
พรุ่งนี้ เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับลด 80 สต./ลิตร
PTT Station-บางจากฯ ปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ทุกชนิดลง 80 สตางค์/ลิตร มีผล 6 ส.ค. 2565 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป
PTT Station-บางจากฯ ปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ทุกชนิดลง 80 สตางค์/ลิตร มีผล 6 ส.ค. 2565 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป
กองทัพเรือเม็กซิโกใช้เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติการไล่ล่าเรือสปีดโบ๊ทหลบหนีการจับกุม บริเวณชายฝั่งรัฐมิโชอากัน ยึดโคเคน 1,600 กก. และน้ำมันอีก 432 ลิตร
ปักกิ่ง 20 ก.ค.- รัสเซียครองตำแหน่งประเทศที่ส่งออกน้ำมันให้จีนมากที่สุดเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน หลังจากจีนหันไปนำเข้าน้ำมันราคาถูกจากรัสเซียเพิ่มขึ้น และลดการนำเข้าจากซาอุดีอาระเบียที่เคยเป็นแหล่งนำเข้าหลัก ข้อมูลของสำนักงานศุลกากรจีนระบุว่า เดือนมิถุนายนปีนี้จีนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียทั้งหมด 7 ล้าน 2 แสน 9 หมื่นตัน ครอบคลุมทั้งการส่งผ่านท่อไซบีเรียตะวันออก-มหาสมุทรแปซิฟิก (ESPO) การส่งจากท่าเรือของรัสเซียที่มีทั้งท่าเรือยุโรปและท่าเรือตะวันออกไกล เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 10 จากเดือนมิถุนายนปีก่อน โดยคิดเป็นวันละ 1 ล้าน 7 แสน 7 หมื่นบาร์เรล แต่ยังคงน้อยกว่าเดือนพฤษภาคมที่จีนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียมากเป็นประวัติการณ์เกือบวันละ 2 ล้านบาร์เรล ส่วนซาอุดีอาระเบียจีนนำเข้าน้ำมัน 5 ล้าน 6 หมื่นตันในเดือนมิถุนายนปีนี้ ลดลงร้อยละ 30 จากเดือนมิถุนายนปีก่อน โดยคิดเป็นวันละ 1 ล้าน 2 แสน 3 หมื่นบาร์เรล ลดลงจากวันละ 1 ล้าน 8 แสน 4 หมื่นบาร์เรลในเดือนพฤษภาคม ขณะเดียวกันจีนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจี […]
วอชิงตัน 19 ก.ค.- สมาคมยานยนต์อเมริกันหรือเอเอเอ (AAA) เผยว่า น้ำมันเบนซินในสหรัฐมีราคาขายปลีกเฉลี่ยในวันนี้ ที่แกลลอนละ 4.495 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 164.50 บาท) ต่ำกว่า 4.50 ดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์ นับจากวันที่ 16 พฤษภาคม น้ำมันเบนซินในสหรัฐมีราคาขายปลีกเฉลี่ยเกินแกลลอนละ 5 ดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน แต่หลังจากนั้นได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ำมันโดยรวมเพิ่มขึ้น และความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐลดลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำมันราคาแพง ขณะที่ทำเนียบขาวพยายามดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อทำให้ราคาลดลง เช่น ปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์แห่งชาติออกสู่ตลาดในปริมาณ 180 ล้านบาร์เรล มาตรการนี้ได้ผลบางส่วน แต่ราคาน้ำมันยังคงถือว่าสูงอยู่ เพราะทั่วโลกยังคงกลั่นน้ำมันได้อย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาขายปลีกเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินในสหรัฐเคยทำสถิติสูงสุดที่แกลลอนละ 5.02 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อกลางเดือนมิถุนายน แต่ก็ยังคงต่ำกว่าราคาในเดือนมิถุนายน 2551 ที่เคยทำสถิติสูงสุดที่แกลลอนละ 5.41 ดอลลาร์สหรัฐตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐ.-สำนักข่าวไทย
รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบียกล่าวว่า การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐกับชาติอาหรับในวันเสาร์ ไม่ได้หารือกันเรื่องน้ำมันและโอเปกพลัส จะยังคงประเมินสภาพของตลาดน้ำมันโลกและจะกระทำตามความจำเป็น
โตเกียว 12 ก.ค.- เจ้าหน้าที่อาวุโสในกระทรวงคลังสหรัฐชี้ว่า ราคาน้ำมันโลกอาจทะยานขึ้นร้อยละ 40 จากราคาปัจจุบันไปแตะที่บาร์เรลละ 140 ดอลลาร์สหรัฐ หากไม่บังคับใช้ข้อเสนอกำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซีย และไม่ยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียบางอย่าง เจ้าหน้าที่สหรัฐเผยว่า นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐจะหารือเรื่องนี้และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกกับนายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังในการพบปะกันวันนี้ที่กรุงโตเกียว เป้าหมายคือการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียให้ครอบคลุมต้นทุนเพิ่มหรือต้นทุนหน่วยสุดท้ายในการผลิตน้ำมัน เพื่อจูงใจให้รัสเซียส่งออกน้ำมันต่อไป แต่ไม่สูงจนเปิดโอกาสให้รัสเซียนำเงินไปใช้ทำสงครามกับยูเครน โดยมีความเป็นไปได้ที่จะกำหนดเพดานราคาไว้ที่บาร์เรลละ 40-60 ดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) เห็นพ้องกันในการประชุมสุดยอดที่เยอรมนีเมื่อเดือนมิถุนายนว่า จะหาลู่ทางกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย แต่ยังอยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียด ขณะเดียวกัน สหรัฐยังได้เสนอให้คำสั่งซื้อน้ำมันรัสเซียที่ต่ำกว่าราคาเพดาน ได้รับข้อยกเว้นจากมาตรการของสหภาพยุโรปหรืออียู ที่ห้ามบริษัทรับประกันเรือขนส่งน้ำมันรัสเซีย เพราะหากไม่มีข้อยกเว้นนี้น้ำมันรัสเซียจะตกค้างวันละหลายล้านตัน เพราะเรือขนส่งไม่มีบริษัทรับประกัน และอาจทำให้ราคาน้ำมันโลกทะยานขึ้นจากบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,632 บาท) ในปัจจุบัน เป็น 140 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5,085 บาท) ได้.-สำนักข่าวไทย
มอสโก 5 ก.ค.- นายดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวว่า ข้อเสนอของญี่ปุ่นเรื่องกำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซียไว้ที่ครึ่งหนึ่งของราคาปัจจุบัน อาจทำให้ตลาดโลกมีน้ำมันดิบลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันทะยานเหนือบาร์เรลละ 300-400 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10,739-14,319 บาท) นายเมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติของรัสเซียโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ แสดงความเห็นต่อรายงานข่าวเรื่องนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นเสนอให้กำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซียไว้ที่ครึ่งหนึ่งของราคาปัจจุบัน หลังจากผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือจี 7 (G7) เห็นพ้องเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า จะสำรวจความเป็นไปได้ในการกำหนดเพดานราคาน้ำมันนำเข้าจากรัสเซียเป็นการชั่วคราว นายเมดเวเดฟระบุว่า หากทำตามข้อเสนอดังกล่าวญี่ปุ่นจะไม่ได้ทั้งน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย รวมทั้งจะไม่ได้เข้าร่วมในการโครงการก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีซักคาลิน-2 (Sakhalin-2 LNG) ด้วย ข้อเสนอดังกล่าวจะทำให้ตลาดโลกมีปริมาณน้ำมันลดลงอย่างมาก และอาจทำให้ราคาน้ำมันสูงกว่าราคาแพงมหาศาลที่คาดการณ์ไว้ที่บาร์เรลละ 300-400 ดอลลาร์สหรัฐเสียอีก สัปดาห์ที่แล้วประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้ลงนามคำสั่งให้รัฐบาลยึดโครงการซักคาลิน-2 ทางตะวันออกไกลของประเทศอย่างเต็มตัว ซึ่งอาจทำให้บริษัทพลังงานข้ามชาติอย่างเชลล์ และบริษัทญี่ปุ่นอย่างมิตซุยและมิตซูบิชิถูกบีบออกจากโครงการนี้.-สำนักข่าวไทย
ออสโล 5 ก.ค.- คนงานน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งของนอร์เวย์เริ่มการผละงานในวันนี้ ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำมันและก๊าซลดลง ในช่วงที่ยุโรปลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียแล้ว แกนนำสหภาพแรงงานเลเดอร์นา (Lederne) แจ้งว่า สมาชิกได้เริ่มผละงานแล้วในวันนี้ เป็นการเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงเพื่อชดเชยกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ขณะที่กระทรวงแรงงานนอร์เวย์ย้ำว่า กำลังติดตามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และอาจเข้าแทรกแซงการผละงานหากเกิดสถานการณ์ไม่ปกติ บริษัทพลังงานในนอร์เวย์เผยว่า การผละงานที่บ่อน้ำมันและก๊าซ 3 แห่งในวันนี้ จะทำให้ปริมาณน้ำมันและก๊าซลดลงวันละ 89,000 บาร์เรล และ 27,500 บาร์เรลตามลำดับ จากนั้นจะมีการผละงานเพิ่มอีก 3 บ่อในวันพุธ ทำให้ปริมาณน้ำมันและก๊าซลดลงวันละ 130,000 บาร์เรล และ 292,000 บาร์เรลตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 6.5 และร้อยละ 13 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งหมด หากการผละงานทวีความเข้มข้นขึ้นในวันเสาร์ตามที่สหภาพแรงงานประกาศ ปริมาณน้ำมันและก๊าซของนอร์เวย์อาจลดลงวันละ 160,000 บาร์เรล และ 230,000 บาร์เรลตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 15 และร้อยละ 25 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งหมด สมาชิกของเลเดอร์นาลงมติเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ไม่ยอมรับข้อเสนอค่าแรงที่บริษัทและแกนนำสหภาพเจรจากัน และจะเริ่มผละงานในวันนี้ ขณะที่สหภาพแรงงานน้ำมันและก๊าซแห่งอื่น ๆ […]
โซล 5 ก.ค.- อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือนมิถุนายนปีนี้สูงที่สุดในรอบเกือบ 24 ปี เป็นผลจากราคาพลังงานสูงขึ้น และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมจะสูงขึ้นมากเช่นเดียวกัน สำนักงานสถิติเกาหลีรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากเดือนเดียวกันปีก่อน สูงที่สุดนับจากเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน สำนักงานสถิติระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเกาหลีใต้สูงกว่าร้อยละ 2 ที่เป็นเป้าหมายระยะกลางของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันแล้ว คาดว่าจะทรงตัวที่ร้อยละ 6 ต่อปีไประยะหนึ่ง และอาจจะแตะร้อยละ 7 ต่อปีในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ในการประชุมนโยบายวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ธนาคารกลางเกาหลีจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนถึงร้อยละ 0.50 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ หลังจากขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 5 ครั้งตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 โดยขึ้นครั้งละร้อยละ 0.25 ทำให้ดอกเบี้ยขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.75 เกาหลีใต้ถูกกดดันเรื่องภาวะเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นเพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ห่วงโซ่อุปทานโลกสะดุดเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด นอกจากนี้ยังอาจถูกกดดันเพิ่มขึ้นจากเงินวอนที่อ่อนค่าลงอย่างมาก โดยอ่อนค่าไปแล้วมากกว่าร้อยละ […]
โคลัมโบ 4 ก.ค.- ศรีลังกาเตือนว่า ประเทศจะมีน้ำมันใช้ไม่ถึงหนึ่งวัน หากปริมาณการใช้ยังคงเป็นไปตามปกติ ในขณะที่ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ 74 ปีก่อน นายกันชนะ วิเจเสเขระ รัฐมนตรีพลังงานของศรีลังกาเผยกับสื่อเมื่อวันอาทิตย์ว่า ศรีลังกาเหลือน้ำมันดีเซลในคลังเพียง 12,774 ตัน และน้ำมันเบนซินเพียง 4,061 ตัน ส่วนน้ำมันลอตใหม่คาดจะมาถึงราววันที่ 22-23 กรกฎาคม หรือไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ แต่ธนาคารกลางสามารถชำระค่าน้ำมันนำเข้าได้เพียง 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4,456 ล้านบาท) จากที่ต้องจ่ายทั้งหมด 587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 20,926 ล้านบาท) หากนำเข้าตามที่กำหนด นอกจากนี้ศรีลังกายังค้างชำระค่าน้ำมัน 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28,520 ล้านบาท) ที่ซื้อจากผู้จัดส่ง 7 รายตั้งแต่ต้นปีด้วย สัปดาห์ที่แล้ว ศรีลังกาได้สั่งระงับการจำหน่ายน้ำมันเดีเซลและเบนซินสำหรับยวดยานที่ไม่มีความจำเป็นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ไปจนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ศรีลังกาเป็นประเทศแรกของโลกที่ทำเช่นนี้ หลังจากสหรัฐและยุโรปใช้มาตรการปันส่วนน้ำมันในช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำมันคริสต์ทศวรรษหลังปี […]
ลอนดอน 29 มิ.ย.- นักวิเคราะห์ระบุว่า การที่สหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ห้ามรับประกันเรือที่ขนส่งน้ำมันรัสเซียอาจทำให้รัสเซียเสียหายมากกว่ามาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียโดยตรง อียูห้ามทำประกันเรือที่ขนส่งน้ำมันรัสเซียเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจชุดที่ 6 ต่อรัสเซียเพื่อลงโทษที่รุกรานยูเครน ครอบคลุมการขนส่งน้ำมันรัสเซียทางทะเลทั้งหมด หลังจากรัสเซียหาทางส่งออกน้ำมันไปจีนและอินเดียให้มากขึ้นเพื่อชดเชยที่ถูกคว่ำบาตรน้ำมัน นักวิเคราะห์ของคอมเมิร์ซแบงก์มองว่า มาตรการนี้จะมีผลต่อตลาดน้ำมันมากยิ่งไปกว่ามาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียของอียู เพราะบริษัทต่าง ๆ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขนส่งน้ำมันรัสเซียทางทะเล หรือรับประกันการขนส่งดังกล่าว บริษัทประกันในอียูมีเวลาจนถึงสิ้นปีนี้ในการปฏิบัติตามมาตรการนี้ ส่วนบริษัทประกันในอังกฤษคาดว่าจะดำเนินรอยตาม อียูเคยใช้มาตรการเดียวกันนี้กับอิหร่านในปี 2555 เพราะเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ด้านนายดมิทรี เมเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซียที่ปัจจุบันเป็นรองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติยืนยันว่า รัสเซียสามารถหลบเลี่ยงมาตรการห้ามรับประกันของอียูด้วยการให้รัฐรับประกันการส่งออกน้ำมันเอง อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่า รัสเซียแทบจะไม่สามารถหลบเลี่ยงมาตรการของอียูได้ เนื่องจากบริษัทประกันอียูและอังกฤษครองตลาดการประกันภัยที่คุ้มครองและชดเชยความเสียหายให้แก่เจ้าของเรือผู้เอาประกันภัย (P&I) มากถึงร้อยละ 95 ของทั้งโลก.-สำนักข่าวไทย
โคลัมโบ 28 มิ.ย.- ศรีลังกาสั่งห้ามการเติมน้ำมันให้แก่ยวดยานที่ไม่จำเป็นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เนื่องจากประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ รัฐบาลศรีลังกาแถลงเมื่อวันจันทร์ว่า จะห้ามยวดยานส่วนตัวเติมน้ำมันเบนซินและดีเซลไปจนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม และจะอนุญาตให้เติมได้เฉพาะรถโดยสาร รถไฟ ยวดยานที่ใช้ทางการแพทย์และการขนส่งอาหาร นอกจากนี้ยังให้ปิดโรงเรียนในเขตเมือง และให้ประชากร 22 ล้านคนทำงานจากบ้าน โฆษกรัฐบาลเผยว่า ศรีลังกาไม่เคยเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงเช่นนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ประเทศ รัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจาขอซื้อน้ำมันราคาถูกจากรัสเซียและกาตาร์ ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่แล้ว ทางการเผยเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เหลือน้ำมันดีเซลเพียง 9,000 ตัน และน้ำมันเบนซิน 6,000 ตัน สำหรับใช้ในบริการจำเป็นเพียงไม่กี่วันเท่านั้น และคาดว่าจะหมดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ หากยังมีการใช้เท่าในปริมาณปัจจุบัน เศรษฐกิจศรีลังกาได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ราคาน้ำมันแพง และการลดภาษี ทำให้ไม่มีสกุลเงินต่างประเทศมากพอที่จะชำระค่าสินค้านำเข้า และต้องผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม คณะตัวแทนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) เดินทางมาศรีลังกาเมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อหารือเรื่องข้อตกลงความช่วยเหลือมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 106,059 ล้านบาท) นอกจากนี้รัฐบาลยังหาทางขอความช่วยเหลือจากจีนและอินเดียด้วย นายกรัฐมนตรีรานิล วิกรามาสิงหะกล่าวเมื่อต้นเดือนว่า ศรีลังกาต้องการเงินอย่างน้อย 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 176,765 ล้านบาท) […]