ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนเจือปนอลูมิเนียม เป็นสาเหตุของอัลไซเมอร์ จริงหรือ?

1. วัคซีนหลายชนิดมีเกลืออลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยชะลอการทำงานของสารออกฤทธิ์และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น

2. ผู้เชี่ยวชาญต่างยืนยันไม่พบหลักฐานว่าสารอลูมิเนียมก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Moderna มี Luciferin เจือจางกับสารละลาย 66.6 ml จริงหรือ?

1. Luciferin คือสารสร้างการเรืองแสงทางชีวภาพในหิ่งห้อย
2. FDA ยืนยันว่าไม่มี Luciferin อยู่ในวัคซีนโควิด 19 ของ Moderna
3. มีแค่การใช้เอนไซม์ Luciferase ในการวิจัยไวรัสโควิด 19 เท่านั้น

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนมี “สารฆ่าเชื้ออสุจิ” ทำให้เป็นหมัน จริงหรือ?

1. โพลีซอร์เบต 80 และ ออกโทซินอล 10 เป็นสารที่ใช้ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเพิ่มความคงตัวในวัคซีนและขัดขวางการออกฤทธิ์ของไวรัสเชื้อตายในวัคซีน
2. ใช้ในปริมาณน้อยและไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนเป็นหมัน

ชัวร์ก่อนแชร์: ใบพลูช่วยป้องกันโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

แม้สรรพคุณของใบพลูจะช่วยบรรเทาปวดและช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ WHO ยืนยันว่าการบริโภคใบพลูต้มสุกไม่สามารถรักษาการป่วยจากโควิด 19 ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ทำให้เต้านมผู้หญิงใหญ่ขึ้น จริงหรือ?

1. เต้านมของผู้หญิงจะขยายตัวตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายหรือจากการใช้ยาบางชนิด
2. วัคซีนโควิด 19 ไม่มีฮอร์โมนกระตุ้นการขยายเต้านมเป็นส่วนประกอบของวัคซีนแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: สุราสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโควิด 19 จริงหรือ?

1. WHO ยืนยันว่าสุราไม่ช่วยป้องกันโควิด 19 และยังทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
2. การดื่มสุราไม่ว่าจะในปริมาณเท่าไหร่ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ชัวร์ก่อนแชร์: สูบบุหรี่และกินมังสวิรัติช่วยป้องกันโควิด 19 จริงหรือ?

1. หน่วยงาน CSIR ในอินเดียยืนยันว่าผลวิจัยไม่อาจสรุปได้ว่าการสูบบุหรี่และการกินมังสวิรัติช่วยป้องกันเชื้อโควิด 19
2. WHO ย้ำว่ายังไม่มีงานวิจัยที่มีบทสรุปเรื่องความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน จริงหรือ?

1. เป็นข้ออ้างโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีแนวติดต่อต้านวัคซีน
2. สถาบันการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM) ยืนยันไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนและโรคเบาหวานแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: สายการบินไม่รับคนฉีดวัคซีนโควิด หวั่นลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

1. หน่วยงานด้านการบินของยุโรปทั้ง IATA, EASA และ A4E ต่างสนับสนุนให้ผู้โดยสารและพนักงานของบริษัทฉีดวัคซีนโควิด 19
2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิด Economy Class Syndrome ที่เกิดกับผู้โดยสารบนเครื่องบิน แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19

ชัวร์ก่อนแชร์: บริโภคถ่านกัมมันต์ ก่อน-หลังฉีดวัคซีน ลดผลข้างเคียงได้ จริงหรือ?

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศสเปน อ้างว่าการดื่นน้ำที่ผสม “ถ่านกัมมันต์” (Activated Charcoal) 3 วันก่อนและหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 สามารถลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีนได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : นอนกัดฟัน ทำให้หน้าสั้น-หน้าบานจริงหรือ?

15 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ ว่าการนอนกัดฟันจะทำให้หน้าสั้น และหน้าบาน เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ทพญ.พนมพร วานิชชานนท์ หัวหน้าภาควิชาทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น สรุป : ไม่ควรแชร์ต่อ หน้าสั้น หน้าบาน มีหลายสาเหตุหากกังวลควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

20 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดียว่า กินฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ รวมถึงเป็นทางเลือกที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องไปฉีดวัคซีนนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (สยส.) ระบุตรงกันว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป : ไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ต่อ ยังไม่มีหลักฐานรองรับว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ และการกินฟ้าทะลายโจรไม่สามารถทดแทนการฉีดวัคซีนได้ ไม่ควรกินสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรจำนวนมาก เสี่ยงตับพัง หากติดเชื้อโควิด-19 จริงจะทำให้การรักษาโควิดทำได้ยาก เมื่อมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรรีบพบแพทย์ “ผู้เชี่ยวชาญ” ยืนยัน ยังไม่มีผลการศึกษาว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการเชื้อโควิด-19 ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดย ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าวยืนยันกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลระบุว่าฟ้าทะลายโจรสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้นั้น  ไม่เป็นความจริง […]

1 79 80 81 82 83 202
...