fbpx

นักการเมืองร่วมงานรำลึก 47 ปี 6 ตุลา

กลุ่มเครือข่ายนักศึกษา 47 ปี 6 ตุลา จัดงานรำลึก 47 ปี 6 ตุลาคม ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านร่วมกิจกรรม

ราษฎรจี้รัฐบาลยุบสภา เร่งกกต.จัดเลือกตั้ง

กล่มราษฎรสานต่อการต่อสู้ 6 ตุลา จี้รัฐบาลยุบสภา ศาลวินิจฉัยกม.ลูกให้ชัด กกต.ประกาศแบ่งเขต-กติกานักการเมืองทำได้-ไม่ได้ เร่งจัดเลือกตั้ง จี้ ปชช.ต้องเลือกส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตย

“โภคิน”ชี้ผู้มีอำนาจไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงโลก

“โภคิน” ถอดบทเรียน 6 ตุลา สะท้อนพลวัตการเมืองไทย ผู้มีอำนาจไม่เข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ชี้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ทำลายอำนาจนิยม มีความเป็นพี่น้องเท่าเทียมกัน ราชการหุ้นส่วนประชาชน

ไทยสร้างไทยสานต่ออุดมการณ์คน 6 ตุลา

ไทยสร้างไทย ชู 4 ภารกิจ สานต่ออุดมการณ์คน 6 ตุลา ขจัดเผด็จการอำนาจนิยม รัฐราชการรวมศูนย์ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

รำลึก 44 ปี 6 ตุลา “จาตุรนต์” แนะเรียนรู้อดีต อย่าสร้างความเกลียดชัง

6 ต.ค. – นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ กล่าวปาฐกถา รำลึก 44 ปี 6 ตุลา 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์ตัวอย่างที่เป็นบทเรียนให้แก่สังคมไทยถึงการใช้กำลังกับผู้เห็นต่างที่ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ แต่กลับทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น มองการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาในอดีต มีจุดร่วมกันอยู่ที่การมองเห็นปัญหาของบ้านเมือง อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองไปในทางที่ดี ดังนั้นควรจะมองการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในวันนี้ด้วยใจที่เปิดกว้าง และทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สามารถนิ่งเฉย จึงหวังว่าผู้มีอำนาจในปัจจุบันจะได้เรียนรู้จากอดีต หวังว่าผู้มีอำนาจจะหยุดคุกคามและแสดงความพร้อมที่จะรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาทางออกจากวิกฤติของประเทศร่วมกันตามครรลองประชาธิปไตย ขออย่าสร้างความเกลียดชัง อย่าสร้างเงื่อนไขเพื่อที่จะได้ใช้ความรุนแรง ไม่เช่นนั้นจะทำให้ขัดแย้งมากขึ้น ด้านนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า ทุกครั้งที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ก็จะมีการสร้างวาทกรรมที่ทำให้เกิดความเกลียดชังและความรุนแรง ซึ่งรัฐควรได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา และหากไม่ต้องการให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็ต้องกลับไปจุดที่ง่ายที่สุด คือ รัฐต้องคุ้มครองประชาชน ไม่ใช่คุกคามประชาชน หากมองเห็นภาพพวกนี้ได้ รัฐยอมถอยทำตามข้อเรียกร้อง เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนผ่านไปตามครรลองของประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น ไม่จำเป็นต้องเลือกทางตัน อย่างภาพนิทรรศการเหตุการณ์เดือนตุลาคมที่เกิดขึ้น .- สำนักข่าวไทย

เตือนผู้มีอำนาจหยุดคุกคามการเคลื่อนไหวของ นศ.

ม.ธรรมศาสตร์ 6 ต.ค.-“จาตุรนต์” เตือนผู้มีอำนาจหยุดคุกคามทำลายการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา วอนอย่าสร้างเงื่อนไขทำให้เกิดความรุนแรง ไม่เช่นนั้นจะทำให้ขัดแย้งมากขึ้น ขอประชาชนทั้งประเทศไม่ปล่อยเยาวชนต่อสู้ลำพัง นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ กล่าวปาถกฐาในงานรำลึก 44 ปี 6 ตุลา 2519 ว่า ตนอาจจะเป็นอดีตนักศึกษาจากต่างจังหวัดคนแรก ๆ ที่มาพูดในโอกาสนี้ ที่ผ่านมา มีการพูดถึง 6 ตุลา โดยเน้นเหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ความจริงแล้ว 6 ตุลา ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่ธรรมศาสตร์ เพราะเกี่ยวข้องกับนักศึกษาทั่วประเทศ “6 ตุลาเป็นเหตุการณ์ตัวอย่างของการกระทำความผิดที่ไม่ต้องรับโทษ และเป็นบทเรียนให้แก่สังคมไทยถึงการใช้กำลังกับผู้เห็นต่างที่ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ แต่กลับทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น ขณะที่การใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยม ก็เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและระบบ มากกว่านิสัยใจคอของคน ระบบเผด็จการถือว่ามีกำลังอาวุธในมือคือผู้มีอำนาจสูงสุด หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ได้ยุติปัญหาด้วยการขจัดคนเห็นต่าง แต่เกิดจากการใช้การเมืองระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ รวมถึงการผ่อนคลายให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยขึ้นบ้างในเวลาต่อมา ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ผู้เห็นต่างทั้งหลายสามารถคืนสู่สังคมและมีที่ยืนอยู่ได้” นายจาตุรนต์ กล่าว นายจาตุนต์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาในอดีต มีจุดรวมกันอยู่ที่การมองเห็นปัญหาของบ้านเมืองและการมีความใฝ่ฝันว่าอยากเห็นสังคมที่ดี […]

พิธา เตือนรัฐ อย่าเลือกทางตัน

“พิธา” เตือนรัฐ อย่าเลือกทางตันซ้ำรอยเหตุการณ์ 6 ตุลา รัฐควรคุ้มครองไม่ใช่คุกคามประชาชน อย่าใช้วาทกรรมที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง

ไม่ต้องดูแลกิจกรรมครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา เป็นพิเศษ

ทำเนียบฯ  6 ต.ค.-  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การจัดกิจกรรมครบรอบ 44ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  ว่า ถือเป็นเรื่องของผู้จัดงาน  ไม่ต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผู้ดูแลอยู่แล้ว ส่วนการคัดสรรตัวผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามของพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ตัวผู้สมัคร  จะต้องหารือกับกรรมการบริหารพรรคก่อน  ส่วนที่นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าของพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ให้ไปสอบถามจากนายสิระเอง  .- สำนักข่าวไทย

...