Trump talks while signing a number of executive orders in Oval Office

“ทรัมป์” ชะลอใช้ กม.แบน TikTok ออกไป 75 วัน

วอชิงตัน 21 ม.ค.- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารในวันแรกที่รับตำแหน่ง ให้ชะลอการบังคับใช้กฎหมายห้ามหรือแบนติ๊กต็อก (TikTok) ออกไปอีก 75 วัน จากเดิมที่ต้องถูกปิดการให้บริการในสหรัฐตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม ติ๊กต็อกเป็นแอปพลิเคชันวิดีโอสั้นยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานในสหรัฐมากถึง 170 ล้านคน และได้งดการให้บริการชั่วขณะเมื่อวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนถึงเส้นตายที่ไบแดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่ที่เป็นบริษัทจีนต้องจำหน่ายติ๊กต็อกให้แก่ธุรกิจสหรัฐภายในวันอาทิตย์ ตามที่ทางการสหรัฐอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติว่า การที่ติ๊กต็อกเป็นของบริษัทจีนทำให้ข้อมูลของชาวอเมริกันเสี่ยงถูกนำไปใช้โดยมิชอบ ต่อมาติ๊กต็อกได้กลับมาให้บริการอีกครั้งในวันอาทิตย์ โดยได้ขอบคุณนายทรัมป์ที่ให้ความมั่นใจว่า ติ๊กต็อกและหุ้นส่วนทางธุรกิจจะไม่ถูกปรับสถานหนักหากติ๊กต็อกยังคงให้บริการในสหรัฐต่อไป ขณะนี้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ติ๊กต็อกใช้งานได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถดาวน์โหลดจากแอปสโตร์ของแอปเปิลและกูเกิล คาดว่าทั้ง 2 บริษัทนี้กำลังรอการรับประกันทางกฎหมายที่ชัดเจน.-814.-สำนักข่าวไทย  

TikTok logo on smartphone

“ทรัมป์” ขอให้ศาลฎีกาพักใช้ กม.แบนติ๊กต็อก

วอชิงตัน 28 ธ.ค.- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐขอให้ศาลฎีกาพักการบังคับใช้กฎหมายที่จะห้ามการใช้งานแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) ในสหรัฐหากไม่จำหน่ายกิจการ โดยให้เหตุผลว่า เขาควรมีเวลาหลังจากรับตำแหน่งในการหาทางออกทางการเมืองให้แก่ประเด็นนี้ นายดี. จอห์น เซาเออร์ ทนายความของนายทรัมป์ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองอธิบดีกรมอัยการในรัฐบาลทรัมป์สมัยที่ 2 เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่เข้าข้างใครในประเด็นพิพาทนี้ แต่ได้ร้องขอด้วยความเคารพให้ศาลฎีกาพิจารณาพักเส้นตายของกฎหมายที่กำหนดให้ไบแดนซ์ (ByDance) บริษัทจีนที่เป็นเจ้าของติ๊กต็อกต้องจำหน่ายแพลตฟอร์มนี้ให้แก่บริษัทอเมริกันภายในวันที่ 19 มกราคม 2568 ไม่เช่นนั้นจะถูกห้ามใช้งานในสหรัฐ ตามที่รัฐสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายเมื่อเดือนเมษายน ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลทรัมป์มีโอกาสที่จะหาทางออกทางการเมืองให้แก่เรื่องนี้ ศาลฎีกาจะเปิดรับฟังข้อโต้แย้งคดีนี้ในวันที่ 10 มกราคม ท่าทีของนายทรัมป์สวนทางกับเมื่อครั้งที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยแรก เขาเคยลงนามคำสั่งวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ว่าจะปิดติ๊กต็อกในสหรัฐภายใน 45 วัน หากไบแดนซ์ไม่จำหน่ายให้แก่บริษัทอเมริกัน ติ๊กต็อกได้ยื่นเรื่องฟ้องศาล ต่อมานายโจ ไบเดนที่เข้ารับตำแหน่งต่อจากนายทรัมป์ได้ลงนามคำสั่งยกเลิกคำสั่งของทรัมป์ในเดือนมิถุนายน 2564 และลงนามกฎหมายแบนต๊กต็อกของสภาเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ต๊กต็อกมีผู้ใช้งานในสหรัฐมากกว่า 170 ล้านคน หากถูกห้ามใช้งานในสหรัฐก็จะเกิดขึ้น 1 วันก่อนนายทรัมป์เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 นายทรัมป์เคยเผยหลังจากพบกับนายโจว โซ่วจือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอของติ๊กต็อกที่คฤหาสน์ของเขาเมื่อวันที่ […]

people using smartphones

สภาออสเตรเลียผ่าน กม.ห้ามเด็กใช้สื่อออนไลน์

แคนเบอร์รา 29 พ.ย.- รัฐสภาออสเตรเลียลงมติผ่านกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ใช้สื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากมองว่าเสี่ยงต่อสุขภาพกายและใจของเด็ก ถือเป็นประเทศที่มีกฎหมายคุมเข้มเรื่องการใช้งานสื่อออนไลน์ในเด็กมากที่สุดในโลก รัฐสภาออสเตรเลียผ่านกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากการอภิปรายกันอย่างเผ็ดร้อนหลายวันจนถึงช่วงดึกวานนี้ วุฒิสภาหรือสภาสูงลงมติให้ผ่านกฎหมายดังกล่าว โดยที่รัฐบาลพรรคแรงงานฝ่ายกลางซ้ายของนายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซี ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายค้านแนวอนุรักษ์นิยม เป็นการกำหนดมาตรฐานให้ประเทศอื่น ๆ ปฏิบัติตามในการผลักดันระดับโลกเพื่อควบคุมอำนาจของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ คาดว่ากฎหมายจะบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายนปี 2568  กำหนดมาตรการควบคุมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้มงวดที่สุดในโลก และจะบังคับให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่า มีการคุ้มครองการยืนยันอายุก่อนเข้าใช้งาน การที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบกฎหมายดังกล่าว ถือเป็นด่านสุดท้ายทางนิติบัญญัติ หลังจากที่สภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอัลบาเนซี ซึ่งกำลังพยายามเพิ่มคะแนนนิยมก่อนการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมปีหน้า ย้ำเตือนก่อนหน้านี้ว่า สื่อสังคมออนไลน์โซเชียลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพกายและใจของเด็ก และเขากำลังมองหาการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ให้ออสเตรเลียเดินหน้าแผนทดลองใช้ระบบตรวจสอบอายุ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลชีวภาพหรือการระบุตัวตนของรัฐบาลเพื่อบังคับใช้การห้ามดังกล่าว การทดลองดังกล่าวจะดำเนินไปเป็นเวลาหลายเดือน และผลการทดลองจะได้รับการทบทวนภายในกลางปี 2568.-815(814).-สำนักข่าวไทย

ออสเตรเลียเสนอร่าง ก.ม. ห้ามเด็กใช้โซเชียล

รัฐบาลออสเตรเลียได้เสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาในวันนี้ ที่มีเป้าหมายในการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย0

ชนเผ่าเมารีประท้วงหน้ารัฐสภานิวซีแลนด์

กลุ่มชนเผ่าเมารีและผู้สนับสนุนสิทธิของชนพื้นเมืองได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงไปยังด้านหน้าของอาคารรัฐสภาในกรุงเวลลิงตันเพื่อประท้วงต่อต้านร่างกฎหมาย

“พ.ต.อ.ทวี” ชี้ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ปัด “ทักษิณโมเดล”

“พ.ต.อ.ทวี” รมว.ยุติธรรม ชี้ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เริ่มที่ศาลออกหมาย ก่อนขอพระราชทานอภัยโทษ ยันไร้ “ทักษิณโมเดล”

person uses social media

ออสเตรเลียจะห้ามเด็กใช้โซเชียลมีเดีย

แคนเบอร์รา 7 พ.ย.- ออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีเข้าถึงการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีของออสเตรเลียแถลงวันนี้ว่า รัฐบาลจะออกกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบตรวจสอบอายุผู้ใช้งานเพื่อเป็นตัวช่วยในการปิดกั้นเด็กจากการเข้าถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย คาดว่ากฎหมายนี้น่าจะมีผลบังคับใช้ได้เร็วที่สุดในราวปลายปีหน้า ผู้นำออสเตรเลียให้เหตุผลว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียกำลังส่งผลร้ายต่อเด็ก ๆ  โดยอ้างว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียที่มากเกินไปในเด็กมีความเสี่ยงทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยเฉพาะความเสี่ยงในเด็กผู้หญิงที่อาจถูกล่อลวงให้เปิดเผยภาพของร่างกายที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้เด็กๆ ยังอาจเจอปัญหาการถูกบุลลี่จากโซเชียลมีเดียอีกด้วย รัฐบาลออสเตรเลียจะนำเสนอร่างกฎหมายนี้ต่อรัฐสภาในปีนี้ ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบก็จะมีผลบังคับใช้ในอีก 12 เดือนหลังจากรัฐสภาให้สัตยาบันรับรองแล้ว คาดว่าการออกหมายนี้น่าจะผ่านสภาได้ไม่ยาก เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านก็ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ขณะนี้มีหลายประเทศที่มีกฎหมายควบคุมการใช้งานโซเชียลมีเดียของเด็ก แต่ออสเตรเลียนั้นถือว่ามีความเข้มงวดมากเพราะจะไม่มีข้อยกเว้นการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของเด็ก แม้ว่าเด็กจะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครองก็ตาม โดยเมื่อปีที่แล้วฝรั่งเศสได้เสนอให้ห้ามเด็กต่ำกว่า 15 ปีใช้โซเชียลมีเดีย แต่มีข้อยกเว้นให้ใช้ได้ถ้าพ่อแม่อนุญาต ขณะที่สหรัฐใช้เวลานับสิบปีเรียกร้องให้บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มต่าง ๆ จัดหาเทคโนโลยีปิดกั้นการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปีหากไม่ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ ทำให้แพลตฟอร์มส่วนใหญ่ต้องปิดกั้นการเข้าถึงบริการของเด็กที่อายุน้อยกว่า 13 ปี.-816(814).-สำนักข่าวไทย  

“ภูมิธรรม” ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจคดีตากใบ

“ภูมิธรรม” เผย ให้ฝ่ายกฎหมายศึกษา พ.ร.ก. แก้ไขอายุความ หลังคดีตากใบจะหมดอายุความ ชี้ เป็นเรื่องเก่า 20 ปีมาแล้ว ยัน รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ มีการเยียวยา ลั่น เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไทย อย่าเอามาเคลื่อนไหวทางการเมือง

“สนธิญา​” ยื่น ปธ.รัฐสภา​ ค้านรับร่างแก้ รธน. ปมจริยธรรม​

“สนธิญา​” ยื่นประธานรัฐสภา​ ค้านรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ​ ปมจริยธรรม​ของพรรคเพื่อไทย-ประชาชน​ ชี้ละเมิดสิทธิ์ประชาชนที่เห็นชอบกว่า 16 ล้านคน อีกทั้ง 2 พรรค มีปัญหาเรื่องจริยธรรมมากที่สุด หวั่น หากรับแก้แตกแยกแน่

“เอ็กซ์” แต่งตั้งตัวแทนทางกฎหมายในบราซิล

แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ “เอ็กซ์” ของอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของเทสลาและสเปซ เอ็กซ์ ได้แต่งตั้งตัวแทนทางกฎหมายในประเทศบราซิลแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อเรียกร้องของศาลสูงสุดของบราซิล

“ชูศักดิ์” คาดได้ดูเรื่องกฎหมาย ยันนายกฯ ไม่สุ่มเสี่ยง

“ชูศักดิ์” ว่าที่ รมต.ประจำสำนักนายกฯ เผยยังไม่คุยมอบหมายงาน คาดได้ดูเรื่องกฎหมาย ยันนายกฯ ไม่มีอะไรสุ่มเสี่ยงเรื่องจริยธรรม เตรียมแก้ประเด็นด้านกฎหมายไว้หมดแล้ว

ออสเตรเลียห้ามติดต่อ พนง.นอกเวลางาน

ซิดนีย์ 27 ส.ค.- ออสเตรเลียเริ่มบังคับใช้กฎหมายสิทธิตัดขาดการติดต่อสื่อสาร เปิดทางให้พนักงานและลูกจ้างไม่ต้องตอบข้อความหรือรับโทรศัพท์จากหัวหน้าในช่วงนอกเวลาทำงาน กฎหมายนี้มีชื่อว่า “สิทธิการตัดขาดการติดต่อสื่อสาร” (Right to Disconnect) ที่เริ่มใช้ในออสเตรเลียอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม เปิดทางให้พนักงานและลูกจ้างสามารถปฏิเสธการตอบข้อความ ตอบอีเมล หรือรับโทรศัพท์ จากหัวหน้าหรือนายจ้าง ที่ส่งมานอกเวลาทำงาน โดยไม่ถูกลงโทษหรือตัดเงินเดือน เพื่อแก้ปัญหาการทำงานรุกล้ำเข้ามาในเวลาส่วนตัวมากขึ้น ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ เพราะทุกคนต้องการเวลาส่วนตัวหลังเลิกงานเพื่อพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัว หรือได้ทำสิ่งที่ตัวเองชอบอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยพะวงว่า จะต้องตอบข้อความเรื่องงานตลอดเวลา ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกเครียดสะสม จนอาจเกิดอาการหมดไฟ (burn out) และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ผลสำรวจในออสเตรเลียที่จัดทำในปีนี้ พบว่าพนักงาน 1 คน ทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้ค่าตอบแทน เฉลี่ยคนละ 281 ชั่วโมง คิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 130,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 3 ล้านล้านบาท) รัฐบาลออสเตรเลียจึงตัดสินใจผ่านกฎหมายนี้ และเริ่มบังคับใช้แล้ว ขณะที่ปัจจุบัน มีหลายสิบประเทศทั่วโลกที่ใช้กฎหมายนี้เพื่อปกป้องสิทธิของพนักงาน ส่วนมากเป็นประเทศในยุโรปและอเมริกาใต้.-815(814).-สำนักข่าวไทย

1 2 3 29
...