ยานรัสเซียตกกระแทกดวงจันทร์

ยานสำรวจดวงจันทร์ ลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียตกกระแทกพื้นผิวดวงจันทร์ ไม่นานหลังเผชิญเหตุขัดข้องทางเทคนิค ทำให้ความพยายามของรัสเซียในการสำรวจดวงจันทร์ครั้งที่ 2 ในรอบกว่า 50 ปี ล้มเหลว

ยานสำรวจรัสเซียจะเข้าวงโคจรดวงจันทร์วันนี้

มอสโก 16 ส.ค.- ยานสำรวจลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียจะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ในวันนี้ ตามตารางขององค์การอวกาศรัสเซียหรือ รอสคอสมอส (Roscosmos) ยานลูนา-25 หนักประมาณ 800 กิโลกรัมทะยานขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดโซยุซเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมจากศูนย์วอสตอชนี คอสโมโดรม (Vostochny Cosmodrome) ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของรัสเซียครั้งแรกนับจากปี 2519 ยานจะโคจรอยู่เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ 100 กิโลเมตร แล้วจะลงจอดในวันจันทร์หน้าในจุดที่อยู่ทางเหนือของหลุมอุกกาบาตโบกุสลัฟสกี (Boguslawsky crater) บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยจะปฏิบัติภารกิจอยู่บนดวงจันทร์นาน 1 ปี ด้วยการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ดินบนดวงจันทร์ รอสคอสมอสแจ้งว่า กล้องที่ติดตั้งบนยานลูนา-25 ได้ถ่ายภาพระยะไกลของโลกและดวงจันทร์ขณะยานเดินทางอยู่ในอวกาศ รัสเซียเผยว่า จะเดินหน้าแผนการสำรวจดวงจันทร์ของตนเอง แม้ว่าองค์การอวกาศยุโรปประกาศว่า จะไม่ร่วมมือกับรัสเซียเรื่องภารกิจอวกาศในอนาคต เพราะรัสเซียทำสงครามในยูเครน.-สำนักข่าวไทย

จีนเล็งสร้าง “ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์” แบบมีคนขับคันแรก

ปักกิ่ง, 29 พ.ค. (ซินหัว) — วันจันทร์ (29 พ.ค.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน ประกาศการเปิดรับข้อเสนอเกี่ยวกับยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยนักบินอวกาศ 2 คน ที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเยือนดวงจันทร์ภายในปี 2030 การออกแบบภารกิจปัจจุบันบ่งชี้ว่ายานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมจะมีหลายหน้าที่ เช่น การขับเคลื่อนแบบมีมนุษย์ควบคุม การเคลื่อนที่บนพื้นผิวดวงจันทร์ การสนับสนุนด้านการระบุตำแหน่ง รวมถึงความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยทีมนักบินอวกาศด้านการเคลื่อนไหว การสื่อสาร การสำรวจ และอื่นๆ องค์การฯ เปิดรับข้อเสนอจากสาธารณชนและจะคัดเลือกทีมที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาต้นแบบยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ เพื่อรวบรวมทรัพยากรคุณภาพสูงจากภาคสังคม สำรวจวิธีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสม และปรับปรุงประสิทธิภาพของยานดังกล่าว อนึ่ง ข้อเสนอควรครอบคลุมการสาธิตตามข้อกำหนดของพันธกิจ การออกแบบแผนการโดยรวม เทคโนโลยีหลักที่สำคัญ การออกแบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ กระบวนการพัฒนา การรับประกันคุณภาพและกำหนดการ รูปแบบธุรกิจ ตลอดจนการยื่นขอเงินทุน-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230529/df2086f044354b6b9c8d4137b4008356/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360873_20230529ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนวางแผนส่งจรวดสู่อวกาศกว่า 60 ครั้ง ในปี 2023

ปักกิ่ง, 12 ม.ค. (ซินหัว) — จีนวางแผนปล่อยจรวดขึ้นสู่ห้วงอวกาศกว่า 60 ครั้งในปี 2023 โดยคาดการณ์ว่าบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งประเทศจีน (CASC) จะปล่อยจรวดมากกว่า 50 ครั้ง และบริษัทอวกาศจีนแห่งอื่นจะปล่อยจรวดมากกว่า 10 ครั้ง ในจำนวนนี้ จรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ (Long March-2F) และลองมาร์ช-7 (Long march-7) จะปฏิบัติภารกิจสำหรับปฏิบัติการของสถานีอวกาศจีน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการตามปกติและเข้าสู่ขั้นแรกของการประยุกต์ใช้และพัฒนาแล้ว มีการคาดว่าจรวดขนส่งลองมาร์ช-6 (Long March-6) รุ่นปรับปรุง จะขึ้นบินเที่ยวแรกในปี 2023 โดยจรวดซึ่งขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเหลวที่ทำจากออกซิเจนเหลวและเคโรซีนนี้ ถือเป็นจรวดขนส่งรุ่นแรกของจีนที่ใช้เชื้อเพลิงที่ไม่เป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ พีอาร์-1 (PR-1) เป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็งขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน และส่งดาวเทียมจำนวน 6 ดวงขึ้นสู่วงโคจรที่กำหนดสำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่วนจรวดพีอาร์-2 (PR-2) คาดว่าจะถูกปล่อยสู่อวกาศช่วงครึ่งแรกของปี 2023 จีนจะเดินหน้าส่งเสริมโครงการสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ต่อไป รวมถึงดำเนินการพัฒนายานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-7 (Chang’e-7) ยานสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-2 (Tianwen-2) และยานสำรวจรุ่นอื่นๆ ในปี 2023 อนึ่ง วันที่ 3 […]

ยาน “DART” ของนาซา พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยสำเร็จ

วอชิงตัน 27 ก.ย. – ยานสำรวจชื่อ ‘ดาร์ต’ (Double Asteroid Redirection Test-DART) ขององค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ได้พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย ‘ไดมอร์ฟอส’ (Dimorphos) ด้วยความเร็ว 22,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาในสหรัฐ ถือเป็นการจบภารกิจทดสอบการรับมืออุกกาบาตนอกโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก นาซาเผยว่า ยานสำรวจดาร์ตได้พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสด้วยความเร็ว 22,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยที่จุดเกิดเหตุพุ่งชนเกิดขึ้นในห้วงอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกราว 9.6 ล้านกิโลเมตร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์หลายรายคาดว่าแรงปะทะดังกล่าวจะทำให้ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสเปลี่ยนวงโคจนได้ แต่จะต้องใช้เวลาติดตามอีกหลายวันหรือสัปดาห์กว่าที่จะทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวเปลี่ยนวงโคจรได้มากหรือน้อยเพียงใด ในขณะเดียวกัน นายบิล เนลสัน ผู้อำนวยการของนาซา ได้ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่พล็อตหนังอย่างที่เคยดูกัน เช่น อาร์มาเก็ดดอน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อไทยว่า วันโลกาวินาศ ออกฉายปี 2541 เนื่องจากเดิมพันที่ใช้ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมูลค่าสูงยิ่ง ทั้งนี้ ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 160 เมตร อยู่ห่างจากโลกราว 9.6 ล้านกิโลเมตร และเป็นบริวารของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่อีกดวงที่มีชื่อว่า ‘ดิดีมอส’ (Didymos) ดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงได้โคจรรอบดวงอาทิตย์มาเป็นเวลาช้านานโดยไม่เป็นภัยต่อโลก ทำให้นาซาตัดสินใจเลือกดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวมาใช้ทดสอบการพุ่งชนเพื่อเปลี่ยนวงโคจรไม่ให้พุ่งชนโลกในอนาคต.-สำนักข่าวไทย

นาซาเผยภาพวินาทียาน “เพอร์เซเวียแรนซ์” ลงจอดบนดาวอังคาร

นาซาเผยแพร่คลิปวิดีโอช่วงเวลาที่ยานสำรวจ “เพอร์เซเวียแรนซ์” ลงจอดบริเวณแอ่งหลุมอุกกาบาต “เยเซโร” บนดาวอังคาร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนจะเริ่มภารกิจค้นหาสิ่งมีชีวิต

ยูเออีส่งยานสำรวจดาวอังคาร

ในที่สุดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ก็ประสบความสำเร็จในการส่งยานขึ้นไปสำรวจดาวอังคาร หลังจากที่ต้องเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้งเนื่องจากสภาพอากาศไม่ดี

นาซาเลื่อนปล่อยยานมุ่งตรงไปสำรวจดวงอาทิตย์

นาซาเลื่อนส่งยานสำรวจมุ่งตรงไปดวงอาทิตย์ครั้งแรกของโลกเป็นพรุ่งนี้ จากเดิมกำหนดปล่อยวันนี้เพื่อไขปริศนาความลับของโคโรนา ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์

นาซาส่งจรวดพร้อมยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยขึ้นสู่อวกาศแล้ว

จรวดแอตลาส 5 ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าจากฐานส่งจรวดในรัฐฟลอริดาของสหรัฐ นำยานสำรวจของนาซาไปเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อย

1 2
...