
“พล.อ.ประวิตร” ปาร์ตี้ลิสต์ เบอร์ 1 พปชร.
“สันติ” ชูปาร์ตี้ลิสต์ พปชร. “พล.อ.ประวิตร” เบอร์ 1 – เลขาฯ เบอร์ 2 มั่นใจ 20 ลำดับแรกยังเป็นเซฟโซน พร้อมผุดนโยบายเอาใจรากหญ้า ช่วย SME กู้ดอกเบี้ยเป็นธรรม
“สันติ” ชูปาร์ตี้ลิสต์ พปชร. “พล.อ.ประวิตร” เบอร์ 1 – เลขาฯ เบอร์ 2 มั่นใจ 20 ลำดับแรกยังเป็นเซฟโซน พร้อมผุดนโยบายเอาใจรากหญ้า ช่วย SME กู้ดอกเบี้ยเป็นธรรม
“จุรินทร์” เผย ปชป.เตรียมจัด 3 ทัพใหญ่สู้ศึกเลือกตั้ง ชี้ไม่จำเป็นที่หัวหน้าพรรค-อดีตหัวหน้าพรรคต้องขึ้นเวทีเดียว แจงแยกกันตีจะได้ประโยชน์ที่สุด ระบุ เลือกตั้งวันไหนก็ดีเสมอ
“วราวุธ” ยันแยกแยะงานรมต.กับหัวหน้าพรรคชัดเจน ไม่ฉวยโอกาสใช้อำนาจเอาเปรียบทางการเมือง พร้อมกำชับสมาชิกพรรคปฏิบัติตามกรอบกกต.เคร่งครัด
“บิ๊กป้อม” นำทีมผู้บริหาร-สมาชิกพรรค พปชร. ถ่ายรูปใช้ในกิจกรรมเลือกตั้ง วางคอนเซปต์ครอบครัวอบอุ่น ปรับลุคเข้าถึงประชาชน
โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ 21 มี.ค.- “นายกสมาคมทีวีดิจิทัลฯ” เตรียมหารือ กกต. แนวทางนับคะแนนเลือกตั้ง บอกสื่อต้องเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” เพราะเข้าคูหาครั้งนี้สำคัญ ชี้ เป็นการล้างไพ่ใหม่ เชื่อต่อให้มี ส.ว. ก็ต้านไม่อยู่
ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66 โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ | กัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร, ปพิชยา นัยเนตร, พีรพล อนุตรโสตถิ์ การยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นับเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งการยุบสภาในแต่ละครั้ง มีสาเหตุและบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมมานำเสนอในบทความนี้ รู้จัก “ยุบสภา” “ยุบสภา” หรือคำเต็มคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การทำให้การดำรงสภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบกำหนดตามวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ ประเทศไทย เคยมีการประกาศ “ยุบสภา” มาแล้ว 15 ครั้ง โดยแบ่งเป็น การยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 ครั้ง และ การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1 ครั้ง การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ […]
นับถอยหลังการเลือกตั้งบรรดาพรรคการเมืองลงพื้นที่หาเสียง เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ เลือกตั้ง 66 รอบนี้มีคนบันเทิง ผันตัวมาลงสนามการเมืองกันหลายพรรค ความมีชื่อเสียงจะเป็นแต้มต่อหรือไม่ ติดตามจากรายงาน
“พล.อ.ประยุทธ์” เมินข่าวแกนนำภูมิใจไทย กินข้าวกับ “พล.อ.ประวิตร” ลั่นไม่ได้คิดอะไรทั้งนั้น พยายามทำให้ดีที่สุด อยู่ที่ความต้องการของประชาชน
ทำเนียบรัฐบาล 20 มี.ค.- โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว ให้จัดเลือกตั้งใหม่ภายใน 45-60 วัน
โจฮันเนสเบิร์ก 20 มี.ค.- แอฟริกาใต้เตรียมตัวรับมือกับการประท้วงทั่วประเทศที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ หลังจากพรรคฝ่ายซ้ายชักชวนคนปิดประเทศ จุดกระแสวิตกว่าจะเกิดเหตุไม่สงบที่มีคนเสียชีวิตเหมือนเมื่อ 2 ปีก่อน โฆษกประธานาธิบดีซีริล รามาโฟซาของแอฟริกาใต้แถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า ประธานาธิบดีได้สั่งการให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสร้างความมั่นใจว่า จะไม่เกิดเหตุซ้ำรอยเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งหมายถึงเหตุประท้วงกรณีอดีตประธานาธิบดีจาคอบ ซูมาถูกจำคุกที่ลุกลามเป็นเหตุจลาจลและปล้นชิง มีคนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 350 คน ทางการแอฟริกาใต้แจ้งว่า จะส่งตำรวจจำนวนมากไปรับมือกับเหตุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากพรรคนักรบเสรีภาพเศรษฐกิจหรืออีเอฟเอฟ (EFF) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับ 3 ขอให้ชาวแอฟริกาใต้ออกมาชุมนุมตามท้องถนนและผละงานเพื่อทำไห้ประเทศหยุดนิ่ง พรรคอีเอฟเอฟเรียกร้องให้ประธานาธิบดีรามาโฟซาลาออก เพื่อรับผิดชอบที่บริหารเศรษฐกิจล้มเหลว ประเทศขาดแคลนไฟฟ้า และอัตราว่างงานพุ่งทะยาน โดยออกแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ว่า ผู้ประท้วงจะต้องมีความพร้อมรบและถึงขีดสุด แต่ต้องเป็นไปอย่างสันติ และขอให้ระวังมือที่ 3 เข้ามาแทรกแซง เป้าหมายหลักของการประท้วงจะอยู่ที่ท่าเรือ รัฐสภา ด่านข้ามพรมแดน และตลาดหลักทรัพย์โจฮันเนสเบิร์ก ขณะที่ประธานาธิบดีรามาโฟซากล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พรรคอีเอฟเอฟต้องการเรียกคะแนนทางการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า เพราะมีคะแนนไม่ถึงร้อยละ 15 ของทั้งประเทศ.-สำนักข่าวไทย
นายกฯ ขอให้รอราชกิจจานุเบกษาประกาศเรื่องยุบสภา เผยเลขาฯ ครม. จะชี้แจงขั้นตอนปฏิบัติหาเสียงเลือกตั้ง พรุ่งนี้ (21 มี.ค.)
“อนุทิน” เตรียมถอยบทบาท รมว.สธ.หลังยุบสภา ชี้ เป็นมารยาททางการเมือง ระบุ ไม่กังวลคะแนนเสียง หลังกัญชา ถูกด้อยค่า ยัน ภูมิใจไทย เสนอกฎหมายควบคุม ไม่เคยตั้งเป้าให้ใช้นันทนาการ