ เพื่อป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากพยาธิเส้นด้าย ไม่ใช่การใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาผู้ป่วยโควิด 19 แต่อย่างใด
มีการเรียกเก็บวัคซีน Moderna ล็อตที่มีปัญหา แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงรับรองการใช้วัคซีน Moderna ต่อไป
WHO ยืนยันว่า Ivermectin ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ได้
โอคลาโฮมา 5 ก.ย.- แพทย์ในสหรัฐย้ำเรื่องอย่าใช้ยาฆ่าพยาธิ (Ivermectin) รักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 หลังจากมีผู้ใช้ยาชนิดนี้มากเกินขนาด จนต้องเข้าห้องฉุกเฉิน นพ.เจสัน แมคเอเลีย ในรัฐโอคลาโฮมาของสหรัฐเผยกับบรรษัทกระจายเสียงอังกฤษหรือบีบีซี (BBC) ว่า มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งต้องรับการรักษาตัวในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลหลายแห่งในรัฐนี้ เพราะรับประทานยาฆ่าพยาธิเกินขนาด ส่วนใหญ่อาเจียน ปวดเมื่อยเนื้อตัว บางคนถึงขั้นมองไม่เห็น ยาประเภทนี้ใช้กับคนได้ แต่ไม่ใช่ใช้รักษาโรคโควิด-19 ต้องมีใบสั่งแพทย์ให้ใช้ด้วยเหตุผลเฉพาะและต้องใช้ในปริมาณน้อยเพราะอาจเป็นอันตรายได้ นพ.แมคเอเลียกล่าวด้วยว่า คนจำนวนหนึ่งที่ใช้ยาประเภทนี้เกินขนาดกำลังเพิ่มภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ตึงตัวจากการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 อยู่แล้ว ปกติแล้วยาฆ่าพยาธิใช้กับสัตว์เป็นหลัก และใช้รักษาอาการเฉพาะอย่างกับคน แต่กลายเป็นประเด็นเมื่อมีคนส่งเสริมให้ใช้เป็นยารักษาหรือป้องกันโควิด ทั้งที่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุน และเมื่อไม่กี่วันก่อนนายโจ โรแกน ผู้ดำเนินรายการทางพอดแคสต์ชื่อดังในสหรัฐที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนเผยว่า กำลังรับประทานยาฆ่าพยาธิ หลังจากมีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก สำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) ออกประกาศเตือนเมื่อเดือนก่อนว่า อย่าได้รับประทานยาฆ่าพยาธิ เพราะคนไม่ใช่ม้าหรือวัว การรับประทานยาประเภทนี้ปริมาณมากเป็นอันตรายและถึงขั้นก่อความเสียหายร้ายแรง.-สำนักข่าวไทย
30 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล จาก American Journal of Therapeutic ยา Ivermectin ช่วยลดการตายและหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่า ข้อมูลมีความจริงบางส่วน แต่ยังไม่ควรแชร์ บทสรุป : จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ · งานวิจัยดังกล่าวทางการแพทย์เรียกว่า “การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน” หมายความว่าเป็นการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้สืบค้นได้ นำมาทบทวนรวมกัน ซึ่งบางงานวิจัยก็มีคุณภาพดี บางงานวิจัยมีคุณภาพปานกลาง และบางงานวิจัยก็มีคุณภาพต่ำ · ไม่แนะนำให้ซื้อยาตัวนี้มาใช้ในการรักษาเอง ส่วนจะมีการใช้ยาตัวนี้ในอนาคตเพื่อรักษาโควิด-19 หรือไม่นั้น ขอให้ติดตามข้อมูลที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุขต่อไป · ในประเทศไทย ไอเวอร์เมคติน เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สำหรับการฆ่าพยาธิ หากจะนำยาที่ขึ้นทะเบียนด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง […]