ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเพจปลอม ! ชวนลงทุน แอบอ้าง AIS

7 ตุลาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ภาพโฆษณา “AIS ชวนลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ รับผลตอบแทนสูง” นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อเพจปลอม แอบอ้างผู้บริหารของ AIS 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความและภาพโฆษณาดังกล่าวไม่เป็นความจริง และทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายและไม่มีการโฆษณา เชิญชวนการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสื่อโซเชียลต่าง ๆ ทั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ ไลน์ (LINE) ทั้งสิ้น 🎯อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมและจ่ายเงินซื้อโฆษณา ทำให้คนเห็นจำนวนมาก จงใจใช้ภาพโลโก้และภาพผู้บริหารของ AIS เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้คำโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทั้ง การเทรดหุ้นระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงและมือใหม่ก็ลงทุนได้แม้ทุนน้อย หากสนใจจะต้องติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งจะมีคนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ จากนั้นจะหลอกล่อให้ผู้เสียหายโอนเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ 🎯ในข่าวประชาสัมพันธ์ของ AIS ระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: โจรอ้าง กสทช. ใช้ซิมผิดกฎหมาย หลอกโอนเงินเกลี้ยง

6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]

ระวัง ! โจรอ้างกรมบัญชีกลางลวงอัปเดตข้อมูลดูดเงินหมดบัญชี | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

14 กันยายน 2566 วิธีหลอก : แอบอ้างกรมบัญชีกลางอุบาย : โทรศัพท์หาประชาชนเพื่อหลอกให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ Digital Pension ชักจูงให้แอดไลน์ปลอมและหลอกดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมช่องทาง : แอปพลิเคชันไลน์, เว็บไซต์ปลอม, แอปพลิเคชันปลอม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยร้ายทางไซเบอร์ นับวันจะยิ่งมีกลโกงที่แนบเนียนและใช้หลายวิธีเพื่อลวงให้เราหลงเชื่อ หนึ่งในนั้น คือ การแอบอ้างชื่อหน่วยงานราชการ อย่าง  “กรมบัญชีกลาง” โดยอ้างว่า ตอนนี้กรมบัญชีกลางมีระบบใหม่ ผู้รับเงินบำนาญต้องเข้าไปอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน หากไม่ดำเนินการ จะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งสร้างความตกใจจนทำให้หลายคนหลงเชื่อและเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨จึงได้รวบรวมกลโกงที่แอบอ้างกรมบัญชีกลาง มาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ  สารพัดกลโกงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง  คนร้ายจะโทรศัพท์และอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้เปลี่ยนเป็นระบบแบบใหม่ ชื่อว่า Digital Pension และมีนโยบายให้ผู้รับเงินบำนาญทุกคนเข้ามาอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้ง ข้อมูลส่วนตัว บัญชีเงินเดือน เบี้ยหวัดบำนาญ หรือ ติดต่อเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้แอดไลน์ปลอมและลวงให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Digital Pension และให้สแกนใบหน้า    🚨หากได้รับโทรศัพท์ในลักษณะนี้ อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน

28 สิงหาคม 2566 ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับตำรวจไซเบอร์ บช.สอท. พบว่า มีมิจฉาชีพยิงโฆษณาเว็บไซต์รับแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกลวงว่าสามารถนำเงินกลับคืนมาได้ โดยการโจมตีระบบเว็บไซต์พนันออนไลน์แหล่งที่เงินผู้เสียหายถูกฟอกอยู่  เริ่มต้นจากที่มีผู้เสียหายหลายรายได้รับความเดือดร้อน จากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ การถูกหลอกลวงให้กู้เงิน การถูกหลอกลวงให้ลงทุน หรือการถูกหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์ ผู้เสียหายจึงได้ใช้คำว่า “แจ้งความออนไลน์” เป็นคีย์เวิร์ด (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ค้นหา (Search Engine Site) ยอดนิยมต่าง ๆ เช่น Google.com, Bing.com ทำให้พบเว็บไซต์การรับแจ้งความออนไลน์ของปลอมที่มิจฉาชีพจ่ายเงินเพื่อซื้อโฆษณา ทำให้ขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ ของการค้นหา เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและกดเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้กดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ ซึ่งแอบอ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความ จากนั้นจะหลอกถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวง มูลค่าความเสียหาย และขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อแพลตฟอร์ม หลักฐานการโอนเงิน ประวัติการสนทนากับมิจฉาชีพ เป็นต้น รวมถึงมีการทำหนังสือมอบอำนาจปลอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยให้ทนายปลอมดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องแทนผู้เสียหาย โดยมีค่าดำเนินการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! มิจฉาชีพอ้าง แจกเงินดิจิทัล 10,000

24 สิงหาคม 2566 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า ตรวจสอบพบผู้เสียหายหลายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแจ้งว่า “ คุณได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ ” พร้อมกับแนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ ใช้ชื่อบัญชีไลน์ว่า Thaid online โดยมิจฉาชีพจงใจตั้งให้คล้ายกับระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกรมการปกครอง ( อ่านกลโกงมิจฉาชีพเรื่อง ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม ) ล่อกดลิงก์ แอดไลน์และหลอกโหลดแอปพลิเคชันปลอม ! เมื่อผู้เสียหายติดต่อไปยังไลน์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกลวงสอบถามข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลหรือไม่ จากนั้นจะให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10000 ” ผ่าน Play Store เมื่อทำการติดตั้งเสร็จสิ้น จะหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มจากการให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน อาชีพ และรายได้ เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ ต่อมาจะให้ทำการตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ หรือการให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งานอยู่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม 

29 กรกฎาคม 2566 กระบวนการหลอกลวงของมิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ระบุข้อความว่า  “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความข้างต้น หากเผลอกดลิงก์ไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสร้างบัญชีปลอมและใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชันจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไลน์ปลอมจะใช้ชื่อว่า “ Thai ID ” จงใจตั้งให้คล้ายกับแอปพลิเคชันจริง “ThaID” หากไม่สังเกต อาจตกเป็นเหยื่อได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปที่ เว็บไซต์ของกรมการปกครอง ยืนยันว่า ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด และฝากเตือนประชาชนว่า ห้ามกดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ หรือให้อัพเดทข้อมูล หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว หากเหยื่อหลงเชื่อและกดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ มิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจะแกล้งสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล […]

กรมที่ดินเตือน มิจฉาชีพหลอกซื้อบ้าน-ที่ดิน หวังเงินค่าปรับ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

13 กรกฎาคม 2566 วิธีหลอก : ติดต่อทำทีว่าจะซื้อบ้าน-ที่ดิน วางเงินมัดจำสูง อุบาย : โทรศัพท์แจ้งผู้ขายขอยกเลิกสัญญา ให้ยึดเงินมัดจำ เมื่อถึงวันโอน มิจฉาชีพไปรอที่กรมที่ดิน ให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ ส่งผลให้ผู้ขายผิดสัญญาและถูกเรียกค่าปรับ สูงกว่าเงินมัดจำช่องทาง : โทรศัพท์ ⚠️ กรมที่ดินเตือนภัยมีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากนั้นหลอกให้ผู้ขายผิดสัญญาและหวังเงินค่าปรับจำนวนมาก ⚠️  เริ่มจากกลุ่มมิจฉาชีพจะทำการติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน และวางเงินมัดจำสูง โดยมีการระบุวันโอนขายที่ดินกันไว้ แต่ก่อนถึงวันโอนที่ดิน มิจฉาชีพจะใช้วิธีการโทรศัพท์แจ้งผู้ขาย ขอยกเลิกสัญญาซื้อขายและยอมให้ยึดเงินมัดจำ  ⚠️  เมื่อผู้ขายหลงเชื่อและไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินตามสัญญา มิจฉาชีพจะไปที่สำนักงานที่ดินและนั่งรอตั้งแต่เช้า เพื่อให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปและพนักงานที่ดินเห็นเป็นพยาน ทำให้ผู้ขายเข้าข่ายผิดสัญญา และมิจฉาชีพจะเรียกค่าปรับตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่ามัดจำ  ⚠️  กรมที่ดินแนะให้ผู้ขายตรวจสอบประวัติของผู้มาติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากกลุ่มมิจฉาชีพ รวมถึงทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อเป็นหลักฐานเสมอ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์พิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

สติเตือน 3 กับดักฮิตมิจฉาชีพ ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวคราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเอาเงินอยู่บ่อย ๆ ทั้งคิดค้นสารพัดวิธีมาหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล รวมถึงมีข่าวว่าเหยื่อแจ้งความว่าเสียเงินเป็นล้าน แต่ยังมีคนตกหลุมพรางมุกต่าง ๆ อยู่เสมอ  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จะมาอัปเดต 3 กลโกงท็อปฮิตของมิจฉาชีพ จากแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ จากธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ทุกคนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 1. SMS แนบลิงก์แปลก อย่าคลิก !   บางครั้งเราเห็นลิงก์แปลกที่มาพร้อมข้อความล่อใจ เช่น แจกรางวัล แจกเงิน ได้รับการอนุมัติ วงเงินจำนวนมาก แถมส่งมาจากชื่อผู้ส่งเดียวกับธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สารพัดวิธีที่ทำให้เราหลงเชื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงก์ที่แนบมา บางรายโดนหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เราได้จากระยะไกล (Remote Desktop) มิจฉาชีพสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี ดังนั้น #สติ ข้อที่ 1 คือ จำไว้ว่า ปัจจุบันธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบ แนบลิงก์แล้วนะ หากได้รับ […]

AIS ยืนยัน 1175 เป็นเบอร์จริง แค่โทร.แจ้งบริการ ดูดเงินจากบัญชีไม่ได้ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

26 พฤษภาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า  “อย่ารับสาย เบอร์ 1175 ของ AIS เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าสู่บัญชีและเอาเงินออกทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องพูด” นั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทร.เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของเอไอเอส รวมถึงโทร.ติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น การสมัครแพ็กเกจการใช้งาน และบริการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของประชาชนได้จากการรับสาย  ดังนั้นจึงขอความกรุณาหยุดส่งต่อข้อความ ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ล่าสุด (21 กรกฎาคม 2566) มีการแชร์ข้อความเพิ่มเติมว่า มิจฉาชีพจะใช้ชื่อ .AIS 1175 โดยให้สังเกตเครื่องหมาย . ที่อยู่ข้างหน้า ทาง AIS ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง การแสดงเบอร์โทรเข้าของหมายเลขดังกล่าวบนหน้าจอมือถือของลูกค้า อาจแสดงได้ทั้งหมายเลข 1175 หรือ .AIS1175 […]

มัดรวมกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า” และ “การประปา” l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

23 พฤษภาคม 2566 มุกหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เนื้อหาไปตามสถานการณ์ ทั้ง แจ้งว่าได้รับสิทธิ์ ได้รับเงินคืน อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน อย่าง การไฟฟ้า และการประปา มักโดนแอบอ้างชื่อ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จึงได้รวบรวมกลโกงที่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้า และการประปามาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า”  สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การประปา”1. แอบอ้างเป็นพนักงานการประปา เปลี่ยนมาตรวัดน้ำให้ฟรี พร้อมให้ส่วนลดค่าน้ำ 2. ปลอมไลน์การประปา หลอกให้จ่ายค่าน้ำ3.ส่ง SMS หลอกว่า ค่าน้ำแพง หลอกให้ทำธุรกรรมผ่านทางไลน์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า การไฟฟ้าประกาศยืนยันว่า ไม่มีนโยบายคืนเงินให้ผู้ใช้ไฟ หรือขอเบอร์โทรศัพท์ เพื่อแจ้งข้อมูล หรือรับสิทธิ์ใด ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางใด ๆ ทั้งสิ้น รวมถึงสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ หรือ 1129 PEA Contact Center ตลอด […]

โมเดลลิ่งปลอม ! หลอกปั้นเด็ก ที่แท้หวังโกงเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย  1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️  ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์  

ระวัง ! เว็บไซต์การประปานครหลวงปลอม หลอกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อ และสื่อประกอบคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของการประปานครหลวง (กปน.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินช่องทาง : เว็บไซต์ การประปานครหลวงเตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้บันทึกข้อมูลส่วนตัว หวังฉวยไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง URL ใหม่แต่อย่างใด กรุงเทพฯ 8 พ.ค. 66 – นางชวิณา วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง (กปน.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน สร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกชิงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากการตรวจสอบของการประปานครหลวง (กปน.) พบว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์ปลอมขององค์กรจำนวนมากกำลังระบาดอยู่ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพคิดฉวยโอกาสจากความไม่รู้ของประชาชน ประกอบกับเจตนาร้าย หวังสร้างความเสียหายจึงเลือกใช้วิธีเลียนแบบเว็บไซต์ ให้มีชื่อและสื่อประกอบคล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์ของจริง เมื่อลูกค้าคลิกเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวก็จะพบกับหน้ากรอกข้อมูลส่วนตัว กับดักสำคัญที่มิจฉาชีพจะดึงข้อมูลไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากลูกค้าหลงเชื่อจนบันทึกข้อมูลจริงจะถือว่าตกเป็นเหยื่อทันที การประปานครหลวง ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง […]

1 2 3 4 5
...