โตโยต้าขึ้นเงินเดือนมากสุดในรอบ 25 ปี

โตเกียว 13 มี.ค.- โตโยต้า มอเตอร์ ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกของญี่ปุ่นตกลงขึ้นเงินเดือนให้แก่พนักงานครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 25 ปี ซึ่งอาจเปิดทางให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) ปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งสำคัญในสัปดาห์หน้า โตโยต้าเผยว่า ตกลงขึ้นเงินเดือนมากถึง 28,440 เยน (ราว 6,900 บาท) มากที่สุดในรอบ 25 ปี และให้โบนัสมากเป็นประวัติการณ์ โตโยต้าและบริษัทใหญ่หลายแห่งของญี่ปุ่น เช่น พานาโซนิก นิสสัน แจ้งว่า เห็นพ้องตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานเรื่องขึ้นเงินเดือนให้แก่พนักงานในการเจรจาเรื่องค่าจ้างประจำปีที่เสร็จสิ้นในวันนี้ ด้านเรนโก (Rengo) สหภาพแรงงานใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเผยว่า พนักงานบริษัทใหญ่ ๆ ขอขึ้นเงินเดือนประจำปีในอัตราร้อยละ 5.85 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 5 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี การเจรจาปีนี้เป็นที่จับตาเป็นพิเศษ นักเศรษฐศาสตร์คาดกันว่า ธุรกิจต่าง ๆ ต้องขึ้นเงินเดือนค่อนข้างมากเสียก่อน บีโอเจจึงจะสามารถประกาศว่า ใกล้บรรลุเป้าหมายเรื่องค่าจ้างเติบโตอย่างยั่งยืนและราคาสินค้ามีเสถียรภาพ และประกาศยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยคาดว่าบีโอเจจะประกาศได้อย่างเร็วที่สุดในการประชุมนโยบายครั้งต่อไปในวันที่ 18-19 มีนาคม ที่ผ่านมาบีโอเจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ควบคู่กับอัตราดอกเบี้ยต่ำมากมานาน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา.-814.-สำนักข่าวไทย

จีนเดินหน้าส่งเสริมการเปิดกว้างทางการเงินในระดับสูง

นายพาน กงเซิ่ง ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน หรือธนาคารกลางของจีน ร่วมงานแถลงข่าวนอกรอบการประชุมสภานิติบัญญัติระดับชาติที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เปิดเผยแผนการดำเนินงานส่งเสริมการเปิดกว้างทางการเงินในระดับสูง

รัสเซียเตือนตะวันตกอย่าขโมยทรัพย์สิน

มอสโก 13 ก.พ.- รัสเซียเตือนชาติตะวันตกในวันนี้ว่า รัสเซียจะทำตัวร้ายกาจมาก หากสหรัฐและสหภาพยุโรปหรืออียู ยึดทรัพย์สินของรัสเซีย สำนักข่าวทาสส์ของรัสเซียรายงานว่า โฆษกกระทรวงต่างประเทศรัสเซียให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุสปุตนิค หลังจากอียูผ่านร่างกฎหมายเมื่อวันจันทร์เรื่องแยกเก็บกำไรผลพลอยที่ได้จากทรัพย์สินของธนาคารกลางรัสเซียที่ถูกอายัดไว้ว่า การกระดังกล่าวถือเป็นการลักขโมย เพราะถือเอาสิ่งที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ รัสเซียจะใช้มาตรการตอบโต้อย่างร้ายกาจสุดขั้ว หากรู้สึกว่าจำเป็นต้องรับมือกับโจร เพราะในเมื่อรัสเซียถือว่าเป็นการลักขโมย ก็จะใช้ทัศนคติที่มีต่อโจร ไม่ใช่ต่อผู้ชักใยทางการเมือง หรือนักเทคโนโลยีที่เล่นใหญ่เลยเถิด ก่อนหน้านี้รัสเซียเคยประกาศว่า หากถูกยึดทรัพย์สิน ก็จะยึดทรัพย์สินของสหรัฐ ยุโรป และประเทศอื่น ๆ เป็นการตอบโต้ ทั้งนี้หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียส่งทหารเข้าไปในยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 สหรัฐและพันธมิตรได้สั่งห้ามการทำธุรกรรมกับธนาคารกลางและกระทรวงการคลังของรัสเซีย และอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลรัสเซียที่อยู่ในตะวันตกรวมมูลค่าราว 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.7 ล้านล้านบาท) กฎหมายใหม่ของอียูถือเป็นก้าวที่เป็นรูปธรรมก้าวแรกในการนำเงินของรัสเซียมาใช้บูรณะฟื้นฟูยูเครน.-814.-สำนักข่าวไทย

แบงก์ชาติออสเตรเลียไม่หวั่นกระแส “เงินเฟ้อเทย์เลอร์ สวิฟต์”

ซิดนีย์ 6 ก.พ.- มิเชล บุลล็อค ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียยอมรับว่า กระแส “เงินเฟ้อเทย์เลอร์ สวิฟต์” อาจกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายของบางคน แต่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจด้านนโยบายของธนาคารกลาง ผู้สื่อข่าวได้ถามนางบุลล็อคในการแถลงข่าววันนี้ว่า การที่บัตรชมคอนเสิร์ตสวิฟต์ นักร้องนักแต่งเพลงหญิงชื่อดังชาวอเมริกันถูกจองหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เป็นตัวอย่างหนึ่งหรือไม่ของเงินเฟ้อภาคบริการที่ธนาคารกลางออสเตรเลียมักอ้างว่าเป็นความเสี่ยงด้านนโยบาย นางบุลล็อคตอบว่า เธอเองรู้ดีว่าเงินเฟ้อเทย์เลอร์ สวิฟต์เป็นอย่างไร เพราะกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายของลูก ๆ ของเธอเช่นกัน อย่างไรก็ดี เธอกำลังคุยกับคนทำงานที่เกี่ยวข้องว่าเงินเฟ้อภาคบริการคืออะไร เพราะคิดว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริง ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียกล่าวว่า การที่ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินอย่างหนึ่ง ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อความต้องการบริโภค แต่อาจมีผลกระทบทางอ้อม เช่น ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้น  โดยเฉพาะต้นทุนที่ไม่ใช่แรงงาน และมีการส่งต่อต้นทุนไปยังธุรกิจภาคบริการ ทำให้ค่าบริการสูงขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า เบี้ยประกัน ผู้เชี่ยวชาญบางคนระบุว่า ดิเอราสทัวร์ (The Eras Tour) ของสวิฟต์และคอนเสิร์ตของศิลปินดังๆ หลายคน เป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในหลายประเทศเพิ่มขึ้นชั่วคราว ขณะที่บางคนแย้งว่า เป็นการพูดเกินจริง สวิฟต์ วัย 34 ปี กำลังตระเวนทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่ 6 มีการแสดงทั้งหมด 151 […]

สส. รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องแบงก์ชาติเลิกใช้ดอกเบี้ยติดลบ

โตเกียว 30 ม.ค.- สมาชิกสภาพรรครัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) ซึ่งเป็นธนาคารกลางควรยุติการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ นายชิเกรุ อิชิบะ สส. และอดีตเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือแอลดีพี (LDP) ที่ทรงอิทธิพล วัย 66 ปี กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า นโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นนโยบายสุดโต่งที่ไม่ควรมีอยู่ตั้งแต่ต้น ต่อข้อถามว่าบีโอเจควรยุตินโยบายนี้โดยเร็วหรือไม่ นายอิชิบะกล่าวว่า เขาเชื่อว่าควรเป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า จะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างฉับพลัน แต่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่า จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและทบทวนนโยบายการเงินปัจจุบันอย่างไร บีโอเจคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ติดลบ 0.1 และผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีที่ 0 มาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และทำให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นไปแตะร้อยละ 2 ตามเป้าหมาย อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจสมัยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะหรือที่เรียกว่า อาเบะโนมิกส์ นายอิชิบะกล่าวด้วยว่า หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ สหรัฐอาจจะใช้นโยบายปกป้องทางการค้ามากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออก.-814.-สำนักข่าวไทย

จีนจะลดเงินสำรองของธนาคารหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

ปักกิ่ง 24 ม.ค.- ธนาคารกลางจีนจะลดจำนวนเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องกันไว้ตามกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป เป็นการลดครั้งแรกของปีนี้ ในขณะที่รัฐบาลจีนกำลังหาทางกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นายพาน กงเซิ่ง ประธานธนาคารประชาชนจีน ซึ่งเป็นธนาคารชาติของจีนแถลงข่าวที่กรุงปักกิ่งในวันนี้ว่า จะลดอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำ (Reserve Requirement Ratio หรือ RRR) ที่ธนาคารกลางกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งต้องเก็บสำรองเงินฝากขั้นต่ำลงร้อยละ 0.50 ซึ่งจะทำให้มีเงินสดเข้าสู่ตลาดมากถึง 1 ล้านล้านหยวน (ราว 5 ล้านล้านบาท) และจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับภาคชนบทและบริษัทขนาดเล็กลงร้อยละ 0.25 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม จีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกพยายามอย่างหนักที่จะฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด ท่ามกลางภาวะตลาดบ้านซบเซา รัฐบาลท้องถิ่นมีความเสี่ยงเรื่องหนี้ และความต้องการระดับโลกอ่อนแอ นักวิเคราะห์ชี้ว่า รัฐบาลจีนต้องออกมาตรการกระตุ้นอีกมาก ตามที่ต้องการทำให้เศรษฐกิจเติบโต โดยไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องภาวะเงินเฟ้อ และควบคุมอัตราว่างงานสูง ขณะเดียวกันธนาคารกลางก็เผชิญภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะสินเชื่อไหลไปยังภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าภาคการบริโภค เสี่ยงเพิ่มแรงกดดันด้านภาวะเงินฝืด และทำให้เครื่องมือนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพลดลง.-814.-สำนักข่าวไทย

นิกเกอิญี่ปุ่นทะยานสูงสุดในรอบ 34 ปี

โตเกียว 11 ม.ค.- ดัชนีนิกเกอิ ซึ่งเป็นดัชนีหลักของตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นทะยานขึ้นทำสถิติสูงที่สุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เนื่องจากผู้ส่งออกได้รับอานิสงส์จากเงินเยนอ่อนค่า และตลาดมีความกังวลลดลงต่อเนื่องเรื่องธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ย ดัชนีนิกเกอิ 225 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.94 ไปทดสอบที่ระดับ 35,110.52 จุดก่อนปิดการซื้อขายภาคเช้า ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 34 ปี โดยเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน และใกล้จะเพิ่มขึ้นเป็นรายสัปดาห์มากที่สุดนับจากเดือนมีนาคม 2563 นักวิเคราะห์มองว่า แผ่นดินไหวใหญ่ริมฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นเมื่อวันขึ้นปีใหม่ และข้อมูลการเพิ่มค่าแรงอ่อนแอ ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดต้องทบทวนเรื่องธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับเงินเยนอ่อนค่าช่วยให้หุ้นส่งออกปรับตัวสูงขึ้น และหุ้นญี่ปุ่นได้รับแรงกระตุ้นจากตลาดวอลล์สตรีทที่หุ้นใหญ่พากันปรับตัวสูงขึ้น.-814.-สำนักข่าวไทย

แบงก์ชาติเมียนมาจะให้ตลาดกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอง

ย่างกุ้ง 6 ธ.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานว่า ธนาคารกลางเมียนมาจะไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอีกต่อไป โดยจะปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์และธุรกิจที่ได้รับอนุญาตกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอง รอยเตอร์ระบุว่า รายงานไม่ได้ให้เหตุผลที่ธนาคารกลางเมียนมามีการตัดสินใจดังกล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะที่หน้าเว็บไซต์ของธนาคารกลางเมียนมาไม่มีการประกาศเรื่องนี้ และไม่มีเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางเมียนมารับสายโทรศัพท์ในเช้าวันนี้ ทั้งนี้นับตั้งแต่กองทัพเมียนมารัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หน่วยงานทางการเงินพยายามควบคุมความต้องการสกุลเงินตราต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการกวาดล้างตลาดแลกเปลี่ยนผิดกฎหมาย และได้เพิกถอนใบอนุญาตของร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบมากกว่า 140 แห่งในปีนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาได้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ไปเป็นแบบมีการควบคุมของรัฐ และกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ ต้องรายงานการซื้อขายสกุลเงินตราต่างประเทศ ผู้ส่งออกจะต้องแลกดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินจั๊ตตามอัตราที่ธนาคารกลางกำหนด และเมื่อเดือนสิงหาคม ธนาคารกลางเมียนมาได้สั่งให้กระทรวงและรัฐบาลท้องถิ่นไม่ใช้สกุลเงินต่างประเทศในการทำธุรกรรมในประเทศ.-814.-สำนักข่าวไทย

ภาวะเงินฝืดญี่ปุ่นมีโอกาสสิ้นสุดหลังยืดเยื้อมา 25 ปี

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุในรายงานนโยบายการเงินการคลังประจำปีว่า ญี่ปุ่นมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้เห็นภาวะเงินฝืดสิ้นสุดลง หลังจากเศรษฐกิจประเทศตกอยู่ในภาวะนี้มานานถึง 25 ปี

จีนงดเผยแพร่ตัวเลขเยาวชนว่างงาน

จีนจะงดเผยแพร่ตัวเลขเยาวชนว่างงานนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป หลังจากตัวเลขออกมาน่าผิดหวังติดต่อกันหลายเดือน โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน ที่ทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 21.3

อินเดียจะนำธนบัตร 2,000 รูปีออกจากระบบ

มุมไบ 20 พ.ค.- ธนาคารกลางอินเดียจะเริ่มนำธนบัตร 2,000 รูปี ซึ่งเป็นชนิดราคาสูงที่สุดออกจากระบบ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อาจช่วยให้ธนาคารมีเงินฝากเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีตลาดสินเชื่อขยายตัว ธนาคารกลางอินเดียแถลงเมื่อวันศุกร์ว่า มีหลักฐานสนับสนุนว่าประชาชนไม่ได้ใช้ธนบัตร 2,000 รูปี ในการทำธุรกรรมโดยทั่วไป ธนบัตรชนิดราคานี้ยังคงชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ขอให้ประชาชนนำมาฝากหรือแลกเป็นธนบัตรชนิดราคาที่ต่ำกว่าภายในวันที่ 30 กันยายน เจ้าหน้าที่กระทรวงคลังอินเดียกล่าวว่า การนำธนบัตร 2,000 รูปีออกจากระบบจะไม่ก่อความวุ่นวายให้แก่การดำเนินชีวิตประจำวันหรือเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า มาตรการนี้อาจช่วยให้ธนาคารมีเงินฝากเพิ่มขึ้นในระยะสั้น ช่วยลดแรงกดดันเรื่องต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากธนาคารกำลังมีปัญหาสภาพคล่องตึงตัวจากการที่ตลาดสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลักในช่วงหลายเดือนมานี้ รอยเตอร์ที่รายงานข่าวนี้ตั้งข้อสังเกตว่า ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นก่อนที่อินเดียจะมีการเลือกตั้งใน 4 รัฐใหญ่ในสิ้นปีนี้และจะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศราวเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม 2567 ทั้งนี้เชื่อกันว่าพรรคการเมืองส่วนใหญ่ในอินเดียกำลังกักตุนธนบัตรชนิดราคาสูงสำหรับใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการหาเสียง รัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีเริ่มใช้ธนบัตร 2,000 รูปีในปี 2559 หลังจากยกเลิกธนบัตร 500 รูปี และ 1,000 รูปีอย่างกระทันหัน หวังขจัดธนบัตรปลอมที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ มาตรการนี้ทำให้มูลค่าเงินสดในระบบหายไปทันทีร้อยละ 86 ในชั่วข้ามคืน รัฐบาลจึงต้องออกธนบัตร 500 รูปีแบบใหม่ในวันรุ่งขึ้น และเร่งนำธนบัตร 2,000 […]

ยุโรปเตรียมประกาศเรื่องดอกเบี้ยหลังเฟดขึ้น 0.25%

ลอนดอน 23 มี.ค.- ธนาคารกลางของหลายประเทศในยุโรปเตรียมประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในขณะที่ภาคกิจการธนาคารของโลกยังคงปั่นป่วน ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์จะขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์จะขึ้นร้อยละ 0.50 เท่ากับการขึ้นล่าสุดในเดือนธันวาคมที่ครั้งนั้นทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษมีแนวโน้มสูงว่าจะขึ้นร้อยละ 0.25 หลังจากเมื่อวานนี้มีการเผยแพร่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าเกินความคาดหมาย และจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 11 ติดต่อกันนับจากสิ้นปี 2564 ที่ขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.1 ส่วนธนาคารกลางนอร์เวย์คาดว่าจะขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.0 หลังจากขึ้นมาแล้วครั้งที่ 5 ติดต่อกันจนถึงเดือนมกราคม เฟดออกแถลงการณ์หลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายเมื่อวันพุธตามเวลาสหรัฐว่า การเข้มงวดนโยบายเพิ่มเติมอาจเป็นเรื่องเหมาะสมเพื่อคงนโยบายการเงินที่จะสามารถกดอัตราเงินเฟ้อลงได้ ขณะที่สถานการณ์ในภาคการธนาคารเมื่อไม่นานมานี้อาจช่วยให้เฟดบรรลุเป้าหมายนี้ได้ เพราะน่าจะทำให้การปล่อยสินเชื่อครัวเรือนและธุรกิจมีเงื่อนไขที่เข้มงวดขึ้น และน่าจะมีผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 9
...