ไบโอเทคพัฒนา “ไวรัสตัวแทน” ทดสอบสูตรวัคซีน-ยาโควิดแบบเชิงรุก

ไบโอเทค สวทช. พัฒนา “ไวรัสตัวแทน” ทดสอบสูตรวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-19 แบบเชิงรุก โดยเป็นไวรัสที่มีกลไกในการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ได้เหมือนโคโรนาไวรัสตัวจริง แต่ปรับให้มีคุณสมบัติไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกยอมรับประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ไขข้อสงสัยเหตุใดทั่วโลกไม่มีวัคซีน ASF

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF พบครั้งแรกเมื่อ 100 ปีก่อน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค นักวิจัยไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ระบุว่าความรู้เกี่ยวกับไวรัส ASF ยังมีน้อย ดังนั้น กว่าจะวิจัยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมาใช้ได้จริง ต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือหากมีการนำวัคซีน​เถื่อน​มาใช้​อาจทำให้​ไวรัส​กลายพันธุ์​จนโรครุนแรง​ขึ้น.-สำนักข่าวไทย

สวทช. รับบริจาคทุนทดสอบ “วัคซีนโควิด-19 แบบพ่นจมูก” ในมนุษย์

กรุงเทพฯ 16 พ.ย. –สวทช. ขอรับการสนับสนุนเงินทุน เพื่อให้พร้อมทดสอบ “วัคซีนโควิด-19 แบบพ่นจมูก NASTVAC (แนสแว็ก)” ในมนุษย์ได้ทันทีที่อย. อนุมัติ

ไบโอเทคเตรียมยื่น อย.ทดสอบวัคซีนโควิด-19 แบบพ่นจมูก

ทีมวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เตรียมยื่น อย. ขอทดสอบวัคซีนโควิด-19 แบบพ่นจมูกในมนุษย์

บีโอไอเปิดแนวรุกอุตฯ ไบโอเทค

กรุงเทพฯ 5 เม.ย.-บีโอไอเดินหน้าหนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อนุมัติส่งเสริมลงทุนไตรมาสแรกมูลค่ารวมกว่า 2,400 ล้านบาท หวังผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยฐานความรู้ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า ในปี 2564 การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพหรือไบโอเทค มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี (มกราคม-มีนาคม 2564) บีโอไอได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วมูลค่ารวม 2,417 ล้านบาท โครงการกลุ่มไบโอเทคที่ได้รับการอนุมัติจากบีโอไอในไตรมาสแรกอยู่ในสาขาการแพทย์ อาหาร และ พลาสติกชีวภาพ มีรายละเอียดดังนี้ บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด โครงการผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์ และยีนบำบัด เพื่อรักษาโรคสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลัก เช่น เคมีบำบัด การฉายรังสี โดยจัดเป็นยาที่ใช้รักษาโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด  บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เป็นสตาร์ทอัพไทย โครงการผลิตยาจากเทคโนโลยีชีวภาพ หรือชีวเภสัชภัณฑ์ เช่น วัคซีน ยาในกลุ่ม MONOCLONAL ANTIBODY และ THERAPEUTIC PROTEIN […]

ไบโอเทค พัฒนาอวัยวะจำลองป้องกันไวรัสซิก้า

กทม. 19 ต.ค. 63 – ไบโอเทค สวทช. พัฒนาออร์แกนอยด์ หรือ อวัยวะจำลองมดลูกและรกใช้ศึกษาวิธียับยั้งการแพร่เชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ลูก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) นำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงออร์แกนอยด์ (Organoid) มาสร้างและพัฒนาแบบจำลองอวัยวะสามมิติของมดลูกและรก สำหรับใช้ศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสซิกาในมดลูก การถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ทารกในระหว่างตั้งครรภ์รวมทั้งการทดสอบและพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสซิกา เพื่อการนำมาใช้ต้านทานเชื้อไวรัสซิกา และป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้จากแม่สู่ทารกในครรภ์ ปัจจุบันมีผลการศึกษายืนยันแล้วว่า เมื่อผู้หญิงมีครรภ์ได้ติดเชื้อไวรัสซิกา เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ซึ่งมีผลให้ทารกมีอาการสมองเล็ก สมองไม่พัฒนา รุนแรงสุดอาจเสียชีวิตทันทีหลังกำเนิด  เห็นได้ว่าการติดเชื้อไวรัสซิกาในทารกส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศไทย และประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่สามารถจะยับยั้งการถ่ายทอดเชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ดร.ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์ นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบและวิศวกรรมชีวโมเลกุลขั้นแนวหน้า ไบโอเทค กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการสร้างออร์แกนอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มก้อนเซลล์ที่ได้เพาะเลี้ยงแบบสามมิติจนมีลักษณะและคุณสมบัติเสมือนหรือคล้ายกับอวัยวะจริงในร่างกาย โดยนักวิจัยสามารถนำออร์แกนอยด์หรือระบบอวัยวะจำลอง มาศึกษากระบวนการทางชีวภาพต่างๆ ตั้งแต่พฤติกรรมของเซลล์ การทำงานของระบบอวัยวะของร่างกาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบอวัยวะในร่างกาย การตอบสนองต่อฮอร์โมนหรือยา กระบวนการก่อโรคจากเชื้อต่าง ๆ และโรคทางพันธุกรรมได้ ซึ่งจุดเด่นของออร์แกนอยด์ ช่วยให้นักวิจัยสามารถทำการทดลองเพื่อศึกษาโรค และทดสอบยาในภาวะที่คล้ายคลึงกับร่างกายโดยที่ยังไม่ต้องทดสอบกับอาสาสมัครหรือคนไข้จริง ทั้งนี้ทีมวิจัยไบโอเทค และภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะพัฒนาออร์แกนอยด์ของมดลูกและรก เพื่อใช้ทดสอบและพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสซิกา เพื่อนำมาใช้ต้านทานเชื้อไวรัสซิกา และป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้จากแม่สู่ทารกในครรภ์ต่อไป อย่างไรโครงการนี้ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 โครงการ จาก 121 ผู้สมัครจาก 37 ประเทศ ที่ชนะ TDR Global Crowdfunding Challenge Contest ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดต่อในเขตร้อน โดยทีมวิจัยได้ตั้งเป้าหมายงบประมาณในการดำเนินงานวิจัยเบื้องต้นไว้ที่ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 260,000 บาท โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการสนับสนุนโครงการสามารถร่วมบริจาคเงินให้กับโครงการได้ที่ www.experiment.com/noZika4Baby ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563

นักวิจัย สวทช. ชนะเลิศงาน Falling Wall Lab Thailand 2019 ขอนำความรู้ไบโอซิตี้พัฒนาเกษตรกรรมทั่วโลก

นักวิจัย สวทช. ชนะเลิศงาน Falling Wall Lab Thailand 2019 ความก้าวหน้าวิทย์-สังคม จากการนำเสนอเรื่อง “Breaking the Wall of Bacterial Wilt Disease” การใช้ไวรัสควบคุมแบคทีเรียที่ก่อโรคในพืช ขอเป็นตัวแทนพลังความคิด สร้างความเชื่อมโยง ความรู้ไบโอซิตี้ต่อยอดพัฒนาเกษตรกรรมทั่วโลก

...