อินเดียติดโควิดตายเกินแสนคนแล้ว

นิวเดลี 3 ต.ค.- กระทรวงสาธารณสุขอินเดียแจ้งวันนี้ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เพิ่มเป็น 100,842 คนแล้วในวันนี้ เป็นประเทศที่สามในโลกรองจากสหรัฐและบราซิลที่ยอดตายเกิน 100,000 คน ขณะที่การแพร่ระบาดไม่มีแนวโน้มลดลง กระทรวงสาธารณสุขอินเดียแจ้งว่า ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 6.47 ล้านคน หลังจากมีผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน 79,476 คน เป็นอัตราการติดเชื้อรายวันมากที่สุดในโลก รัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีเดินหน้าเปิดประเทศเต็มที่เพราะเกรงเศรษฐกิจพังหลังจากใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โรงภาพยนตร์เริ่มให้คนเข้าชมได้ครึ่งหนึ่งของความจุในสัปดาห์นี้ โรงเรียนจะเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งในกลางเดือนนี้ นักชีวสถิติและโรคระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยมิชิแกนในสหรัฐเตือนว่า ฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงและเทศกาลประจำปี เช่น ดิวาลีหรือเทศกาลแห่งแสงสว่างในวันที่ 14 พฤศจิกายนอาจทำให้อินเดียซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลกมีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีก ประชากรอินเดีย 1,300 ล้านคนติดเชื้อเกินร้อยละ 7 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังห่างไกลจากการเกิดภูมิต้านทานหมู่ ยอดผู้ป่วยสะสมในอินเดียอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 12.2 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้ อัตราการแพร่เชื้อจะช้าหรือเร็วขึ้นกับการใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การรักษาระยะห่างทางสังคม สหรัฐ บราซิลและอินเดียมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 เสียชีวิตรวมกันเกือบร้อยละ 45 ของทั้งโลก อัตราการเสียชีวิตในอินเดียไม่ถึง 1 คนต่อประชากรทุก 100,000 […]

รู้ก่อนรักษาก่อน…วัณโรครักษาได้ คนไทยเป็นกันเยอะ

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวสุดเศร้าของวงการบันเทิง “โรเบิร์ต สายควัน” เสียชีวิตหลังจากเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ญาติแถลงอาการว่า ไม่พบเชื้อมะเร็งแล้ว แต่พบเชื้อวัณโรคปอดกำลังรับการรักษา ตอนนี้ร่างกายอ่อนแอมาก เหลือปอดเพียงข้างเดียว19 ก.ย.63 “โรเบิร์ต สายควัน” เสียชีวิตในวัย 54 ปีการรักษาผู้ป่วยวัณโรคใช้สูตรการรักษาระยะสั้นมาตรฐาน 6 เดือน หากผู้ป่วยที่รับการรักษาจนครบกำหนดและเชื้อไม่ดื้อยาจะมีโอกาสหายขาดได้มากกว่าร้อยละ 95

แพทย์แนะ “วัณโรค” รู้ทันป้องกันได้

กรมการแพทย์ 20 ก.ย.-สถาบันโรคทรวงอก เตือนวัณโรคสามารถแพร่กระจาย จากการไอ จาม ถ่มน้ำลาย และขากเสมหะ ผู้ป่วยควรป้องกันด้วยการนำไฟฝังหรือเผา ไม่ควรนอนร่วมกับผู้อื่น ควรปิดปากและจมูก ทุกครั้งเวลาไอหรือจาม นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เปิดเผยว่า วัณโรคคือโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถแพร่กระจาย จากการไอ จาม ถ่มน้ำลาย และขากเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคปอดสู่ผู้อื่น จึงทำให้ติดเชื้อวัณโรคจากการหายใจและรับเชื้อที่ล่องลอยในอากาศเข้าสู่ปอด วัณโรคพบได้ทุกส่วนของอวัยวะทั่วร่างกายเช่น วัณโรคกระดูก วัณโรคลำไส้ วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง แต่ที่พบมากที่สุด คือ วัณโรคปอด ผู้ป่วยวัณโรคปอดจะมีอาการไข้ต่ำๆ ในเวลาบ่ายหรือเย็น ไอแห้งๆ และเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ผิวหนังซีด เหลือง และเหงื่อออกตอนกลางคืน ปัจจุบันสามารถวินิจฉัยโรคได้จากการเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะผู้ป่วยด้วยการส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรค โดยไม่ควรนอนร่วมกับผู้อื่น ควรปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม แยกและทำลายขยะที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย ด้วยการนำไปฝังหรือเผา แยกเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และภาชนะใส่อาหาร ควรฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เช่น ลวก ต้ม และตากแดดจัด นพ.เอนก […]

ครม.อนุมัติขยายเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนให้กองทุนโลกเพื่อต่อสู้โรคเอดส์

ครม.อนุมัติ ขยายเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนโลกเพื่อการต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย

วัณโรครักษาหาย ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ให้พบแพทย์

แพทย์เตือนไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เสี่ยงติดเชื้อวัณโรคควรรีบพบแพทย์รักษา ซึ่งหายได้ หากพบตั้งแต่ระยะแรก

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะกำจัดวัณโรคให้หมดไปในปี 2588

ทีมผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศแถลงว่า ทั่วโลกจะสามารถกำจัดวัณโรคให้หมดไปได้ภายในปี 2588 หากได้รับทุนสนับสนุนอย่างเหมาะสมในการกำจัดโรคดังกล่าว

สธ.-ศธ. MOU ยุติวัณโรคในประเทศไทย

สธ.-ศธ.ลงนามยุติวัณโรค-วัณโรคดื้อยา ทำฐานข้อมูลผู้ป่วย ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศวัณโรคระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาเครือข่ายบริการในรพ.วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษาวัณโรค

สธ. เร่งค้นหา7กลุ่มเสี่ยงวัณโรค ให้รับการรักษา

สธ. เร่งค้นหา 7 กลุ่มเสี่ยงวัณโรค ให้รับการรักษา ย้ำเป็นแล้วรักษาหายได้ถึงร้อยละ 70 แต่หากปล่อยไว้นานดื้อยา เสี่ยงรุนแรง

ล้าง รร.ดัง หลังพบเด็กป่วยวัณโรค 5 คน

รร.วัดสุทธิฯร่วมกันล้างทำความสะอาด หลังพบเด็กป่วยวัณโรค 5 คน ด้านสาธารณสุขควบคุมโรคได้หมดแล้ว ไม่น่ากังวล เรื่องการแพร่เชื้อ รอผลสอบสวนโรคที่ชัดเจนว่าติดจากอะไร

1 2 3
...