ออสเตรเลียจะให้เรือสำราญเข้าประเทศได้ในรอบ 2 ปี

ซิดนีย์ 15 มี.ค.- ออสเตรเลียจะอนุญาตให้เรือสำราญสากลเข้าน่านน้ำได้ตั้งแต่เดือนเมษายน หลังจากสั่งห้ามมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน ตามมาตรการห้ามการเดินทางเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ออสเตรเลียห้ามเรือสำราญเข้าประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เนื่องจากเป็นต้นตอยอดติดเชื้อในช่วงแรก ๆ ราว 1 ใน 5 จากการที่ทางการอนุญาตให้ผู้โดยสารมีอาการลงจากเรือที่นครซิดนีย์ แล้วตรวจพบผลบวกในภายหลัง รัฐบาลกลางออสเตรเลียแถลงวันนี้ว่า จะไม่ต่ออายุคำสั่งห้ามที่จะสิ้นสุดในวันที่ 17 เมษายน ตามที่ได้เริ่มใช้นโยบายมีชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัส และเมื่อเดือนที่แล้วได้เปิดท่าอากาศยานรับผู้เดินทางระหว่างประเทศทุกคนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ทั้งนี้ก่อนเกิดโควิด ออสเตรเลียมีผู้โดยสารเรือสำราญแวะเทียบท่ามากกว่า 600,000 คน จากเรือเกือบ 350 ลำในปี 2562 นับเป็นแหล่งรายได้หลักของภาคการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ 60,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 1.44 ล้านล้านบาท) ออสเตรเลียผ่อนคลายมาตรการจำกัด แม้ว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเตือนให้ทางการนำมาตรการจำกัดกลับมาใช้อีกครั้ง เพราะเชื้อไวรัสโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่แพร่ได้ง่ายอาจทำให้ยอดผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 4-6 สัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันของออสเตรเลียกล่าวเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า ออสเตรเลียพร้อมใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสโคโรนา.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์: Forbes ยืนยันวัคซีน mRNA เปลี่ยนแปลง DNA ผู้รับวัคซีน จริงหรือ?

เนื้อหาบทความกล่าวถึง V(D)J recombination กระบวนการสร้างแอนติบอดีในระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นขั้นตอนที่วัคซีนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

เตือนออสเตรเลียเร่งฉีดเข็ม 3 รับมือโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย

ซิดนีย์ 14 มี.ค.- เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียเตือนว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข็มกระตุ้นที่ล่าช้า อาจทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ เนื่องจากเชื้อไวรัสโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 สามารถแพร่กระจายได้ง่ายมาก ออสเตรเลียมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลมากเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่เชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนระบาดในช่วงต้น สถานการณ์เริ่มทรงตัวในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐต่าง ๆ ผ่อนคลายมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม บังคับสวมหน้ากากอนามัยเฉพาะในที่ร่ม และให้คนกลับมาทำงานที่สำนักงาน แต่นายแบรด แฮซซาร์ด รัฐมนตรีสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์เตือนระหว่างให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เอบีซี (ABC) ในวันนี้ว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายวันอาจเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 4-6 สัปดาห์ข้างหน้า เพราะโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยมีแนวโน้มจะกลายเป็นสายพันธุ์หลัก ทำให้คนต้องเข้าโรงพยาบาลมากขึ้นและเสียชีวิตมากขึ้น เขายอมรับว่า ความไม่ชัดเจนก่อปัญหาใหญ่ให้แก่ผู้ที่ต้องการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น รัฐนิวเซาท์เวลส์ที่มีประชากร 8 ล้านคน มีผู้เข้าเกณฑ์รับวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่า 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการฉีดเข็มดังกล่าว ข้อมูลของทางการออสเตรเลียเผยว่า รัฐนิวเซาท์เวลส์มีคนอายุ 16 ปีขึ้นไปได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 57 น้อยกว่าอัตราเฉลี่ยทั้งประเทศที่ร้อยละ 65 ทั้งที่รัฐนี้มีประชากรมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ องค์การอนามัยเผยเมื่อเดือนก่อนโดยอ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นว่า โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ช่องว่างในหน้ากากไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ จริงหรือ?

แม้ช่องว่างในเส้นใยบนหน้ากากจะใหญ่กว่าขนาดของไวรัส แต่ไวรัสแพร่กระจายผ่านละอองเสมหะซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างบนหน้ากาก

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กเสี่ยงเข้าโรงพยาบาลเพราะวัคซีนมากกว่าโควิด จริงหรือ?

VAERS พบว่าเด็กอเมริกันเข้าโรงพยาบาลหลังฉีดวัคซีน Pfizer 1,000 คนจาก 14.5 ล้านคนที่รับวัคซีนเข็มที่ 1 และ 12 ล้านคนที่รับวัคซีนเข็มที่ 2

ผู้นำฮ่องกงวางแผนเปิดเมืองหลังคุมโควิดระลอกล่าสุดได้

ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาเหมาะสมในการยกเลิกมาตรการห้ามเที่ยวบินจาก 9 ประเทศรวมถึงสหรัฐและอังกฤษมาลงจอดที่ฮ่องกง ชี้แผนเปิดประเทศจะต้องเป็นช่วงเวลาหลังควบคุมการระบาดของโควิด -19 รอบล่าสุดที่รุนแรงได้

ชัวร์ก่อนแชร์: พบทารกที่แม่ฉีดวัคซีนเสียชีวิตหลังคลอด 13 รายใน 1 วัน จริงหรือ?

Vancouver Coastal Health ยืนยันว่าการเสียชีวิตหลังคลอดไม่ได้เพิ่มอย่างผิดปกติในโรงพยาบาลที่บริษัทดูแล

ชัวร์ก่อนแชร์: เชื้อโรคกลายพันธุ์ ความรุนแรงลดลงเสมอ จริงหรือ?

ข้อมูลด้านชีววิทยาวิวัฒนาการสมัยใหม่ยืนยันว่าเชื้อโรคสามารถกลายพันธุ์ให้มีความรุนแรงน้อยลงหรือมากขึ้นก็ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัส Omicron แค่ไข้หวัดธรรมดาที่เปลี่ยนชื่อใหม่ จริงหรือ?

แม้อาการของผู้ติดเชื้อไวรัส Omicron จะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไวรัส Omicron แตกต่างจากไวรัสไข้หวัดหรือโคโรนาไวรัสชนิดไม่รุนแรง

1 23 24 25 26 27 143
...