เมียนมารับ 670 ผู้ก่อเหตุประท้วง ตม.ไทย กลับประเทศ
ผู้ใหญ่ระดับสูงเมียนมารับแรงงาน 670 ราย กลับประเทศ หลังก่อเหตุประท้วง ตม.ไทย ขอให้ส่งตัวกลับ ถือเป็นการส่งตัวครั้งใหญ่ที่สุดของ จ.ระนอง
ผู้ใหญ่ระดับสูงเมียนมารับแรงงาน 670 ราย กลับประเทศ หลังก่อเหตุประท้วง ตม.ไทย ขอให้ส่งตัวกลับ ถือเป็นการส่งตัวครั้งใหญ่ที่สุดของ จ.ระนอง
วอชิงตัน 2 ก.พ.- สหรัฐประณามรัฐบาลทหารเมียนมาที่ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่า ทำให้ความทุกข์ยากตลอด 2 ปีที่ผ่านมายืดเยื้อต่อไปอีก นับตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลงว่า สหรัฐคัดค้านอย่างยิ่งต่อการที่รัฐบาลทหารพม่า (เป็นชื่อที่สหรัฐใช้เรียกเมียนมา) ตัดสินใจขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้การปกครองไม่ชอบธรรมและความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับประเทศยืดเยื้อต่อไปอีก สหรัฐมุ่งมั่นที่จะร่วมกับประเทศอื่นไม่ยอมรับความน่าเชื่อในระดับสากลของรัฐบาลนี้ โฆษกสหรัฐยังได้ประณามสิ่งที่รัฐบาลทหารเรียกว่าการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งแบบนั้นจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพ และจะไม่ใช่การเลือกตัวแทนของประชาชนในประเทศ สหรัฐแสดงท่าทีดังกล่าวหลังจากรัฐบาลทหารเมียนมาแถลงในวันครบ 2 ปีของการรัฐประหารว่า จะขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือน เท่ากับทำให้กำหนดการเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปอีกภายใต้ระเบียบรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันสหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัฐมนตรีพลังงานและผู้บริหารบริษัทน้ำมันของเมียนมาเพื่อเพิ่มการกดดัน.-สำนักข่าวไทย
ย่างกุ้ง 1 ก.พ. – ท้องถนนในหลายเมืองสำคัญของของเมียนมาอยู่ในสภาพว่างเปล่า ขณะที่ร้านค้าหลายแห่งก็พากันปิดร้านในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 2 ปีที่กองทัพเมียนมาก่อเหตุยึดอำนาจการปกครองจากนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ถนนในนครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านการค้าของเมียนมา ว่างเปล่าตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ หลังกลุ่มนักเคลื่อนไหวได้เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศหยุดดำเนินธุรกิจต่าง ๆ และอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. ของวันนี้ หรือตรงกับเวลา 10.30 – 16.30 น. ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย ขณะที่ถนนหลายสายที่มุ่งหน้าสู่เจดีย์ชเวดากองก็มีสภาพว่างเปล่าเช่นกัน ส่วนรถโดยสารประจำทางบนท้องถนนในเมืองอื่น ๆ ก็ไม่มีผู้โดยสารอยู่บนรถ และในหลายพื้นที่ก็มีการวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ชาวเมียนมาไม่เผยนามคนหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของเมียนมา ก็มีสภาพว่างเปล่าดังเช่นอีกหลายเมือง บนท้องถนนมีผู้คนเดินสัญจรไปมาอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ไม่มีการเปิดธุรกิจใด ๆ บนถนนสายหลัก ขณะที่สื่อท้องถิ่นของเมียนมาเผยแพร่ภาพถ่ายท้องถนนของเมืองมะละแหม่ง ทางตะวันออกของเมียนมา ที่มีแต่ความว่างเปล่าเช่นกัน อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้สนับสนุนกองทัพเมียนมามีกำหนดเดินขบวนบนท้องถนนในย่านกลางนครย่างกุ้งในช่วงสายของวันนี้ ส่วนสถานทูตสหรัฐประจำเมียนมาเตือนว่าอาจมีการจัดกิจกรรมต่อต้านกองทัพเมียนมาและความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงวันครบรอบ 2 ปีที่กองทัพเมียนมาก่อเหตุรัฐประหาร.-สำนักข่าวไทย
บรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา เรียกร้องให้บรรดาบริษัทธุรกิจต่าง ๆ หยุดทำงานทั่วประเทศในวันนี้ เพื่อรำลึกถึงวาระครบรอบ 2 ปี ในวันนี้ที่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือน
สหรัฐประกาศใช้มาตรการลงโทษเมียนมาเพิ่มเติมเมื่อวานนี้ เพียง 1 วันก่อนครบวาระ 2 ปี ของการก่อรัฐประหารในเมียนมาในวันนี้
รัฐบาลทหารเมียนมาเตรียมจัดการเลือกตั้งหลังจากรัฐประหารเมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่หลายฝ่ายเกรงว่าการเลือกตั้งอาจทำให้เกิดการนองเลือดยิ่งขึ้นไปอีก เพราะยังมีกระแสต่อต้านรัฐบาลทหารอยู่มาก
3 ชายชาวจีนรอจังหวะตอนรถหยุดรับบัตรผ่านไม้กั้น วิ่งหนีลงมาขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ด่านเก็บเงินบางปะกง 3 จ.ฉะเชิงเทรา หลังรู้ว่าจะถูกพาไปขายต่อที่เมียนมา
กรุงเทพฯ 26 ม.ค.- สหประชาชาติระบุว่า พื้นที่ปลูกฝิ่นในเมียนมาได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังจากกองทัพรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนในปี 2564 เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองและเศรษฐกิจบีบให้เกษตรกรต้องหันไปปลูกพืชเสพติดชนิดนี้ สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นดีโอซี (UNDOC) ออกรายงานในวันนี้ว่า พื้นที่ปลูกฝิ่นในเมียนมาช่วงปี 2564-2565 เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 เป็นมากกว่า 250,000 ไร่ และอาจจะได้ผลิตภัณฑ์จากฝิ่นมากถึง 790 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 90 จากปีก่อนหน้า นายเจเรมี ดักลาส ตัวแทนประจำภูมิภาคของยูเอ็นดีโอซีกล่าวว่า การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการปกครองที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ทำให้เกษตรกรไม่มีทางเลือก นอกจากต้องหันกลับไปปลูกฝิ่น พื้นที่ปลูกฝิ่นที่เพิ่มขึ้นจึงมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในเมียนมา รายงานฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและการสำรวจในพื้นที่ว่า การปลูกฝิ่นในเมียนมาที่ลดลงในช่วงปี 2557-2563 ได้กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2564 คาดว่าการปลูกฝิ่นในเมียนมามีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 65,337 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) เมียนมาในปี 2564 […]
ชาวเมียนมากลุ่มหนึ่งยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลในเยอรมนี กล่าวหากองทัพเมียนมาในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก่ออาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
มูเซ 15 ม.ค.- เจ้าหน้าที่เมียนมาแจ้งว่า ด่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลี่ (Muse-Ruili) ที่เป็นด่านหลักระหว่างเมียนมากับจีน กลับมาเปิดเป็นบางส่วนแล้ว หลังจากปิดมาหลายปีตั้งแต่โรคโควิด-19 ระบาด เจ้าหน้าที่รัฐฉาน ทางตอนเหนือของเมียนมาเผยว่า เปิดประตูด่านเพียง 1 ประตูตั้งแต่วันเสาร์ ด่านนี้เป็นหนึ่งในด่านที่พลุกพล่านที่สุดของเมียนมา ถูกปิดตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 นักธุรกิจค้าข้าวคนหนึ่งเผยว่า จีนอนุญาตให้เมียนมาส่งออกเฉพาะอาหารและน้ำเท่านั้น ส่วนสินค้าหลักอื่น ๆ อย่างข้าว ถั่ว และแตงโม ต้องส่งออกผ่านด่านจิ่งซานเจ้าะ (Kyinsankyawt) นอกเมืองมูเซ ด่านหลังนี้เปิดเป็นบางส่วนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ส่วนจีนส่งออกอุปกรณ์ก่อสร้างและอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ทางการแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ยังไม่อนุญาตให้คนผ่านเข้าออกด่าน.-สำนักข่าวไทย
ย่างกุ้ง 10 ม.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานว่า ทางการได้ตัดสินจำคุกชาวโรฮีนจา 112 คน เป็นเวลา 2-5 ปี โดยมีเด็กรวมอยู่ด้วย โทษฐานพยายามเดินทางไปมาเลเซียโดยไม่มีเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานอ้างตำรวจท้องถิ่นว่า คนกลุ่มนี้ถูกจับกุมเมื่อเดือนธันวาคมที่เขตอิรวดี ทางตอนใต้ของประเทศ และถูกตัดสินจำคุกเมื่อวันที่ 6 มกราคม ส่วนเด็กสิบกว่าคนถูกย้ายไปยังโรงเรียนอบรมเยาวชนใกล้นครย่างกุ้งเมื่อวันที่ 8 มกราคม รายงานเรียกชาวโรฮีนจากลุ่มนี้ว่า เบงกาลี เป็นคำเหยียดที่ใช้เรียกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ทางการเมียนมาไม่ให้สัญชาติและมักจำกัดการเดินทาง กองทัพเมียนมาใช้กำลังกวาดล้างในปี 2560 ทำให้ชาวโรฮีนจาหลายแสนคนหนีข้ามพรมแดนเข้าไปยังบังกลาเทศ และมีการฟ้องร้องเมียนมาต่อศาลโลกในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ละปีมีชาวโรฮีนจาจำนวนมากเสี่ยงชีวิตล่องเรือออกจากเมียนมาและค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศหวังเดินทางไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีเรือไม้ลำหนึ่งที่มีชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรีไปขึ้นฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย นับเป็นลำที่ 5 แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน.-605
รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า มีนักโทษเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บมากกว่า 60 คน หลังเกิดเหตุจลาจลที่เรือนจำทางตะวันตกของนครย่างกุ้ง