สิ่งนี้…เป็นโรคทางจิต ที่เกี่ยวกับการชอปปิงซื้อของมากเกินไป และ สิ่งนี้ …พบว่าในปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ?
🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
SHOPAHOLIC โรคทางจิตชนิดหนึ่ง ใช้เรียกบุคคลที่มีการใช้จ่ายเงินซื้อของ หรือ Shopping เกินตัว จนทำให้เกิดปัญหาตามมา
SHOPAHOLIC เป็นพฤติกรรมเสพติดการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น ซื้อสินค้าที่ไม่ได้ใช้ หรือซื้อสินค้าที่ไม่ได้มีความต้องการ
มีรูปแบบ 4 อย่าง ได้แก่ Compulsive buying Emotional buying Addictive buying Social buying
1. Compulsive buying การซื้อของแบบบีบบังคับห้ามใจตัวเองให้หยุดซื้อไม่ได้
2. Emotional buying การระบายอารมณ์ความเครียดด้วยการซื้อของ
3. Addictive buying การซื้อของที่มีความสนใจมาเก็บสะสมไว้จำนวนมาก
4. Social buying การซื้อของตามแรงกดดันของสังคม ซื้อตามผู้อื่น
ปัจจัยกระตุ้น SHOPAHOLIC มีอะไรบ้าง ?
SHOPAHOLIC มีปัจจัยกระตุ้น 3 ส่วน ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิตวิทยา มีความเหงา เศร้า ซึม การซื้อคือการตอบสนองเรา ความเศร้าจะหายไป แต่เป็นเพียงชั่วครู่เท่านั้น
2. ปัจจัยทางสังคม เห็นเพื่อนซื้อ เห็นเพื่อนมี เป็นการซื้อตามกัน
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีบัตรเครดิต บางครั้งการซื้อยังไม่ถึงเหตุแห่งความจำเป็น ซื้อเพราะถูกกระตุ้นโดยปัจจัยแวดล้อม
Social media กระตุ้นการซื้อมาก บางครั้งเขาไม่ได้พูดตรง ๆ หรอกว่าเขามาขายอะไร แต่ภาพที่ออกมา เช่น เสื้อผ้า หน้าผม อุปกรณ์ประกอบฉากต่าง ๆ กระตุ้นความรู้สึกเชิงบุคลิกภาพ ดังนั้น เมื่อเห็นแล้ว ดูแล้ว ก็จำเป็นต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจ
แก้ไขพฤติกรรม SHOPAHOLIC อย่างไร
เรื่องSHOPAHOLIC สามารถแก้ไขได้
1. บำบัดด้วยการพบแพทย์
2. บำบัดด้วยการกินยา
3. บำบัดด้วยกลุ่มเพื่อนบำบัด
4. บำบัดด้วยการหลีกเลี่ยง
ในยุคที่โลกออนไลน์ทำให้การซื้อขายทำได้ง่าย หลายคนที่มีพฤติกรรมชื่นชอบ Shopping Online และอาจเข้าข่าย SHOPAHOLIC การรู้เท่าทันสื่อที่มาเชิญชวน รู้ถึงภาวะอารมณ์ รู้ถึงเหตุผลของการจับจ่าย ก็อาจเป็นสิ่งที่จัดการกับพฤติกรรมนี้ได้อย่างดีขึ้น
สัมภาษณ์โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง
เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : CALIPHSOOH ? — โรคทางจิต เมื่อเสพติดการชอปปิง !
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter