12 เมษายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดที่เป็นข่าวใหญ่ ความตระหนักและความตระหนกเกี่ยวกับภัยจาก “โควิด-19” ก็กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ประมวลหลากหลายข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ เรื่องมั่ว เรื่องเก่า วนซ้ำกลับมาแชร์ใหม่ ให้เป็นภูมิคุ้มกัน INFODEMIC ไว้ล่วงหน้า
“ เช็กอาการโควิด ”
แชร์กันว่า : “สัญญาณ Covid-19 สรุปจาก สธ. น่าจะช่วยกันได้บ้าง อาการวันต่อวัน…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ และอาจก่ออันตรายต่อตนเองและคนรอบข้าง
ข้อเท็จจริง : การรอเช็กอาการตนเอง รอจนถึงวันที่ 3-4 ว่ามีไข้หรือไม่นั้น อาจจะทำให้เข้ารับการรักษาล่าช้าและระหว่างนั้นอาจแพร่เชื้อให้คนรอบข้างไปแล้ว ดังนั้น หากมีประวัติเสี่ยง หรือ มีอาการคล้ายไข้หวัด ควรเพิ่มความระมัดระวัง หรือกักตัว สังเกตอาการ และปรึกษาแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุข
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=0xfIirHcuB0
แชร์กันว่า : “หายใจลึก ๆ และกลั้นหายใจ หากทำได้โดยไม่ไอ แสดงว่ายังไม่มีพังผืดในปอด บ่งชี้ว่าเรายังไม่ติดเชื้อ….”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์
ข้อเท็จจริง : การกลั้นหายใจไม่สามารถเช็กอาการโควิด หรือบ่งบอกว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=T2X-TljbFXQ
ข้อสงสัย “ความแตกต่างของอาการ โควิด กับ ไข้หวัดใหญ่”
ข้อเท็จจริง : โควิด 19 กับไข้หวัดใหญ่ มีอาการคล้ายกันได้ ควรใส่หน้ากาก, อยู่บ้าน, กินยา และพบแพทย์
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=O8j86O8R_fE
“ หลากหลายวิธีรักษา/ป้องกัน/ต้านทาน/พิชิต โควิด-19 ”
แชร์กันว่า “กินอาหารที่ pH เป็นด่าง เพื่อเอาชนะไวรัสโควิด-19…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์
ข้อเท็จจริง : การกินอาหารที่เป็นกรดหรือด่างไม่ช่วยฆ่าไวรัสโควิด-19 แต่อย่างใด
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://m.youtube.com/watch?v=vIfJxax8HNc
แชร์กันว่า “ยาเขียว” ขับพิษโควิดได้
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์
ข้อเท็จจริง : ยาเขียวไม่มีผลโดยตรงต่อตัวไวรัส แต่ช่วยบรรเทาอาการบางประการเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://youtu.be/0CoSdPN5SwM
แชร์กันว่า “กระชายขาว ที่ใส่ขนมจีน ต้านไวรัสโควิด-19 ได้”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์
ข้อเท็จจริง : รศ.ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในสถาบันวิจัยหลักเรื่องสารสกัดจากกระชายขาว ยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานว่าการกินกระชายขาวสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ แลไม่แนะนำให้ใช้กระชายขาวเพื่อป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 แม้จะมีข้อมูลจากการวิจัยว่า สารสกัดจากกระชายขาวสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีในห้องปฏิบัติการ โดยขณะนี้ (ม.ค.2564) ยังอยู่ในขั้นการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลอง ยังไม่มีการทดสอบสารสกัดนั้นในคนแต่อย่างใด
แชร์กันว่า : “น้ำชาร้อน 1 กา มะนาว 2 ลูก ดื่มฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้ทันที…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : ไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ระบบทางเดินหายใจ (จมูก-ปอด) การกินหรือดื่มอาหารใดเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร (ปาก-กระเพาะ-ลำไส้) จึงไม่สามารถเข้าไปฆ่าไวรัสได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=2QXKlRb3iwg
แชร์กันว่า : “สูดน้ำอุ่น ช่วยยับยั้งการติดไวรัสโควิด-19…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : ไม่มีหลักฐานหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับหรือแสดงถึงความเป็นไปได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=2QXKlRb3iwg
แชร์กันว่า : “กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ ช่วยยับยั้งการติดไวรัสโควิด-19…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : ไม่มีหลักฐานหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับหรือแสดงถึงความเป็นไปได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=2QXKlRb3iwg
แชร์กันว่า : “ดื่มน้ำขิง ดื่มน้ำมะนาว ดื่มน้ำอุ่น ทำให้หายจากโควิด-19 ได้…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : ไม่มีหลักฐานหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ โควิด-19 เป็นโรคที่หายได้เองจากภูมิต้านทานในร่างกาย ยกเว้นกรณีที่ไวรัสลุกลามไปที่ปอด หรือมีโรคประจำตัวซึ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ ดังนั้น เมื่อป่วยแล้วหวังพึ่งพาเพียงอาหารบางอย่างนั้น อาจทำให้เข้ารับการรักษาไม่ทันการณ์
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=2QXKlRb3iwg
“ ยาฆ่าโควิด ”
แชร์กันว่า : “กินวิตามินซี ฆ่าโควิด-19…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : วิตามินซีมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่วิตามินซีไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำลายไวรัส โดยทั่วไปหากร่างกายสมบูรณ์ดี และรับสารอาหาร (รวมทั้งวิตามินซี) อย่าครบถ้วนจากอาหาร ร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานเป็นปกติ
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=2QXKlRb3iwg
แชร์กันว่า : “กินยา Hydroxychloroquine เพื่อรักษาโควิด-19…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : ยารักษามาลาเรียดังกล่าว ไม่ได้ออกฤทธิ์ต่อไวรัสแต่อย่างใด เป็นยาที่ลดการอักเสบเท่านั้น และการใช้ยานี้อย่างไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดอันตราย เช่น ทำให้ตาบอดได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=2QXKlRb3iwg
“ รู้จัก เข้าใจ ไวรัสโควิด-19 ”
แชร์กันว่า “…โควิดติดผ่านอากาศได้…” : ส่วนใหญ่ไม่จริง
ข้อเท็จจริง : องค์การอนามัยโลกไม่เคยประกาศว่า COVID-19 เป็นโรคที่ติดต่อผ่านทางอากาศ แต่เป็นเชื้อที่ติดต่อผ่านละอองฝอยน้ำลายเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่อาจทำให้ละอองฝอยน้ำลายที่มีเชื้อไวรัสล่องลอยในอากาศได้ เช่น ในระหว่างการใช้เครื่องมือทำหัตถการทางการแพทย์ การตะโกน หรือร้องเพลง โดยเฉพาะในพื้นที่ปิด พื้นที่อับ
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://youtu.be/RHsOMc9O4o8
ข้อสงสัย “เชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่รอดได้นานแค่ไหน ?”
ข้อเท็จจริง : ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สำหรับปัจจัยที่ทำให้ไวรัสอยู่ได้นาน คือ อุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง ค่า pH เป็นกลาง
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://m.youtube.com/watch?v=jtqdE9tDFdY
“ มาตรการรับมือโควิด-19 ”
แชร์กันว่า “สาธารณสุขประกาศฉุกเฉิน ไทยกำลังเข้าสู่การแพร่ระบาดโควิด-19 เฟส 3…”
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์
ข้อเท็จจริง : เป็นข้อมูลเท็จที่ถูกแชร์วนซ้ำมาตั้งแต่ต้นปี 2563
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://tna.mcot.net/sureandshare-665479
แชร์กันว่า “ภาพ 22 จังหวัด เดินทางไปจังหวัดไหน ต้องถูกกักตัว 14 วัน”
บทสรุป : เป็นข้อมูลเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : เป็นข้อมูล เมื่อช่วงวันที่ 6 ม.ค. 2564 ในช่วงการระบาดเมื่อปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลล่าสุดได้จากเว็บไซต์ กระทรวงมหาดไทย http://www.moicovid.com
โพสต์อ้างอิง : https://www.facebook.com/100236671420201/posts/433527154757816/?d=n
แชร์กันว่า “แนวทางปฏิบัติเทศกาลประเพณีสงกรานต์…”
บทสรุป : เป็นข้อมูลเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ
ข้อเท็จจริง : ไม่ใช่ข้อมูลปัจจุบัน แต่เป็นประกาศเก่า เมื่อ 8 เม.ย. 2563
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.m-culture.go.th/narathiwat/ewt_news.php?nid=1956&filename=index
🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter