“เศรษฐา” หารือบริษัท New World Development
นายกฯ หารือบริษัท New World Development มุ่งขยายโอกาสทางธุรกิจ พร้อมสนับสนุนไทยจัดงานเทศกาลด้านศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาให้งานศิลปะในภูมิภาค
นายกฯ หารือบริษัท New World Development มุ่งขยายโอกาสทางธุรกิจ พร้อมสนับสนุนไทยจัดงานเทศกาลด้านศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาให้งานศิลปะในภูมิภาค
“มาริษ” พบ ผู้แทนพิเศษของ รมว.กระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศ หารือเพิ่มพูนความร่วมมือไทย – ฝรั่งเศส ยินดีภาคเอกชนฝรั่งเศสสนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน และพลังงานสะอาด ย้ำความพร้อมในการจัดงาน Business Forum ที่ไทยในปีนี้
ปักกิ่ง 26 มิ.ย.- จีนเปิดเผย 10 กลโกงทางโทรคมนาคมและโลกไซเบอร์ที่แพร่หลายมากที่สุดในประเทศ และพบว่าเหยื่อที่ถูกฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและไซเบอร์ในปี 2566 มีอายุเฉลี่ยที่ 37 ปี สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีนว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมเปิดตัวโครงการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เรื่องการฉ้อโกงทั่วประเทศเมื่อ 1 เดือนก่อน และพบว่า เหยื่อที่ถูกฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและไซเบอร์เมื่อปีก่อนมีอายุเฉลี่ย 37 ปี โดยเหยื่อร้อยละ 62.1 มีอายุ 18-40 ปี และเหยื่อร้อยละ 33.1 มีอายุ 41-65 ปี คดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและไซเบอร์เกือบร้อยละ 88.4 ที่มีรายงานทั่วประเทศนั้น เกี่ยวข้องกับกลโกง 10 ประเภท อาทิ การหลอกให้ลงทุน การแอบอ้างเป็นหน่วยงานโลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซ และบริการซ่อมแซมเครดิตปลอม ขบวนการบรัชชิง สแกม (Brushing scam) และคลิกฟาร์ม (Click farm) เป็นกลโกงอับดับต้น โดยมักล่อลวงนักเรียนนักศึกษาและกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ ให้เชื่อว่าจะสามารถหาเงินได้ง่ายจากการทำงานออนไลน์ ก่อนจะชักจูงจนเรียกเก็บเงินจากเหยื่อได้ในภายหลัง เหยื่อรายหนึ่งของกลโกงนี้ในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีนสูญเสียเงินมากกว่า 420,000 หยวน (ราว […]
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยสถิตินักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย รอบ 4 เดือน ปี 2567 (ม.ค.-เม.ย.) พุ่งสูง อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทย 253 ราย เงินลงทุนสะพัดกว่า 54,958 ล้านบาท ญี่ปุ่นครองอันดับ 1
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำนักธุรกิจไทยร่วมงาน Thailand-France Business Forum พร้อมขึ้นกล่าวปาฐกถา ชวนนักธุรกิจฝรั่งเศสลงทุนในไทยให้มากขึ้น
รัฐบาลเร่งรัดลงทุน “ NOW Thailand” สร้างการรับรู้ หวังให้ไทยเป็นจุดหมายการลงทุนระดับโลก
ไมโครซอฟท์ กล่าววันนี้ว่า จะลงทุนเป็นเงิน 2,200 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 ปีข้างหน้าในมาเลเซียเพื่อขยายบริการคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ซึ่งเป็นก้าวล่าสุดของบริษัทในการส่งเสริมเทคโนโลยีเจเนอเรทีฟ เอไอ (Generative AI) ในเอเชีย
TIA ย้ำเตือนผู้เสียหายลงทุนในหุ้น STARK ลงทะเบียน- รักษาสิทธิ เพื่อรับความช่วยเหลือ ภายใน 30 เม.ย.2567
วอชิงตัน 9 เม.ย.- เชฟรอน บริษัทพลังงานใหญ่ของสหรัฐแจ้งว่า ได้ถอนการลงทุนในโครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา (Yadana) ในเมียนมาแล้ว หลังจากประณามการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและประกาศจะถอนตัวจากเมียนมาเมื่อกว่า 2 ปีก่อน โฆษกของเชฟรอนแถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เชฟรอนไม่ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ร้อยละ 41.1 ในโครงการนี้ แต่ได้โอนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ของไทย และวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (MOGE) การถอนการลงทุนเป็นไปตามที่บริษัทมีความตั้งใจจะถอนตัวออกจากเมียนมาอย่างมีการกำกับดูแลและเป็นระเบียบ หลังจากเมียนมาเกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ เชฟรอนเคยแถลงเมื่อเดือนมกราคม 2565 ว่า จะถอนตัวออกจากเมียนมา ต่อมาประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า ตกลงจะขายสินทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในเมียนมา รวมถึงหุ้นที่ถืออยู่ในโครงการยาดานา เชฟรอนและโททาลเอเนอร์ยีส์ บริษัทพลังงานของฝรั่งเศสเคยสั่งระงับการชำระเงินจากโครงการนี้ในปี 2564 เพราะเงินจะไปถึงมือรัฐบาลทหารเมียนมา เรียกเสียงชื่นชมจากกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา จากนั้นโททาลได้ถอนตัวออกจากเมียนมาในปี 2565 โครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ ผลิตก๊าซได้ประมาณ 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 ส่งออกมาไทย และอีกร้อยละ 30 เป็นของ MOGE […]
จ้าว เล่อจี้ ประธานคณะกรรมการถาวรประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน หรือ เอ็นพีซี เผยวันนี้ว่า การลงทุนในจีนถือเป็นการลงทุนในอนาคต เนื่องจากตลาดขนาดใหญ่พิเศษของจีนจะยังคงปลดปล่อยศักยภาพที่ดีเยี่ยมต่อไป
กรุงเทพฯ 13 มี.ค.- นางจีนา เรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐเผยขณะเยือนไทยว่า ไทยเป็นจุดหมายสำคัญอันดับแรกของบริษัทข้ามชาติสหรัฐที่ต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทาน และบริษัทเหล่านี้พร้อมจะเพิ่มการลงทุนในไทย นางเรมอนโดกล่าวในวันนี้ว่า ในขณะที่บริษัทข้ามชาติสหรัฐมองหาลู่ทางสร้างความหลากหลายให้แก่ห่วงโซ่อุปทาน ไทยได้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศแรกสุดในรายชื่อเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคยานยนต์ เซมิคอนดักเตอร์หรือชิป และดิจิทัล ปัจจุบันการผลิตชิปนอกจากไม่เพียงพอแล้ว แต่ยังกระจุกตัวอย่างเป็นอันตรายใน 1-2 ประเทศของโลกเท่านั้น นางเรมอนโดยังได้กล่าวถึงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกหรือไอพีอีเอฟ (IPEF) ว่า มีความก้าวหน้าอย่างมาก เพราะมีการบรรลุข้อตกลงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน การลดการปล่อยคาร์บอน โครงสร้างพื้นฐาน และธรรมาภิบาล ไทยและสมาชิกในอินโด-แปซิฟิกจะได้ประโยชน์จากไอพีอีเอฟ และจะได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับการลงทุนด้านชิป ส่วนในเยือนฟิลิปปินส์เมื่อวันจันทร์ รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐกล่าวว่า บริษัทอเมริกันเตรียมประกาศการลงทุนในฟิลิปปินส์มูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 35,700 ล้านบาท) ครอบคลุมด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ยานยนต์ไฟฟ้า และการแปลงข้อมูลจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล (digitisation) ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐริเริ่มไอพีอีเอฟขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2565 ปัจจุบันมีสมาชิก 14 ประเทศประกอบด้วยสหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย ฟิจิ นิวซีแลนด์ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย […]
“นลินี” ผู้แทนการค้าไทย พบทูตโมซัมบิก ชูเป็นตลาดที่มีศักยภาพ พร้อมรับการลงทุนจากไทยในอุตสาหกรรมการแปรรูปแร่ธาตุ สินค้าเกษตร พลังงานสะอาด ท่องเที่ยว อัญมณีและเครื่องประดับรวมถึงการตั้งศูนย์กระจายสินค้า