บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ “6 เคล็ดลับ ป้องกันหลับใน” ขณะขับรถ เช่น อมลูกอมที่มีรสจัด และเปิดกระจกเพื่อให้ลมพัดเข้ามาในห้องโดยสาร เรื่องนี้จริงหรือไม่ ?
🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานทุนง่วงอย่าขับ มูลนิธิรามาธิบดี
เรื่อง “6 เคล็ดลับ ป้องกันหลับใน” ที่แชร์กันเป็นเรื่องจริง
สิ่งสำคัญก็คือ “ช่วงก่อนเดินทาง” ทุกคนควรจะนอนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมง
ต้องถือว่า “การนอนหลับ” เป็นเรื่องสำคัญของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับรถ ทั้งการขับรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) ดังนั้น ต้องนอนหลับให้เพียงพอ เข้านอนให้เป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา และอย่าอดนอน
“การอดนอน” สมองจะเรียกคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอดนอนคืนละ 1 ชั่วโมง วันละ 7 ชั่วโมง สมองจะมีการเรียกคืน โดยไม่สนใจว่าตัวเรากำลังทำอะไร แต่จะบอกให้ “หลับ”
เคล็ดลับข้อที่ 1 : ไม่กินอาหารอิ่มเกินไป ช่วยแก้หลับในได้ จริงหรือ ?
กินอาหารมากเกินไปก็ไม่ถึงขนาดนั้น
การกินอาหารมากเกินไปก่อนเดินทาง “เน้นวันก่อนเดินทาง” อาจจะทำให้นอนหลับไม่สนิทได้ จึงควรกินให้อิ่มพอดี ๆ
เคล็ดลับข้อที่ 2 : ดื่มน้ำเป็นระยะ ๆ ขณะขับรถ ช่วยแก้หลับใน จริงหรือ ?
ทำอะไรก็ได้ให้มีการ “ขยับปาก” เช่น ดื่มน้ำ เคี้ยวหมากฝรั่ง กินขนม
การขยับปากจะทำให้ร่างกายตื่น
เคล็ดลับข้อที่ 3 : กินลูกอมที่มีรสเปรี้ยว ๆ และ/หรือ เผ็ด ช่วยแก้หลับในได้ จริงหรือ ?
การอมลูกอมรสเปรี้ยว เผ็ด หมากฝรั่ง ช่วยได้ เพราะมีการขยับปากเรื่อย ๆ รวมถึงการพูดคุย และการดื่มน้ำ
เคล็ดลับข้อที่ 4 : สูดลมหายใจลึก ๆ ช่วยแก้หลับในได้ จริงหรือ ?
การหายใจลึก ๆ ขยับตัว บิดตัว ช่วยให้ตื่นขึ้นมาได้บ้าง
คนที่ขับรถแล้วนิ่ง ๆ มีโอกาสหลับได้ง่าย
มีบางคนใช้ยาดมกลิ่นแรง ๆ สูดเข้าจมูกก็ช่วยทำให้ตื่นได้
เคล็ดลับข้อที่ 5 : เปิดกระจกเพื่อให้ลมภายนอกเข้ามาในตัวรถ ช่วยแก้หลับในได้ จริงหรือ ?
การเปิดกระจกให้ลมจากภายนอกเข้ามาในตัวรถช่วยเรื่องหลับในได้น้อย
มีบางคนขี่รถมอเตอร์ไซค์อยู่ในที่โล่งแจ้งก็ยังหลับในได้เลย
เคล็ดลับข้อที่ 6 : เปิดเพลง เปิดวิทยุเสียงดังขณะขับรถ ช่วยแก้หลับในได้ จริงหรือ ?
การฟังวิทยุ ดูทีวี ขณะขับรถไม่ช่วยแก้หลับใน การเปิดเพลงดัง ๆ ก็ยังไม่พอ
คนขับรถต้องร้องเพลง ต้องพูดตาม คนขับรถฟังเพลงเฉย ๆ ได้ยินเสียงอย่างเดียวยังไม่พอ
ดังนั้น คนขับรถต้องพูดตาม ต้องร้องเพลงด้วย เป็นการขยับปากจะช่วยได้มาก
ขับรถอย่างปลอดภัย ควรทำอย่างไร
เพื่อความปลอดภัยในการขับรถ และเดินทางอย่างมีความสุข มีคำแนะนำดังนี้
1.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ส่งผลให้มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2.หลีกเลี่ยงยาที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด ยาแก้ไอ
3.มีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ เช่น โรคนอนกรน โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคลมหลับ บางคนนอนอย่างพอเพียงแล้ว วันละ 8 ชั่วโมงทุกคืน ก็ยังมีอาการง่วงอยู่ ควรปรึกษาแพทย์
อันตรายจากการหลับในขณะขับขี่ สามารถคร่าชีวิตคนเราได้เพียงเสี้ยววินาที เนื่องจากไม่สามารถบังคับสมองไม่ให้หลับได้ และสมองก็ไม่สนใจด้วยว่าเรากำลังกิจกรรมทำอะไรอยู่ การหลับป๊อกไปเพียง 4 วินาที ที่ความเร็ว 90 กม./ชม. รถจะพุ่งไป 100 เมตร โดยไร้การควบคุมและพุ่งชนเต็มที่ แรงปะทะเทียบเท่าตกตึก 10 ชั้น ผู้ประสบเหตุจึงเสียชีวิต 100%
ถึงแม้ว่าสื่อสังคมออนไลน์มีการแนะนำสารพัดวิธีแก้ง่วง แก้อาการหลับใน สิ่งสำคัญต้องแก้ไขที่ต้นเหตุเป็นหลัก ได้แก่ อย่าอดนอน (นอนให้เพียงพอ) ถ้าง่วงน้อยก็แก้ไขด้วยการขยับปากร้องเพลง และพูดคุยกับคนในรถเป็นระยะ และหาของขบเคี้ยว
ถ้าขยับปากพูดคุยแล้วก็ยังมีอาการง่วงอยู่ เพื่อป้องกันการหลับใน จะต้องหาที่จอดอย่างปลอดภัยและพักสักครู่
เคล็ดลับ 6 ข้อที่แนะนำช่วยแก้ปัญหาหลับใน บางอย่างก็ช่วยได้
ง่วงไม่ขับ จอดหลับพักผ่อน อย่างฝืนเมื่อว่วงนอน เพื่อการเดินทางที่ราบรื่นและปลอดภัย
สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 6 เคล็ดลับป้องกันหลับใน จริงหรือ ?
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter