ยอดใช้น้ำมัน 7 เดือนแรก หดตัวร้อยละ13.8
โควิด-19 ส่งผลยอดใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 7 เดือน ของปี 2563 (มกราคม – กรกฎาคม)ของไทยลดลงร้อยละ 13.8 น้ำมันเจ็ท การใช้แอลพีจีในปิโตรเคมีกู่ไม่กลับ
โควิด-19 ส่งผลยอดใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 7 เดือน ของปี 2563 (มกราคม – กรกฎาคม)ของไทยลดลงร้อยละ 13.8 น้ำมันเจ็ท การใช้แอลพีจีในปิโตรเคมีกู่ไม่กลับ
ราคาน้ำมันถูกไม่ช่วย 2 เดือนแรกยอดใช้น้ำมันหดตัวร้อยละ 5.3 จากพิษ COVID-19
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แจงเสนอ “สนธิรัตน์” ลดราคาน้ำมันทุกประเภท 1 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่
กรุงเทพฯ 5 ต.ค.-ธพ.เร่งหารือ กรณี มาตรฐานน้ำมันยูโร5 ไม่รองรับไบโอดีเซลจากปาล์ม ยืนยันต้องเกิดให้ได้ลดทั้งมลพิษ และช่วยเหลือเกษตรกร
ผลการศึกษาทางวิชาการ เสนอรัฐบาลไทยควรลงทุนมีสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve – SPR)
ธพ.เผยครึ่งปีแรกการใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 3.9% ดีเซลเพิ่มขึ้น 1.1% ขณะที่ก๊าซหุงต้มครัวเรือน-ขนส่งหดตัว
กรมธุรกิจพลังงานเผยความต้องการใช้น้ำมัน 2 เดือนแรกปีนี้โตร้อยละ 3.2 คาดทั้งปีเฉลี่ยกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน
ปตท.ยังคงครองแชมป์ส่วนแบ่งตลาดน้ำมันสูงสุดปี 62 ด้านการใช้น้ำมัน ม.ค.62 เทียบ 61 พุ่งร้อยละ 2
กรุงเทพฯ 16 ม.ค.-กรมธุรกิจพลังงาน เตรียมประกาศให้ขายบี 20 ผ่านปั๊มได้ ขายเฉพาะรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถเมล์เท่านั้น ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ด้านโรงกลั่น พร้อมส่งแผนลงทุนสัปดาห์หน้าปรับมาตรฐานน้ำมันสู่ยูโร 5 คาดลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท
กรุงเทพฯ 27 ก.ค.- กลุ่มตะวันออกกลางดูลู่ทางลงทุนใช้ไทยเป็นฐานส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี ) จับตาราคาน้ำมัน –แอลพีจีพุ่งหลัง มีความไม่สงบในทะเลแดง
กรมธุรกิจพลังงานประสานผู้ค้าน้ำมันและรถบรรทุกใช้บี 20 ดูดซับปาล์มล้นตลาด ราคาตกต่ำ คาดเริ่มใช้ 1 มิ.ย.นี้
กรุงเทพฯ 2 ม.ค.- กรมธุรกิจพลังงานศึกษาเปิดเสรีโรงบรรจุก๊าซหวังเพิ่มการแข่งขันในตลาด พร้อมศึกษาการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงถังก๊าซกลาง นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังศึกษาจะเปิดเสรีโรงบรรจุก๊าซ จากปัจจุบันกฎหมายยังไม่อนุญาตให้มีการบรรจุก๊าซข้ามแบรนด์ ซึ่งหากดำเนินการได้ จะปลดล็อคให้ เกิดการแข่งขันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตามต้องมีการกำหนดเงื่อนไขใหม่ขึ้นมากำกับดูแล โดยเฉพาะการบำรุงรักษาถังก๊าซและการสร้างความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค นายวิฑูรย์กล่าวว่าในอดีตออกข้อกำหนดห้ามบรรจุข้ามแบรนด์ เพราะแก้ไขปัญหาถังขาว หรือถังไม่มีมาตฐานแต่ปัจจุบันถังขาวหมดไปนานแล้ว และข้อกำหนดมาตรฐานดูแลดีขึ้น กำหนดให้เจ้าของแบรนด์ซ่อมบำรุงในเวลาที่กำหนด ในขณะที่ปัจจุบัน ตัวเมืองขยายการสร้างโรงบรรจุก๊าซใหม่ๆ ทำได้ยาก ดังนั้น หากเปิดเสรีธุรกิจโรงบรรจุก๊าซ ก็อาจจะทำให้ผู้ค้ารายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด การการแข่งขันตามแผนส่งเสริมการค้าแอลพีจีเสรี ” หากเปิดเสรีโรงบรรจุก๊าซได้ ต่อไปผู้ค้าทุกรายก็สามารถนำถังก๊าซของตนเองไปเติมก๊าซได้ทุกโรงบรรจุ เพราะปัจจุบันคุณภาพเนื้อก๊าซเป็นมาตรฐานเดียวกันอยู่แล้วและยังเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ส่วนการลงทุนถังก๊าซ แต่ละรายก็ลงทุนเองเชื่อว่าไม่ใช่ปัญหา เพราะเงินที่ใช้ในการลงทุนต่อถังอยู่ที่ประมาณ 800-900 บาท “นายวิฑูรย์กล่าว นอกจากนี้ กำลังศึกษาการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงถังก๊าซกลาง โดยถังก๊าซแอลพีจีทุกยี่ห้อจะต้องส่งมาซ่อมในศูนย์ฯเดียวกัน ส่วนวิธีจ่ายเงินเพื่อนำมาใช้เป็นกองกลางนั้น อาจมาจากส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์)ของผู้ค้าแต่ละราย หรืออาจใช้รูปแบบของสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันเงินที่ใช้สำหรับการซ่อมบำรุงถังก๊าซนั้น ได้รวมอยู่ในค่าน้ำก๊าซและค่าการตลาด(มาร์จิน)ของผู้ค้าที่เก็บจากประชาชนอยู่แล้ว ที่กฎหมายกำหนดว่าทุก ๆ 7 ปี จะต้องซ่อมบำรุงถังก๊าซ ก่อนหน้านี้ กรมฯได้หารือกับผู้ค้าก๊าซพบว่า ยังมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย […]