พฤติกรรมการโพสต์ หรือแชร์เรื่องส่วนตัวมากเกินไปบนโลกออนไลน์ ส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการถูก Online Grooming ได้ง่าย
🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
พฤติกรรมที่มีการแชร์หรือบอกเล่าเรื่องราวของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ผ่านการพูดคุย หรือการโพสต์บนโลกออนไลน์มากเกินไป (Over Sharing) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. การแชร์ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ
2. บอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึก
3. ข้อมูลทั่ว ๆ ไปที่อ่าน แต่อยากให้คนอื่นอ่านด้วย มีการส่ง link ตามกลุ่มต่าง ๆ
พฤติกรรม Over Sharing มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการแชร์ข้อมูลความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA : Digital Government Development Agency (Publlic Organization) มีคำแนะนำ 6 ข้อมูลส่วนตัว ที่ไม่ควรโพสต์บนโลกออนไลน์ ได้แก่
1. ข้อมูลบนบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ใบขับขี่
2. สลิปเงินเดือน
3. รูปภาพของตนเอง ตั้งเป็นสาธารณะ
4. รูป Boarding Pass
5. ระวังการ Check in ข้อมูลที่ตั้ง
6. ประวัติการรักษาและประวัติการศึกษา
ทว่า Over Sharing จะแชร์บรรดาข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เหล่านี้จากตัวเราบอกให้คนอื่นรับรู้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องอันตรายอย่างมากสำหรับทุกคน
ปัญหา OVERSHARING ที่พบบ่อยในกลุ่มเด็กและเยาวชน
เด็กและเยาวชนใช้ Social Media เป็นพื้นที่แสดงทางอารมณ์
สมมุติว่ามีปัญหาซึมเศร้า เหงา รู้สึกไม่มีใครเข้าใจ แต่ไม่เก็บไว้ ระบายออกทาง Status ผ่านทางโพสต์
กลุ่มคนที่เป็นอาชญากร โดยเฉพาะอาชญากรไซเบอร์ จะจับเป้าหมายเลยว่า เด็กคนไหนโพสต์ว่าเหงา พ่อแม่ไม่เข้าใจ ที่บ้านไม่ใช่ safe zone เพื่อนไม่ใช่มิตรแท้ หรือครูไม่เข้าใจฉัน ไม่มีใครเข้าใจโลกฉันเลย แล้วก็โพสต์ออกไปเพื่อแสดงความรู้สึกอันโดดเดี่ยว อ้างว้าง ซึมเศร้า เหงา เป็นต้น
อาชญากรจะเข้ามาแสดงความสนใจเด็กคนนั้นทันทีและชวนพูดคุย เป็นอย่างไรเหรอ ทะเลาะกับที่บ้าน เรียนไม่ได้ กิจกรรมไม่เด่น มีปัญหาเรื่องอะไร คุยกับเราได้นะ หลังจากนั้นก็คุยกันและแลกเปลี่ยน “ความลับ” (ความลับของเราฝ่ายเดียว แต่อาชญากรไม่เปิดเผยตัว)
ตัวอาชญากรจะแสดงความเห็นอกเห็นใจและนำมาซึ่งความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยการให้เงินหรือสิ่งของ เพื่อเป็นกับดักหรือการล่อลวงให้ติดกับในอนาคตก็ได้
น้อง ๆ ต้องรู้จักจัดการอารมณ์นั้นด้วยตนเอง พูดคุยกับพ่อแม่และคนในครอบครัวดีกว่าการนำไปโพสต์ เพราะอาชญากรมีเจตนาไม่ดี
ดังนั้น ก่อนโพสต์อะไรควรคำนึงถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
ผลกระทบระยะสั้น : สร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
ผลกระทบระยะกลาง : เกิดปัญหาการจัดการอารมณ์
ผลกระทบระยะยาว : ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ไม่ดี ทั้งการเรียนและการทำงาน
ดังนั้น ไม่ควร OVERSHARING ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไปในที่สาธารณะ ทั้งความรู้สึกส่วนตัวและข้อมูลข่าวสารที่รบกวนผู้อื่นมากเกินไป ซึ่งมีหลายเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ สุขภาพ และเสี่ยงถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้
สัมภาษณ์โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง
เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : OVERSHARING — การแชร์เรื่องส่วนตัวเยอะเกินไป !
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter