เกษตรสร้างชาติ : เกษตรกรบางระกำโมเดล 61 เริ่มทำนาแล้ว
กรมชลประทานเริ่มผันน้ำเข้าทุ่งในโครงการบางระกำโมเดล เกษตรกรในพื้นที่ต่างดีใจที่สามารถปลูกข้าวได้ก่อนที่อื่น และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทัน ไม่ถูกน้ำท่วม ประสบความสำเร็จเหมือนปีที่แล้ว
กรมชลประทานเริ่มผันน้ำเข้าทุ่งในโครงการบางระกำโมเดล เกษตรกรในพื้นที่ต่างดีใจที่สามารถปลูกข้าวได้ก่อนที่อื่น และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทัน ไม่ถูกน้ำท่วม ประสบความสำเร็จเหมือนปีที่แล้ว
อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น เป็นอำเภอแรกของประเทศที่ประสบความสำเร็จโครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์เป็นเจ้าของโครงการ
เกษตรสร้างชาติวันนี้ พาไปพบกับเกษตกรหนุ่มดีกรีปริญญาตรี ตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ปรับพื้นที่นา 50 ไร่ มาปลูกคะน้าพันธุ์ไต้หวัน หรือคะน้ายักษ์ ลำต้นใหญ่ สูงเกือบ 2 ฟุต ทนโรค น้ำหนักต่อต้น 6-7 ขีด สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
ช่วงฤดูร้อนต่อเนื่องถึงต้นฤดูฝน เป็นช่วงที่กล้วยไม้สกุลเอื้องจะออกดอกให้ได้ชม ปีหนึ่งออกเพียงครั้งเดียว กล้วยไม้นั้นเดิมเป็นกล้วยไม้ป่า แต่ปัจจุบันนำมาเพาะเนื้อเยื่อ ผสมให้ได้สายพันธุ์ใหม่โดยไม่ต้องไปรบกวนธรรมชาติแล้ว
เกษตรสร้างชาติวันนี้ พาไปพบรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่วางแผนชีวิตหลังเกษียณไว้ว่าจะเป็นเกษตรกร โดยเริ่มลงมือทำเกษตรอินทรีย์ในช่วงว่างจากงานราชการ สร้างสวนต้นแบบ
“เกษตรสร้างชาติ” พาไปรู้จักกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องไร่พัดชา ซึ่งหลายคนขนานนามว่า “กล้วยน้ำว้ายักษ์” เนื่องจากมีผลขนาดใหญ่กว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป น้ำหนักต่อหวี 4-6 กก.
“เกษตรสร้างชาติ” พาไปดูสวนชมพู่เกรดพรีเมียม ที่สวนเจริญสุข อ.บางแพ จ.ราชบุรี เป็นที่รู้จักดี เพราะส่งออกไปต่างประเทศ และมีลูกค้าประจำสั่งซื้อให้ส่งถึงบ้านทุกปี
ใครอยากเห็นวิถีชีวิตควายไทย ที่เอสเค ฟาร์ม อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะที่นั่นเป็นฟาร์มเพาะพันธุ์ควายเผือกแคระแห่งเดียวในไทย
เกษตรสร้างชาติ วันนี้พาไปลุยสวนมะพร้าวน้ำหอมที่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เจ้าของได้ปรับพื้นที่สวนละมุดพันธุ์หวานสุกดั้งเดิม แบ่งแปลงมาทำสวนมะพร้าวน้ำหอมดำเนินควบคู่กัน ทำให้มีรายได้เพิ่มเป็น 2 เท่า มีผลผลิตสลับส่งขายหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีเป้าหมายลดปริมาณข้าวในประเทศที่มีเกินความต้องการจึงส่งเสริมให้เกษตรกรพักทำนาในหน้าแล้ง แล้วมาปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และพืชผัก ตามโครงการปลูกพืชหลากหลายซึ่งรายได้มากกว่าการปลูกข้าว
มหาสารคาม 2 เม.ย.-การเลี้ยงโคนม การจดบันทึกข้อมูลโคนม เช่น บันทึกการผสมพันธุ์ บันทึกสุขภาพ นับว่ามีความสำคัญต่อการบริหารจัดการฟาร์ม แต่กลับพบว่าบางฟาร์มไม่มีการจดบันทึกที่ดี บางฟาร์มบันทึกไม่ต่อเนื่อง หรือเอกสารสูญหาย มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงคิดแอพพลิเคชั่นบนมือถือ “สมาร์ท ดี ฟาร์มเมอร์” ให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลโคนมได้ทุกวันบนสมาร์ทโฟน เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย ช่วยในการบริหารจัดการฟาร์ม จากปัญหาสัตวแพทย์เข้าไปรักษาโคนม แล้วพบว่าเกษตรกรไม่มีข้อมูลประจำตัวโคนมที่สมบูรณ์ ขาดข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญ เช่น วันเกิด วันผสมพันธุ์ วันคลอด ซึ่งมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของฝูงโค ข้อมูลยังมีความสำคัญในการแก้ปัญหาโคผสมติดยาก โคให้น้ำนมน้อย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงสร้าง “โปรแกรมจัดการฟาร์ม Smart D Farmers” แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เกษตรกรบันทึกข้อมูลตั้งแต่นำโคเข้าฟาร์มลงแอพพลิเคชั่นนี้ได้อย่างสะดวก ข้อมูลที่เกษตรกรบันทึกลงแอพพลิเคชั่นยังมีประโยชน์ต่อสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมในการบริหารจัดการน้ำนมของสมาชิก ปัจจุบันมีฟาร์มโคนม 123 แห่งทั่วประเทศ ใช้แอพพลิเคชั่น Smart D Farmers เกษตรกรสามารถโหลดใช้ฟรี ได้ทั้งระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส.-สำนักข่าวไทย
อดีตพนักงานประจำด้านไอทีบริษัทเอกชนผันตัวเองมาทำเกษตร ปลูกผักสลัดปลอดสารพิษแบบลงดิน ใช้ระบบน้ำหยดแห่งเดียวบนเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี