“ฟอกซ์ นิวส์” ชี้ “ทรัมป์” ชนะเลือกตั้งเป็น ปธน. สหรัฐ
“ฟอกซ์ นิวส์” สถานีโทรทัศน์ช่องข่าวของสหรัฐชี้ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ โดยเอาชนะ นางคอมมาลา แฮร์ริส
“ฟอกซ์ นิวส์” สถานีโทรทัศน์ช่องข่าวของสหรัฐชี้ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ โดยเอาชนะ นางคอมมาลา แฮร์ริส
06 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีความพยายามอ้างว่า 3 รัฐสมรภูมิหรือ Swing State ได้แก่ จอร์เจีย มิชิแกน และ เพนซิลเวเนีย ส่อจะมีการบิดเบือนผลการนับคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากทั้ง 3 รัฐเปิดเผยว่าผลการเลือกตั้งของรัฐอาจจะประกาศไม่ทันคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันเลือกตั้งนั่นเอง นอกจากนี้ อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังกล่าวหาว่า การเลือกตั้งในจอร์เจียไม่มีความโปร่งใส เพราะต้องใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วันก่อนจะรู้ผล บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรดี เป็นเรื่องปกติที่แต่ละรัฐจะประกาศผลการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่พร้อมกัน เนื่องจากแต่ละรัฐมีนโยบายการนับคะแนนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนโยบายการนับคะแนนที่แตกต่างกัน ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงการเลือกตั้งแต่อย่างใด สหรัฐฯ นับบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าไม่พร้อมกัน ข้อมูลจากหน่ายงาน National Conference of […]
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความมั่นคงของไต้หวันกล่าววันนี้ว่า สหรัฐจะยังคงมีนโยบายที่เป็นมิตรกับไต้หวันต่อไปหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐผ่านพ้นไปแล้ว
ชาวอเมริกันออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวานนี้ เพื่อตัดสินว่าใครจะได้เป็นผู้นำประเทศคนต่อไป ระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ กับนางคอมมาลา แฮร์ริส
05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่ออ้างว่ามีความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรัฐโอเรกอน เมื่อชื่อของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ ของพรรครีพับลิกัน ถูกลบออกจากหน้าเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ในเว็บไซต์ของรัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐโอเรกอน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า เหตุผลที่ชื่อของ โดนัลด์ ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ ไม่ปรากฎอยู่บนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิในรัฐโอเรกอน ไม่ใช่เพราะถูกลบชื่อออก แต่ชื่อของคนทั้ง 2 ไม่เคยอยู่บนเมนูอยู่แล้ว โฆษกของรัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐโอเรกอนชี้แจงว่า ผู้สมัครที่จะมีชื่ออยู่บนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในรัฐโอเรกอน คือผู้สมัครที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครมาเผยแพร่กับทางเว็บไซต์เท่านั้น แต่กระนั้น ไม่มีการบังคับให้ผู้สมัครทุกคนต้องส่งข้อมูลมาเผยแพร่ แต่ผู้สมัครที่ไม่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครมายังเว็บไซต์จะไม่มีมีชื่อบนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ รายชื่อของผู้สมัครทุกรายจะอยู่ในบัตรลงคะแนนเลือกตั้งของรัฐโอเรกอนทุกคน สำนักงานพรรครีพับลิกันแห่งรัฐโอเรกอน ชี้แจงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม เพื่อยืนยันว่า ชื่อของ โดนัลด์ ทรัมป์ […]
กกต.เห็นชอบแผนจัดเลือกตั้งสมาชิกและนายก อบจ. 1 ก.พ.ปีหน้า เปิดรับสมัคร 23-27 ธ.ค.นี้ มี 29 จังหวัดไม่ต้องเลือก เหตุลาออกก่อนครบวาระและทยอยจัดเลือกตั้งใหม่แล้ว
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นการแข่งขันที่คู่คี่สูสีที่สุดระหว่างอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันและรองประธานาธิบดีคอมมาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต
05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างถึงความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งที่รัฐมิชิแกน เมื่อพบว่าในมิชิแกนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 7.9 ล้านคน แต่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 8.4 ล้านคน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่ามีแผนแทรกแซงผลเลือกตั้งในมิชิแกน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี การมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง (Registered Voter) มากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Eligible Voter) ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบัญญัติของสหรัฐฯ และกฎหมายระดับมลรัฐ ห้ามการยกเลิกสิทธิเลือกตั้งของผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงเพราะไม่ได้ไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง จึงมีการแบ่งผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งออกเป็นกลุ่ม Active Voter หรือผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสม่ำเสมอหรือมีที่อยู่อาศัยชัดเจน และกลุ่ม Inactive Voter หรือผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเวลานานหรือมีที่อยู่อาศัยไม่ชัดเจน เช่นมีการย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นหรือเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งที่เข้าข่ายเป็น Inactive Voter คือผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนาน 6 ปีติดต่อกัน หรือไม่ตอบรับการแจ้งเตือนเพื่อยืนยันที่อยู่อาศัย โดยผู้มีสถานะ Inactive […]
การเลือกตั้งนายก อบจ.ขอนแก่น “วัฒนา ช่างเหลา” เบียดชนะอดีตนายก อบจ. 6 สมัย กว่า 40,000 คะแนน ส่วนที่สุโขทัย “มนู พุกประเสริฐ” ชนะขาดลอยกว่า 100,000 คะแนน ป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ
03 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า การเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความโปร่งใส เมื่อพบว่าชื่อที่อยู่บนบัตรลงคะแนน ถูกเปลี่ยนไปจากตอนที่เลือกบนเครื่องลงคะแนนเลือกตั้ง บทสรุป : ฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ผู้โพสต์อ้างว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่คูหาเลือกตั้งใน แทร์แรนต์ เคาตี รัฐเท็กซัส โดยผู้ร้องเรียนที่ชื่อว่า เจมส์ คริสโตเฟอร์ เล่าว่า ตนเองกดเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อตรวจสอบบัตรลงคะแนนที่พิมพ์ออกมาแล้ว ปรากฏว่าชื่อที่พิมพ์ออกมา กลับเป็นชื่อของรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส นำไปสู่เสียงวิจารณ์ต่อความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จนถึงข่าวลือเรื่องแผนการแทรกแซงผลเลือกตั้งโดยพรรคคู่แข่ง อย่างไรก็ดี คลินต์ ลุดวิก หัวหน้าฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด แถลงการณ์ของ คลินต์ […]
02 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของ บักส์ เคาตี รัฐเพนซิลเวเนีย ลงมือทำลายบัตรลงคะแนนทางจดหมาย ที่ผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่างจงใจ จนคลิปถูกแชร์ในวงกว้างและกล่าวหาว่าเป็นหลักฐานการแทรกแซงการเลือกตั้งเพื่อประโยชน์แก่พรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน ยืนยันเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2024 ว่า บัตรลงคะแนนทางจดหมายที่อยู่ในคลิปที่ถูกแชร์เป็นของปลอม เมื่อนำบัตรลงคะแนนทางจดหมายที่ใช้ในบักส์ เคาตี มาเปรียบเทียบกับบัตรลงคะแนนทางจดหมายในวิดีโอที่ถูกแชร์ จะพบความแตกต่างหลายประการ แถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนในวิดีโอที่ถูกแชร์จะมีสีเขียวเข้ม ส่วนแถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสีเขียวสด ส่วนผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของปลอมจะมีความมันวาว แต่ผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสัมผัสด้าน นอกจากนี้ การตรวจสอบไม่พบว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ไม่มีใครที่มีคุณลักษณะตรงกับบุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ และการกระทำที่อยู่ในคลิปก็เป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐเพนซิลเวเนียห้ามนำบัตรลงคะแนนล่วงหน้าหรือบัตรลงคะแนนทางจดหมายมานับก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน […]
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกำลังจะมาถึงในวันอังคารนี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้ว ห้างร้านบางแห่งในกรุงวอชิงตัน ดีซี เมืองหลวงของสหรัฐ