ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า ห้ามสตาร์ตรถนอน เพราะอาจเสียชีวิตได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ?


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์

เรื่องนี้จริงและแชร์ต่อได้ แต่ก็มีคนแย้งว่าทำแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลย เรียกว่าอยู่ที่พื้นที่จอดรถและเวลาในการนอนด้วย


ทำไมถึงบอกว่า “ห้ามสตาร์ตรถนอน” ?

เครื่องยนต์ระบบสันดาปสามารถปล่อยก๊าซพิษออกมาได้

โดยปกติแล้วขณะที่อยู่ในรถยนต์จะมีก๊าซพิษ 2 ตัวหลัก ๆ คือ


1. คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ออกจากร่างกายคนเรา

2. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ออกจากปลายท่อไอเสียรถยนต์

ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ มีน้ำหนักเบากว่าก๊าซออกซิเจน (Oxygen) เวลาขับรถยนต์ปกติและรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พ่นออกมาก็กระจายอยู่ในบรรยากาศ

การขับรถยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะมีก๊าซออกซิเจนเข้ามาในตัวรถด้วย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กระจายอยู่ในรถก็ถูกดันออกไปด้านนอกตัวรถด้วย

ถึงแม้ว่าคนเราจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดเวลา แต่รถยนต์ถูกออกแบบให้อากาศภายนอกหมุนเวียนเข้ามาได้ จึงทำให้สามารถขับขี่รถยนต์ได้โดยไม่มีปัญหา

กรณีการจอดรถยนต์บริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์สามารถย้อนกลับเข้ามาในตัวรถยนต์ได้

ก๊าซพิษสามารถเข้าสู่ตัวรถยนต์ทางไหน ?

รถยนต์แต่ละคันจะมีช่องระบายที่เปิด-ปิดอัตโนมัติตามแรงลม

ดังนั้น การจอดรถยนต์บริเวณที่การถ่ายเทอากาศไม่ดี ก๊าซพิษก็จะอยู่บริเวณรอบตัวรถจะซึมผ่านเข้าตัวรถส่งผลกับคนที่อยู่ในรถยนต์ได้

ขณะที่เราหายใจนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจนไหลเวียนสู่ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

แต่ถ้าเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เราหายใจเข้าสู่ร่างกาย ปรากฏว่าคาร์บอนมอนอกไซด์เบากว่าก๊าซออกซิเจน ขณะที่อยู่ในพื้นที่จำกัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถรวมตัวกับเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจน 2 เท่า นั่นคือตัวเราซึมซับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจน

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ขณะนอนหลับ ตัวก๊าซที่เข้ามาคนเราหายใจปกติ อากาศหมุนเวียนจากภายนอกเข้ามาในตัวรถยนต์ได้น้อยลงกว่าเดิม มีก๊าซพิษเข้ามาสู่เม็ดเลือดแดงได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจนน้อยลง สมองก็ทำงานช้าลง เกิดอาการง่วง ซึม หลับ และถึงขั้นหมดสติได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต

การนำรถยนต์ไฟฟ้าตั้งแคมป์และนอนหลับในรถยนต์ ทำได้จริงหรือ ?

รถยนต์ไฟฟ้ามีโหมดตั้งแคมป์ และบอกว่านอนได้ปลอดภัย

ตัวรถยนต์ไฟฟ้าถึงแม้จะไม่มีมลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ (ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์) แต่คนเราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้น ถ้าจะนอนในรถยนต์ไฟฟ้า มีสิ่งที่ควรจะต้องทำ ได้แก่

1. เปิดระบบปรับอากาศภายในตัวรถยนต์เป็นอัตโนมัติ เมื่อเป็นระบบอัตโนมัติแล้วตัวระบบจะปรับช่องทิศทางกระจายลมปรับอากาศภายในห้องโดยสาร พร้อมกับเปิด-ปิดช่องรับอากาศจากภายนอกเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงจากขาดก๊าซออกซิเจน หรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจออกปริมาณมากเกินไป

2. ต้องแน่ใจว่าจุดที่ตั้งแคมป์จอดรถยนต์ไฟฟ้า ไม่มีเพื่อนร่วมทางจอดรถยนต์สันดาปติดเครื่องอยู่

3. จอดรถยนต์ตั้งแคมป์ บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทดี ถึงแม้จะไม่มีรถยนต์สันดาปติดเครื่องอยู่ใกล้ ๆ ก็ตาม

4. ไม่ควรนำเต็นท์ขนาดใหญ่ครอบรถยนต์ไฟฟ้าขณะตั้งแคมป์ เพราะต้องระมัดระวังเรื่องอากาศหมุนเวียนและมีช่องทางให้ก๊าซออกซิเจนเข้ามาในห้องโดยสารด้วย

5. สถานที่จอดรถยนต์จะต้องมีอากาศถ่ายเทดี เป็นพื้นที่โล่ง มีลมผ่านและสามารถพัดไอเสียออกไปจากตัวรถได้

6. ไม่ควรนอนหลับในรถยนต์ที่สตาร์ตเครื่องไว้เป็นเวลานาน แต่ควรนอนพักสายตาช่วงเวลาสั้น ๆ 10-15 นาที เพราะถ้านานกว่านี้อาจเกิดอันตรายได้ เพราะถ้าต้องการนอนพักนาน ๆ ควรหาสถานที่ปลอดภัยและดับเครื่องยนต์นอนพักได้อย่างปลอดภัย

คำเตือน “สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต” นี้สามารถแชร์ต่อได้

“คาร์บอนไดออกไซด์” : ก๊าซอันตราย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อโรคได้ทางหนึ่งโดยการแทนที่ออกซิเจน (Asphyxiant) ทำให้ออกซิเจนในอากาศมีไม่พอ จึงเกิดพิษจากภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxia) ขึ้นได้ การที่มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด (Hypercapnia) ไม่ว่าจะจากการขาดออกซิเจนหรือได้รับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปมากก็ตาม จะทำให้เลือดเป็นกรด (Acidosis) เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด กระตุ้นระบบหายใจให้หายใจเร็วขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว และกดสมอง

อาการเฉียบพลัน การได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายโดยการสูดหายใจเข้าไปเป็นหลัก

การสัมผัสกับก๊าซที่ผิวหนังหรือกลืนกินเข้าไปไม่ทำให้เกิดพิษ เมื่อสูดหายใจเอาก๊าซเข้าไป ในระยะแรกจะทำให้เกิดอาการหายใจเร็ว หายใจลึกขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเร็ว หากได้รับในปริมาณมากขึ้น จะเริ่มมีผลกดสมอง ทำให้ซึมลง ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ มึนงง สับสน การได้ยินลดลง และรบกวนการมองเห็น เนื่องจากสมองถูกกดการทำงาน ที่ผิวหนังจะเกิดหลอดเลือดขยายตัว เหงื่อออก กล้ามเนื้อสั่นกระตุก (Tremor) อาจพบมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียได้ บางรายอาจมีอาการคลั่ง (Panic) หากได้รับปริมาณสูงมากจะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

อาการพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้มักจะพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) ได้เสมอ ซึ่งภาวะขาดออกซิเจนอาจนำไปสู่อาการอย่างอื่นๆ เช่น สมองตาย ไตเสื่อม ตาบอด ตามมาได้

อาการระยะยาว การได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับสูงกว่าปกติสามารถพบได้ในตึกที่ระบบระบายอากาศไม่ดี ระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมนั้น ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง เพื่อดูอัตราการไหลเวียนของอากาศภายในอาคาร ผลของการได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปนาน ๆ อาจทำให้ปวดหัวบ่อย กดสมอง มึนงง ง่วงซึม เครียด ความดันเลือดและอัตราการหายใจอาจเพิ่มสูงขึ้นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sci.psu.ac.th/news/2021/07/get-to-know-carbon-dioxide/

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ : ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้อย่างไร

คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำร้ายร่างกาย มีอันตรายถึงชีวิต โดยก๊าซปะปนอยู่ในอากาศ หลายครั้งที่มีการสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก่อให้เกิดโรคร้ายตามมา และบางกรณียังทำให้เสียชีวิตฉับพลัน

  • ร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
  • คาร์บอนมอนอกไซด์แย่งจับฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง
  • ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงส่วนที่เหลือไม่ปล่อยออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ร่างกายขาดออกซิเจน เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ
  • ทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หมดสติ ชัก โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์-ส่/

พิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

“คาร์บอนมอนอกไซด์” เป็นก๊าซที่พบได้ในควันจากไฟไหม้ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการใช้เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ รวมถึงท่อไอเสียรถยนต์

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ระคายเคือง จึงทำให้ผู้ที่ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปจะไม่รู้ว่าตนเองกำลังสัมผัสก๊าซอยู่

กลไกการเกิดพิษของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการที่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความสามารถในการจับกับฮีโมโกลบินมากกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า ซึ่งเมื่อจับแล้วจะกลายเป็นสารประกอบคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ทำให้มีฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนในเลือดน้อยลง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อส่วนปลายได้ลดลง เนื้อเยื่อในร่างกายจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน

อาการพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พบได้บ่อย คือ ปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ

อาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย สับสน และอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ให้นำผู้ป่วยออกจากจุดที่มีการสัมผัสก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และให้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยที่สัมผัสก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ดังกล่าว เปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่สะอาด ร่วมกับการให้ออกซิเจน 100% โดยเร็ว และให้การรักษาแบบประคับประคองอย่างใกล้ชิด และบางรายอาจพิจารณาการให้ออกซิเจนความดันบรรยากาศสูงตามความเหมาะสม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/249897

สัมภาษณ์โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต จริงหรือ ?

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ศาลตัดสินพิรงรอง

“พิรงรอง” รับกังวลใจ วันนี้ศาลตัดสิน คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช.

“พิรงรอง” ถึงศาล รับกังวลใจ คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช. ปมส่งใบเตือนทีวีดิจิทัลมีโฆษณาแทรก ยืนยันทำหน้าที่อย่างถูกต้อง

ผู้สมัคร นายก อบจ.สมุทรปราการ หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง ร้อง ปธ.สภา

ผู้สมัคร นายก อบจ. สมุทรปราการ พรรคประชาชน หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง อบจ.ร้องประธานสภา จี้ กกต.สอบให้ความเป็นธรรม ลั่นจะไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบ

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

บุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน

ตำรวจนครบาลบุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน สร้างเพจปลอมเป็นหน่วยงานตำรวจ และ ปปง. หลอกเหยื่อว่าสามารถติดตามทรัพย์สินที่ถูกหลอกคืนได้ ค้นบ้านพบซิมบ็อกซ์โทรศัพท์ และ QR Code ปลอม จำนวนมาก

ข่าวแนะนำ

ปล้นร้านสะดวกซื้อ

รวบ 6 เยาวชน ก่อเหตุปล้นร้านสะดวกซื้อปัตตานี

รวบแล้ว 6 โจร ปล้นร้านสะดวกซื้อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้เงินกว่า 4,000 บาท พบผู้ก่อเหตุทั้งหมด เป็นเยาวชนอายุระหว่าง 14-16 ปี

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

นายกฯพบสีจิ้นผิง

นายกฯ เข้าเยี่ยมคารวะ “สี จิ้นผิง”

นายกฯ เข้าเยี่ยมคารวะ “สี จิ้นผิง” ย้ำความสัมพันธ์ทางการทูตและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ด้านจีนหนุนไทยมีบทบาทในเวที ระดับโลกและภูมิภาค

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

“ภูมิธรรม” ลงพื้นที่แม่สอด ชี้ยังสรุปไม่ได้ หลังตัดไฟเมื่อวาน

“ภูมิธรรม” ลงพื้นที่แม่สอด ชี้ยังสรุปไม่ได้ หลังตัดไฟแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ ขอทำไปประเมินไป อย่าทำให้เป็นประเด็น มองเป็นสิทธิฝั่งเมียนมาซื้อไฟฟ้าจากลาว ลั่นเดี๋ยวต้องคุยอีก ย้ำตัดไฟครั้งนี้ไม่ได้ใช้อารมณ์ รู้อยู่กระทบเศรษฐกิจบ้าง แต่แค่ 0.1%