Indian police detain Samsung workers for planning protest march

อินเดียคุมตัวคนงานกว่าร้อยที่เตรียมประท้วงซัมซุง

เจนไน 16 ก.ย.- ตำรวจอินเดียควบคุมตัวคนงาน 104 คนที่กำลังประท้วงเรื่องค่าจ้างแรงงานต่ำที่โรงงานของซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเตรียมจัดการเดินขบวนประท้วงในวันนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตำรวจอินเดียแถลงว่า คนงานเตรียมเดินขบวนประท้วงในวันนี้ แต่ถูกควบคุมตัวเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินขบวน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงเรียน วิทยาลัย และโรงพยาบาลหลายแห่ง การควบคุมตัวคนงานทำให้การผละงานประท้วงทวีความตึงเครียด เป็นการประท้วงที่โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของซัมซุงใกล้เมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ทางใต้ของอินเดีย คนงานต้องการให้ขึ้นค่าจ้าง และได้ผละงานเป็นเวลา 7 วัน กระทบต่อการผลิตที่ครองสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของรายได้ต่อปีในอินเดียที่ซัมซุงทำได้ปีละ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 398,500 ล้านบาท) การประท้วงยังส่งผลกระทบต่อนโยบายของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดียที่ต้องการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในโครงการ “ผลิตในอินเดีย” (Make in India) และเพิ่มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3 เท่าเป็น 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.6 ล้านล้านบาท) ใน 6 ปี.-814.-สำนักข่าวไทย  

fiery anti-war protests in Melbourne

ออสเตรเลียประท้วงเดือดต่อต้านสงคราม

กลุ่มต่อต้านสงครามปะทะกับตำรวจ ระหว่างประท้วงหน้าสถานที่จัดนิทรรศการด้านกลาโหมในออสเตรเลีย มีทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ถูกจับกุม

เกาหลีใต้พร้อมทบทวนแผนการรับนักศึกษาแพทย์

ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้กล่าววันนี้ว่า ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล พร้อมที่จะทบทวนปรับแผนการเพิ่มโควตาจำนวนนักศึกษาแพทย์สำหรับปี 2026 และยินดีหากมีการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจา

อิสราเอลประท้วงแห่งโลงศพจากเหตุสังหารตัวประกัน

นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ถูกกดดันอย่างหนัก จากประชาชนที่โกรธแค้นกรณีตัวประกันชาวอิสราเอล 6 คนถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดในฉนวนกาซา รวมตัวประท้วงด้วยการแห่โลงศพไปยังบ้านพักของเขา

ประท้วงใหญ่ในนิวยอร์กเหตุสังหารตัวประกันในกาซา 

นิวยอร์ก 2 ก.ย.- ผู้ประท้วงหลายพันคนได้ชุมนุมกันที่สวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์กในนครนิวยอร์กของสหรัฐ เพื่อไว้อาลัยให้แก่ตัวประกัน 6 คนที่ถูกสังหารในกาซา และเรียกร้องให้ปล่อยตัวประกันที่เหลืออยู่   การประท้วงเมื่อค่ำวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นเกิดขึ้นจากความโกรธแค้น หลังจากอิสราเอลพบร่างตัวประกัน 6 คนถูกสังหารในฉนวนกาซา แกนนำผู้ประท้วง ซึ่งรวมถึงบิดาของตัวประกันชายชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอลที่เป็น 1 ใน 6 คนที่ถูกสังหาร ได้เรียกร้องให้ทั้งนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลและประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐเร่งหาทางทำให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส และปล่อยตัวประกันที่เหลือทั้งหมด หลังจากที่ผ่านมามีการตั้งเงื่อนไขจนไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้สงครามยืดเยื้อสร้างความบอบช้ำและสูญเสียอย่างหนัก เหตุการสังหารตัวประกัน 6 คน ที่กองทัพอิสราเอลพบศพในอุโมงค์ในกาซายังทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในอิสราเอลเมื่อวันอาทิตย์เช่นกัน ผู้ประท้วงประณามรัฐบาลที่ล้มเหลวในการช่วยเหลือตัวประกัน.-812(814).-สำนักข่าวไทย

ประท้วงใหญ่ทั่วอิสราเอล หลัง 6 ตัวประกันถูกสังหาร

เยรูซาเลม 2 ก.ย.- เกิดเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มผู้ประท้วงที่รวมตัวชุมนุมและปิดถนนในหลายเมืองของอิสราเอล หลังจากตัวประกัน 6 คนในฉนวนกาซาถูกสังหาร ผู้ประท้วงไม่พอใจรัฐบาลอิสราเอลที่ล้มเหลวในการทำข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มฮามาส เพื่อแลกกับการปล่อยตัวประกัน พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ยังเหลืออยู่ 101 คน ทางการอิสราเอลประเมินว่า 1 ใน 3 ของตัวประกันเหล่านี้เสียชีวิตแล้ว การชุมนุมเมื่อคืนที่ผ่านมามีขึ้นทั้งในกรุงเทลอาวีฟ  นครเยรูซาเลม และอีกหลายเมือง สื่อในอิสราเอลประเมินว่า มีคนเข้าร่วมการชุมนุมมากถึง 5 แสนคน และมีผู้ประท้วงถูกจับกุมราว 29 คนจากการชุมนุมทั่วประเทศ ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์เห็นตำรวจใช้น้ำแรงดันสูงฉีดใส่กลุ่มผู้ประท้วงที่ปิดถนน ขณะที่แกนนำแรงงานเรียกร้องให้คนนัดหยุดงานทั่วประเทศในวันนี้ การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพอิสราเอลแถลงในเช้าวันเดียวกันว่า พบศพตัวประกัน 6 คนในอุโมงค์แห่งหนึ่งในเมืองราฟาห์ ทางตอนใต้ของกาซา โฆษกกระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลแถลงว่า ผลการชันสูตรพลิกศพชี้ว่า พวกเขาถูกฮามาสสังหารด้วยการยิงในระยะเผาขนในช่วง 48-72 ชั่วโมงก่อนทหารอิสราเอลพบศพ.-816(814).-สำนักข่าวไทย

แพทย์อินเดียผละงานประท้วง 24 ชั่วโมง ต่อต้านกรณีข่มขืน-ฆ่าหมอ

แพทย์อินเดียเริ่มการหยุดงานของแผนกที่ไม่ฉุกเฉินทั่วประเทศเป็นเวลา 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อประท้วงการล่วงละเมิดทางเพศอย่างโหดเหื้ยม

นายกฯ อินเดียขอบังกลาเทศปกป้องชาวฮินดู

นิวเดลี 15 ส.ค.- นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียกล่าวว่า เขาหวังว่า สถานการณ์ในบังกลาเทศที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และขอให้บังกลาเทศปกป้องชาวฮินดูที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ นายกรัฐมนตรีโมดีกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันเอกราชที่ป้อมแดง ซึ่งเป็นป้อมปราการสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในกรุงนิวเดลีวันนี้ว่า ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน อินเดียเข้าใจดีถึงความกังวลต่อสถานการณ์ในบังกลาเทศ เขาหวังว่า สถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชน 1,400 ล้านคนในอินเดียมีความเป็นห่วงความปลอดภัยของชาวฮินดูและชนกลุ่มน้อยทางศาสนาอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ผู้นำอินเดียกล่าวด้วยว่า อินเดียต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านเดินไปตามเส้นทางแห่งความรุ่งเรืองและสันติภาพอยู่เสมอ อินเดียยึดมั่นต่อการส่งเสริมสันติภาพ เพราะเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมของอินเดีย และจะยังคงอวยพรให้บังกลาเทศเดินหน้าเรื่องการพัฒนาด้วยดี เพราะอินเดียห่วงใยในสวัสดิภาพของมนุษยชาติ บังกลาเทศมีชาวฮินดูประมาณร้อยละ 8 ของประชากรทั้งหมด 170 ล้านคน ชาวฮินดูในบังกลาเทศสนับสนุนพรรคสันนิบาตอวามีของนางเชค ฮาซีนา อดีตนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศมาโดยตลอด แต่หลังจากที่เธอต้องลาออกและหนีออกนอกประเทศไปอินเดียเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม บ้านเรือนและร้านค้าของชุมชนชาวฮินดูถูกผู้ประท้วงในบังกลาเทศทำลายทรัพย์สิน หลายคนพยายามหนีไปอินเดียแต่ไม่สำเร็จ.-814.-สำนักข่าวไทย

สหรัฐปัดเอี่ยวโค่นผู้นำบังกลาเทศ

วอชิงตัน 13 ส.ค.- รัฐบาลสหรัฐปฏิเสธว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับไล่นายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศซึ่งขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในอินเดีย โฆษกทำเนียบขาวตอบคำถามของผู้สื่อข่าวกรณีมีข่าวลือหรือรายงานว่า สหรัฐมีส่วนร่วมในการขับไล่นางเชค ฮาซีนา อดีตนายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศที่ขณะลี้ภัยอยู่ในอินเดียว่า สหรัฐไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในบังกลาเทศแต่อย่างใด การกล่าวหาสหรัฐเป็นเรื่องที่ไม่จริง สหรัฐเชื่อมั่นว่าชาวบังกลาเทศจะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของรัฐบาล และสหรัฐเองยึดมั่นในจุดยืนนี้ หนังสือพิมพ์อีโคโนมิคไทมส์ในอินเดียรายงานเมื่อวันอาทิตย์ว่า นางฮาซีนากล่าวหาสหรัฐว่ามีส่วนร่วมในการโค่นล้มเธอออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสหรัฐต้องการเข้ามาควบคุมเกาะเซ็นต์มาร์ตินในอ่าวเบงกอล หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวอ้างว่า นางฮาซีนาเปิดเผยข้อมูลนี้ผ่านมาทางคนสนิท แต่นายชาจีบ วาเจด บุตรชายของเธอโพสต์เอ็กซ์ในวันเดียวกันว่า มารดาไม่เคยพูดเรื่องนี้ เหตุการณ์ประท้วงในบังกลาเทศที่เกิดขึ้นมานานนับเดือนมีชนวนเหตุมาจากความไม่พอใจของนักศึกษาที่ต้องการให้รัฐบาลยกเลิกการจัดสรรโควต้าเข้ารับราชการไว้สำหรับบุตรหลานของทหารผ่านศึกที่เคยร่วมรบในสงครามเรียกร้องเอกราชเมื่อปี 2514 นอกจากนี้ยังมีประชาชนร่วมผสมโรงจากความไม่พอใจเรื่องปัญหาปากท้อง ทำให้นางฮาซีนาไม่สามารถทนแรงกดดันได้อีกต่อไปจนต้องหนีไปลี้ภัยอยู่ในกรุงนิวเดลีของอินเดียเมื่อต้นเดือนนี้.-816(814).-สำนักข่าวไทย

“มูฮัมหมัด ยูนูส” รับตำแหน่งผู้นำชั่วคราวของบังกลาเทศ

นายมูฮัมหมัด ยูนูส สาบานตนรับตำแหน่งผู้นำรัฐบาลรักษาการบังกลาเทศ หลังเดินทางกลับจากฝรั่งเศส ท่ามกลางความคาดหวังว่าเขาจะนำประชาธิปไตยกลับสู่ประเทศ

1 2 3 4 120
...