fbpx

แนะลดต้นทุน-เพิ่มประสิทธิภาพแก้ปัญหาเกษตรยั่งยืน

ธปท.ชี้การอุดหนุนราคาไม่สามารถแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำได้ ควรเพิ่มประสิทธิภาพ เทคโนโลยี และลดต้นทุน

ธ.ก.ส ระบุ ราคาสินค้าเกษตรปีนี้ขยับตัวสูงขึ้น

กรุงเทพฯ 2 ม.ค.- ศูนย์วิจัยและพัฒนา ธ.ก.ส. เผยสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นจากอานิสงค์นโยบายกระตุ้นของภาครัฐ  นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.คาดการณ์สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตร มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต้อนรับปีใหม่ 2561 ซึ่งเป็นผลจากอานิสงค์นโยบาย ของภาครัฐ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้ง ส่วนสินค้าที่มีแนวโน้มราคาลดต่ำลง น้ำตาลทรายดิบ  ทั้งนี้ ข้าวเปลือกราคาปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากยังมีความต้องการของตลาดต่างประเทศและมาตรการโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2560/61 ที่ช่วยชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด และมาตรการภาครัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตลาดข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเหนียว เพื่อช่วยสนับสนุนราคาให้สูงขึ้น  ข้าวเปลือกที่ราคาปรับดีขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า 5% คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.52-4.87 อยู่ที่ราคา 8,440-8,719 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.30-3.85 อยู่ที่ราคา 12,470-12,658 บาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.20-4.32 […]

พาณิชย์เตรียมมาตรการผลักดันราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

นนทบุรี 25 เม.ย. – อธิบดีกรมการค้าภายในเตรียมแผนรับมือปริมาณ-ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยอมรับสินค้าเกษตรปีนี้อาจมีปัญหาบ้าง พร้อมกำหนดมาตรการรองรับผลักดันราคาให้สูงขึ้น นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรใกล้ชิด โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณ 4.61 ล้านตันต่อปี ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นมาทดแทน เช่น ข้าวสาลี และกากข้าวโพดจากการผลิตเอทานอล (DDGS) เพื่อให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีวัตถุดิบเพียงพอในราคาต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบครึ่งหนึ่งปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ ผู้ผลิตอาหารสัตว์หลายรายไม่รับซื้อ เนื่องจากจะเป็นปัญหาในการส่งออกปศุสัตว์ เพราะประเทศผู้ซื้อกำหนด เรื่อง การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นข้อแม้ในการซื้อด้วย กระทรวงพาณิชย์จึงเสนอแนวทางบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยใช้มาตรการกำหนดอัตราส่วนการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนต่อการรับซื้อข้าวโพด 3 ส่วน มีผลตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2560  ทั้งนี้ การที่มีผู้เสนอให้ระงับการนำเข้าข้าวสาลีนั้น  ไม่อาจดำเนินการได้ เนื่องจากจะขัดกับพันธกรณีของไทยภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จึงต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรจะจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางในรูปฝัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถแปรรูปและปรับปรุงคุณภาพหรือขนส่งไปถึงโรงงาน ซึ่งอาจอยู่ห่างไกล จึงต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพจากพ่อค้าคนกลางก่อนส่งให้โรงงานอาหารสัตว์ กรมการค้าภายในจึงเชื่อมโยงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร โดยขอความร่วมมือสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ […]

พาณิชย์ติดตามสินค้าเกษตรช่วงหน้าแล้งใกล้ชิด

รมช.พาณิชย์กำชับกรมการค้าภายในติดตามรายงานสินค้าเกษตรช่วงหน้าแล้งอย่างใกล้ชิด ขณะที่สินค้าโดยรวมผู้ประกอบการยังไม่ปรับขึ้นราคา

1 2 3
...