อดีตกรธ.ชี้ศาลตีความคำสั่งคสช.ให้ฟ้องกลับได้
“อุดม” ชี้ คำสั่งเรียกคสช.ขัดรธน. เปิดช่องให้ฟ้องกลับได้ คนหนีไปต่างประเทศกลับมาได้ เพราะไม่มีความผิดแล้ว
“อุดม” ชี้ คำสั่งเรียกคสช.ขัดรธน. เปิดช่องให้ฟ้องกลับได้ คนหนีไปต่างประเทศกลับมาได้ เพราะไม่มีความผิดแล้ว
อดีตกรธ.ให้ความเห็นกมธ.แก้รัฐธรรมนูญ แนะส่งศาลรธน.ตีความปมตั้งส.ส.ร. ชี้รธน.60 ไม่ให้ร่างใหม่ทั้งฉบับ
กรุงเทพฯ 2 ต.ค.-“อุดม” ชี้การเสนอแก้ ม.256 และให้มี ส.ส.ร.มายกร่าง รธน.เท่ากับการฉีกรัฐธรรมนูญ จึงต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนเสนอแก้ นายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และอนุกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับก่อนลงมติ กล่าวถึงข้อกังวลของ ส.ว.ว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่างใหม่ จะต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ ว่า ประเด็นอยู่ที่ว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการเสนอเพื่อแก้หรือเพื่อล้มรัฐธรรมนูญเก่า เพราะการตั้ง ส.ส.ร.เท่ากับเป็นการล้มรัฐธรรมนูญเดิม ไม่ได้เป็นเพียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงกลายเป็นประเด็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญมีที่มาจากการลงประชามติ ควรต้องกลับไปถามประชามติจากประชาชนก่อนหรือไม่ เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เฉพาะการแก้ไขในหมวด 15 ที่สามารถพิจารณาผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ แล้วค่อยไปทำประชามติ ดังนั้นส่วนตัวเห็นว่าควรต้องนำไปลงประชามติสอบถามประชาชนก่อนที่จะนำมาพิจารณาในสภาฯ และเรื่องนี้ควรจะต้องมีการถกเถียงกันในคณะอนุกรรมการฯ พอสมควร “ผมยังคิดว่ามีประเด็นที่ทำให้คิดว่ากรณีนี้ ถ้าตามหลักการมีทั้ง 2 มุม ที่มองว่าการเสนอดังกล่าวไม่ใช่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ ถ้ามองในมุมนั้นจะต้องไปลงประชามติก่อน เพราะมันไม่ใช่เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ามีคนบอกว่าเราเคยทำแล้วตอนรัฐธรรมนูญปี 34 ตอนนั้นที่ทำได้เพราะรัฐธรรมนูญปี 34 ไม่มีการลงประชามติ ตรงนั้นไม่ได้พูดถึงว่ามันมาจากมติของประชาชน มันมีการยกร่างกันขึ้นมาธรรมดา” […]
“อุดม” เปิดสูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส.ยืนยันไม่ซับซ้อน แต่ควรรอตัวเลขทางการ ติงพรรคการเมืองหยิบมาชิงความได้เปรียบในการจัดตั้งรัฐบาล
“อุดม รัฐอมฤต” ยันกรอบ 150 วันไม่นับรวมการประกาศผลเลือกตั้ง ย้ำกำหนดไว้ชัดในกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส. ม.171 ชี้คนที่ตีความให้นับรวมประกาศผลเพราะอยากเลือกตั้งเร็ว
โฆษก กรธ.แจงไม่ใช่คนต้นคิดระบบไพรมารีโหวต ชี้ สนช.เพิ่มเข้ามา หวังประชาชนมีส่วนร่วม ยันระบบยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน