ยุโรปเสี่ยงเกิดภัยแล้งช่วงฤดูร้อนซ้ำอีก

กลุ่มสังเกตการณ์สภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) เตือนว่า ภัยแล้งรุนแรงที่ทำให้ธารน้ำแข็งละลายในช่วงฤดูร้อนปี 2565 ซึ่งเป็นฤดูร้อนที่ร้อนเป็นประวัติการณ์ของยุโรป อาจเกิดขึ้นซ้ำอีกในปีนี้ เนื่องจากอุณหภูมิของยุโรปสูงขึ้นเร็วกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก

มี.ค.ปีนี้ร้อนเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่บันทึกมา

ปารีส 6 เม.ย.- หน่วยงานติดตามสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) เผยว่า เดือนมีนาคม 2566 เป็นเดือนมีนาคมที่ทั่วโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่มีการบันทึกมา สำนักบริการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus) เผยแพร่รายงานวันนี้ว่า จากการใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่เก็บบันทึกจากดาวเทียม เรือ เครื่องบิน และสถานีอากาศทั่วโลกพบว่า เดือนมีนาคมปีนี้เป็นเดือนมีนาคมที่ทั่วโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 และแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้มีขนาดเล็กลงเหลือน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่มีการเก็บบันทึกข้อมูลดาวเทียมมาตั้งแต่ 45 ปีก่อน รายงานระบุว่า ภูมิภาคยุโรปกลางและใต้มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย อเมริกาใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยมาก ในทางกลับกันพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปเหนือมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ภาคตะวันตกและภาคกลางของอเมริกาเหนือมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยมาก โคเปอร์นิคัสระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นทั่วโลกเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือคน ทำให้ช่วง 8 ปีที่ผ่านมาโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 8 นับตั้งแต่มีการบันทึกมา.-สำนักข่าวไทย

ปตท.สผ. และ สผ. ร่วมมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรุงเทพฯ 14 มี.ค.-ปตท.สผ. และ สผ. จับมือดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ หนุนเป้าหมายความยั่งยืนของไทย

ยูเอ็นวอนลงทุนขนานใหญ่ฟื้นฟูปากีสถาน

เจนีวา 9 ม.ค.- เลขาธิการสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เรียกร้องให้ลงทุนขนานใหญ่ เพื่อช่วยปากีสถานฟื้นฟูประเทศที่เสียหายหนักจากอุทกภัยปี 2565 และตกเป็นเหยื่อซ้ำซ้อนทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการล้มละลายทางศีลธรรมของระบบการเงินโลก นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นกล่าวในการประชุมระหว่างประเทศที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ในวันนี้เพื่อระดมทุนช่วยฟื้นฟูปากีสถานว่า ไม่มีประเทศใดควรต้องยอมทนกับภัยพิบัติเหมือนที่เกิดขึ้นในปากีสถาน เขาขอยกย่องปากีสถานและประชาชนที่รับมือกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อย่างกล้าหาญ ประชาคมโลกจะต้องทำให้ได้อย่างชาวปากีสถานด้วยการพยายามและลงทุนขนานใหญ่เพื่อช่วยให้ชาวปากีสถานมีความแข็งแกร่งสำหรับอนาคตที่ดีขึ้น เลขาธิการยูเอ็นระบุว่า ประชาคมโลกมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษที่จะต้องช่วยเหลือปากีสถานที่ตกเป็นเหยื่อซ้ำซ้อนทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการล้มละลายทางศีลธรรมของระบบการเงินโลก เขาประณามระบบการเงินที่มักปฏิเสธการผ่อนปรนหนี้ให้แก่ประเทศรายได้ปานกลางและการให้ทุนที่จำเป็นต่อการลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยพิบิตทางธรรมชาติ ด้านนายพิลาวัล บุตโต ซาร์ดารี รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถานที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวซึ่งมีผู้ลงทะเบียนประชุมประมาณ 450 คนจาก 40 ประเทศว่า อุทกภัยปี 2565 เป็นภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศ ปากีสถานต้องการการสนับสนุนในช่วงหลายปีข้างหน้าจากหุ้นส่วนสากลในการฟื้นฟูประเทศ ข้อมูลในแผนงานการฟื้นตัว ฟื้นฟูและบูรณะอย่างยืดหยุ่นที่ปากีสถานจะนำเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า ต้องการความช่วยเหลือ 16,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 546,604 ล้านบาท) อุทกภัยดังกล่าวทำให้ปากีสถานจมน้ำมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ เสียชีวิตมากกว่า 1,700 คน เดือดร้อนมากกว่า 33 ล้านคน โดยมีคนพลัดถิ่น 8 ล้านคน และต้องกลายเป็นคนยากจน 9 ล้านคน.-สำนักข่าวไทย

ธารน้ำแข็งครึ่งโลกจะหายไปภายในปี 2643

วอชิงตัน 6 ม.ค.- ผลการศึกษาใหม่พบว่า ธารน้ำแข็งครึ่งโลกจะละลายหายไปหมดภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือสิ้นปี พ.ศ.2643 อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหากช่วยกันจำกัดภาวะโลกร้อนก็จะช่วยรักษาธารน้ำแข็งที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งไว้ได้ ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารไซเอินซ์ฉบับวันที่ 5 มกราคมวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธารน้ำแข็งจากฉากทัศน์ที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในองศาเซลเซียสที่แตกต่างกัน 4 ฉากทัศน์ ได้แก่ 1.5, 2, 3 และ 4 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งองศาเพิ่มขึ้นยิ่งทำให้ธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น แม้แต่ฉากทัศน์ที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายในข้อตกลงปารีส ปี 2558 ธารน้ำแข็งร้อยละ 49 จากที่มีอยู่ทั้งหมด 215,000 แห่งในเวลานี้จะละลายหายไปภายในปี 2643 คิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณธารน้ำแข็งทั้งหมด เพราะธารน้ำแข็งขนาดเล็กที่สุดจะละลายก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่อยู่ตามเทือกเขาแอลป์และเทือกเขาคอเคซัสในยุโรป เทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ แต่หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งทั่วโลกจะละลายหายไปมากถึงร้อยละ 83 ภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นคริสต์ศตวรรษนี้ อย่างไรก็ดี ประเมินกันว่าอุณหภูมิโลกในขณะนี้จะเพิ่มขึ้น 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ธารน้ำแข็งในยุโรปกลาง […]

อียูบรรลุข้อตกลงยกเครื่องตลาดคาร์บอนแล้ว

บรัสเซลส์ 18 ธ.ค.- คณะผู้เจรจาของสหภาพยุโรปหรืออียู บรรลุข้อตกลงในช่วงเช้ามืดวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น เรื่องการยกเครื่องตลาดการค้าคาร์บอนของอียู ซึ่งเป็นเครื่องมือดำเนินนโยบายหลักของอียูในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน สาธารณรัฐเช็กในฐานะประธานอียูและประธานคณะมนตรียุโรปวาระปัจจุบันแถลงว่า ข้อตกลงนี้จะช่วยให้อียูบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคส่วนหลักของเศรษฐกิจ และสร้างหลักประกันว่าประชาชนและผู้ประกอบรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดจะได้รับการสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านด้านสภาพภูมิอากาศ แถลงการณ์ระบุว่า คณะผู้เจรจาถกเถียงกันนานกว่า 30 ชั่วโมงตั้งแต่วันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นจนสามารถตกลงกันว่า จะเพิ่มเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซในภาคเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซยุโรปของอียู (EU ETS) เป็นร้อยละ 62 ภายในปี 2573 จากเดิมที่ตั้งเป้าลดลงร้อยละ 55 ภายในปี 2573 จากระดับการปล่อยในปี 2533 และจะตั้งกองทุนสภาพภูมิอากาศทางสังคมเพื่อช่วยให้ครัวเรือน ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ใช้บริการขนส่งสามารถรับมือกับผลกระทบด้านราคาที่จะเพิ่มขึ้นจากตลาดการค้าคาร์บอน ข้อตกลงเบื้องต้นนี้จะต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐสภายุโรปและคณะมนตรียุโรปจึงจะมีผลบังคับใช้.-สำนักข่าวไทย

เจ้าชายวิลเลียมพบไบเดนระหว่างเยือนสหรัฐวันสุดท้าย

บอสตัน 3 ธ.ค.- เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ทรงพบกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐที่นครบอสตันเมื่อวันศุกร์ตามเวลาสหรัฐ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเสด็จเยือนสหรัฐเพื่อปลุกกระแสเรื่องการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เจ้าชายวิลเลียมทรงพบสนทนาเป็นการส่วนพระองค์กับประธานาธิบดีไบเดนที่ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์จอห์น เอฟ เคนเนดี โฆษกทำเนียบขาวเผยกับสื่อว่า จะเป็นการพูดคุยเรื่องเป้าหมายสภาพภูมิอากาศที่มีร่วมกัน และเรื่องการทำให้ประเด็นสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญ หลังจากนั้นเจ้าชายแห่งเวลส์และเคท เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงไปมอบรางวัลรางวัลเอิร์ธช็อตที่เจ้าชายตั้งขึ้นเพื่อยกย่องผู้ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์เสด็จต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่ทรงดำรงพระอิสริยยศนี้ หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถอเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตในเดือนกันยายน ทั้งสองพระองค์เสด็จเยือนสหรัฐครั้งหลังสุดเมื่อปี 2557 ขณะเป็นอาคันตุกะของบารัค โอบามา ประธานาธิบดีในขณะนั้น ขณะเดียวกันในระหว่างที่เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์เสด็จเยือนสหรัฐเป็นเวลา 3 วันอยู่นั้น เน็ตฟลิกซ์ แพลตฟอร์มบริการสตรีมมิงรายใหญ่ได้ปล่อยตัวอย่างสารคดีชุดของเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์และพระอนุชาในเจ้าชายแห่งเวลส์ เล่าเรื่องรอยร้าวในราชวงศ์อังกฤษพร้อมกับเมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ .-สำนักข่าวไทย

แนะให้เกรตแบร์ริเออร์รีฟเป็น “มรดกโลกตกอยู่ในอันตราย”

คณะผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งเป็นแนวปะการังยาวที่สุดในโลก ถูกขึ้นบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย เพราะกำลังได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

COP27 ตั้งกองทุนเยียวยาความสูญเสียจากโลกร้อน

ชาร์ม เอล เชค 20 พ.ย.- การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ปิดฉากลงแล้ว พร้อมกับข้อตกลงประวัติศาสตร์ตั้งกองทุนเยียวยาความสูญเสียและเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมนาน 2 สัปดาห์ที่เมืองชาร์ม เอล เชคของอียิปต์เสร็จสิ้นในวันนี้ ล่าช้าจากเดิมที่กำหนดเสร็จสิ้นในวันศุกร์ ผู้ร่วมประชุมที่ดูเหนื่อยล้าพากันปรบมือเมื่อข้อเสนอตั้งกองทุนเยียวยาได้รับการรับรองเมื่อเข้าสู่เช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีการเจรจาต่อรองกันอย่างมาราธอน เดิมข้อเสนอนี้แทบไม่มีการพูดถึงในวาระการประชุม แต่เริ่มได้รับความสำคัญมากขึ้นในระหว่างการประชุม เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาเดินหน้าผลักดันอย่างเต็มที่ จนกระทั่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศร่ำรวยที่ก่อมลพิษและกังวลมาโดยตลอดว่าจะต้องรับผิดชอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พันธมิตรรัฐเกาะขนาดเล็กที่ประกอบด้วยประเทศหมู่เกาะที่เสี่ยงหายไปจากแผนที่โลกเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแถลงว่า เป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่ใช้เวลาเรียกร้องนานถึง 30 ปี เนื้อหาของข้อตกลงระบุว่า กองทุนเยียวยานี้จะจัดสรรให้เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษต่อผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเนื้อหาตามที่สหภาพยุโรปหรืออียูเรียกร้อง อียูยังต้องการให้ขยายฐานประเทศที่ต้องจ่ายเงินสดสมทบกองทุน เป็นการส่งสัญญาณว่าต้องการให้ครอบคลุมจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีฐานะดีด้วย คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านจะแก้ไขประเด็นที่ยังเป็นปัญหาและนำเสนอรายงานต่อที่ประชุมคอป 28 ที่ดูไบในปีหน้า นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ที่ประชุมคอปได้เดินหน้าไปสู่ความเป็นธรรมอย่างสำคัญด้วยการตั้งกองทุนเยียวยา แต่ยังไม่สามารถผลักดันเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน แถลงการณ์ปิดการประชุมครอบคลุมเรื่องความพยายามต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพูดเรื่องพลังงานหมุนเวียนเป็นครั้งแรก พร้อมกับย้ำเรื่องที่เคยเรียกร้องให้เร่งยกเลิกการใช้พลังงานถ่านหินและการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ไม่ได้มีเป้าหมายใดไกลไปกว่าที่ประชุมคอป 26 ที่กลาสโกว์ของสกอต์แลนด์เมื่อปีก่อน.-สำนักข่าวไทย

เปิดประชุมโลกร้อน COP27 ที่อียิปต์วันนี้

ชาร์มเอลเชค 6 พ.ย.- การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ที่อียิปต์เปิดฉากแล้วในวันนี้ เพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความช่วยเหลือในการจำกัดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การประชุมมีขึ้นที่ชาร์มเอลเชค เมืองตากอากาศริมทะเลแดง จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้นำรวมอยู่ด้วย มีประเทศและดินแดนต่าง ๆ เข้าร่วมมากกว่า 190 แห่ง ที่ประชุมจะหารือเรื่องการเร่งดำเนินการตามแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีในการจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปี 2564 เห็นพ้องกันว่า ภาคีทุกแห่งจะร่วมกันหาทางทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นราว 2.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นคริสต์ศวรรษที่ 21 หรือภายในสิ้นปี พ.ศ.2643 หากภาคียังคงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นในปัจจุบัน ทั่วโลกกังวลเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เนื่องจากเกิดสภาพอากาศผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น และมีความเสียหายรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา เช่น ปากีสถานเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิฤดูร้อนปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนสิงหาคมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ และถูกตำหนิว่าเป็นเพราะชาติตะวันตกและรัสเซียเป็นอริกันจากเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน.-สำนักข่าวไทย

เลขาฯ ยูเอ็นตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ำท่วมหนักในปากีสถาน

อิสลามาบัด 10 ก.ย.- นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบอุทกภัยในปากีสถาน ปิดท้ายการเยือน 2 วันที่ต้องการให้ประชาคมโลกตระหนักถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปากีสถาน ฤดูมรสุมที่มีฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับธารน้ำแข็งตามเทือกเขาทางเหนือละลาย ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน คร่าชีวิตคนจนถึงขณะนี้แล้วไม่ต่ำกว่า 1,390 คน ขณะที่บ้านเรือน ถนน รางรถไฟ สะพาน และผลผลิตทางการเกษตรถูกกระแสน้ำท่วมซัดเสียหาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจมน้ำ รัฐบาลระบุว่า มีประชาชนเดือดร้อนเกือบ 33 ล้านคน และประเมินมูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมไว้ที่ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1 ล้านล้านบาท) รัฐบาลปากีสถานและนายกูเตอร์เรสต่างโทษว่า เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักนายกรัฐมนตรีเชห์บาซ ชารีฟของปากีสถานเผยแพร่คลิปนายกูเตอร์เรสกล่าวขณะเดินทางถึงแคว้นสินธ์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศในวันนี้ว่า เป็นเรื่องยากมากที่จะไม่รู้สึกสะเทือนใจเมื่อได้ยินเรื่องราวของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น ปากีสถานต้องการความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหญ่ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องความเมตตากรุณา แต่เป็นเรื่องของความเป็นธรรม โลกต้องตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นกับประเทศรายได้น้อย มนุษยชาติทำสงครามกับธรรมชาติมานาน ขณะนี้ธรรมชาติได้ตอบโต้กลับแล้ว แคว้นสินธ์ถูกธรรมชาติโต้กลับทั้งที่ไม่ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เร่งให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างรุนแรง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่เป็นธรรมอย่างมาก ส่วนคลิปที่รัฐมนตรีสารสนเทศปากีสถานเผยแพร่เห็นนายกูเตอร์เรสเอ่ยปากว่า เกินจะคาดคิดได้ ขณะนั่งอยู่บนเครื่องบินลำเดียวกับนายกรัฐมนตรีชารีฟ สำรวจความเสียหายเหนือพื้นที่ประสบภัย.-สำนักข่าวไทย

ฝรั่งเศสเตรียมร้อนจัดช่วงสุดสัปดาห์นี้

ปารีส 18 มิ.ย.- ฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศในยุโรปเตรียมเผชิญอากาศร้อนจัดช่วงสุดสัปดาห์นี้ที่คาดว่าอุณหภูมิอาจจะทำสถิติสูงสุด อีกทั้งยังเกิดกระแสวิตกเรื่องไฟป่าและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิในหลายพื้นที่ของฝรั่งเศสสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสแล้วเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของฝรั่งเศสแจ้งว่า อุณหภูมิใน 11 พื้นที่ทำลายสถิติเดือนมิถุนายนไปแล้วเมื่อวันศุกร์ และอาจสูงแตะ 42 องศาเซลเซียสได้ในบางพื้นที่ในวันนี้ เป็นคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจดบันทึกในปี 2490 หลายพื้นที่มีแนวโน้มจะมีอุณหภูมิสูงที่สุดของเดือนหรือสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศสเผยว่า โรงพยาบาลรับผู้ป่วยเต็มศักยภาพแล้ว และคาดว่าจะต้องรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก กระทรวงได้เปิดสายด่วนเรื่องคลื่นความร้อน และขอให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ที่เตือนภัยระดับสีแดงอยู่แต่ในบ้าน ขณะเดียวกันได้มีมาตรการดูแลบ้านพักคนชราเป็นพิเศษ หลังจากที่เคยมีคนชราเสียชีวิตมากมายจากคลื่นความร้อนปี 2546 โดยได้ติดตั้งระบบฉีดพ่นน้ำให้อาคารเย็น และให้คนชราได้หมุนเวียนกันเข้าไปอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ขณะที่อาสาสมัครสภากาชาดออกแจกจ่ายน้ำดื่มให้แก่คนไร้บ้านในเมืองตูลูส ทางตะวันตกเฉียงใต้ที่คาดว่าอุณหภูมิจะเพิ่มเป็น 38 องศาเซลเซียสในวันนี้ ส่วนที่สเปน ประชาชนประมาณ 200 คนต้องอพยพหนีไฟป่าทางตะวันตกเฉียงเหนือที่เผาพื้นที่ไปแล้วเกือบ 56,250 ไร่ เช่นเดียวกับประชาชนอีกกว่า 3,000 คนที่ต้องอพยพหนีไฟป่าทางตอนกลางของประเทศ อุณหภูมิส่วนใหญ่ของสเปนอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียสเมื่อวันศุกร์ ขณะที่หลายเมืองทางตอนเหนือของอิตาลีต้องประกาศปันส่วนน้ำ แคว้นลอมบาดีอาจต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพราะภาวะแล้งแห้งเป็นประวัติการณ์เสี่ยงเป็นอันตรายต่อการทำการเกษตร ด้านสหราชอาณาจักรเผชิญอากาศร้อนที่สุดของปีนี้เมื่อวันศุกร์ อุณหภูมิสูงเกิน 30 องศาเซลเซียสในช่วงหลังเที่ยง เดินหน้าทำสถิติต่อเนื่องมาจาก 28 องศาเมื่อวันพุธ และ […]

1 2 3 4 5 6 7
...