ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ผักชีลาว ว่านกาบหอยแครง ขมิ้น บรรเทากรดไหลย้อนได้ จริงหรือ ?

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผักชีลาว ว่านกาบหอยแครง ขมิ้น บรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สอบถามกับอาจารย์ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยระบบโรคทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า จากการทดลองเรื่องกรดไหลย้อนในหนูพบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งกรด แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าช่วยคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนได้, การใช้ว่านกาบหอยแครงต้มกับใบเตยก็ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ส่วนขมิ้น เป็นสารลดการระคายเคือง ลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ลดกรดไหลย้อน แต่อาจลดการอักเสบของผิวหลอดอาหารที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้  กรดไหลย้อนมีทั้งที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค หากมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกนาน ๆ ครั้ง ไม่รุนแรง ถือว่าไม่ใช่โรค แต่หากมีอาการแสบร้อนรุนแรงเป็นเวลานานมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ถือเป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนอาการอื่นที่อาจพบได้คือ เสียงแหบเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบ ฟันผุ มีกลิ่นปาก ไอเรื้อรัง การดื่มนมที่นำไปแช่เย็นสามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ เพราะนมจะไปจับกับกรดช่วยลดอาการแสบร้อน แต่หากอาการรุนแรงควรพบแพทย์ แพทย์แนะนำเพิ่มเติมว่า คนไข้กรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ย่อยยาก ควบคุมน้ำหนัก ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดหรือคับเกินไป อย่านอนหลังอาหารภายใน 3 ชั่วโมง และนอนหนุนศีรษะสูงอย่างน้อย 6 นิ้วโดยเป็นการหนุนเตียง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต กรดไหลย้อน จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับกรดไหลย้อนเอาไว้มากมาย ทั้งอันตราย ห้ามนอนตะแคงขวา และการกลั้นผายลมเสี่ยงให้เกิดกรดไหลย้อน ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กรดไหลย้อน ห้ามนอนตะแคงขวา จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า คนที่เป็นกรดไหลย้อนห้ามนอนตะแคงขวาโดยเด็ดขาด บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า มีการวิจัยว่านอนตะแคงขวามีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากกว่านอนตะแคงซ้าย  และแม้ว่ากรดไหลย้อนจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต โดยในต่างประเทศคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีอาการรุนแรงเช่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการนอนให้ศีรษะอยู่สูงจะช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ดีกว่านอนตะแคง โดยต้องหนุนเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วขึ้นไป ไม่ใช่หนุนหมอนสูง ส่วนวิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน คือ ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป อย่าใส่เสื้อผ้ารัด เลี่ยงอาหารทอด-มัน-รสเปรี้ยวจัด และควรนอนหลังกินอาหารมื้อเย็นแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป ด้าน ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เรอบ่อยๆ เป็นสัญญาณบอกโรคจริงหรือ ?

สังคมออนไลน์แชร์ว่า การเรอบ่อยๆ เป็นสัญญาณบอกสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : กลั้นผายลมเสี่ยงกรดไหลย้อน จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ว่าการกลั้นผายลมเป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อนได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : กรดไหลย้อนปล่อยไว้เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่าโรคกรดไหลย้อน หากปล่อยไว้หรือเป็นนานๆ อาจเป็นความเสี่ยงของโรคมะเร็ง เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีสังเกตโรคกระเพาะ-กรดไหลย้อน จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์วิธีสังเกตความแตกต่างของโรคกระเพาะ กับกรดไหลย้อน ที่เป็นโรคคล้ายกันแต่ต่างกันทั้งสาเหตุและอาการ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : นอนกรนเสี่ยงโรคอันตราย จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ว่าการนอนกรน เป็นความเสี่ยงของหลายโรคอันตราย ตั้งแต่โรคหัวใจไปจนถึงโรคมะเร็ง เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินอาหารมื้อดึกไม่ดีต่อสุขภาพ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ 6 ผลเสียของการกินอาหารมื้อดึกซึ่งไม่ดีกับสุขภาพ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ผลเสียของการกินอาหารเร็ว จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ผลเสียของพฤติกรรมการกินเร็ว ทั้งทำให้ท้องอืด ทำให้อ้วน เสี่ยงเบาหวาน โรคกระเพาะ อาหารเป็นพิษ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินขมิ้นชันสกัด แก้สารพัดโรค จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คำแนะนำการใช้สารสกัดขมิ้นชันเพื่อแก้อาการโรคได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือน 7 สิ่งไม่ควรทำทันทีหลังกินอิ่ม จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนสิ่งที่ไม่ควรทำทันทีหลังกินอาหารอิ่ม เช่น ห้ามอาบน้ำ เพราะจะมีผลต่อระบบการย่อยอาหาร เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2
...