ชัวร์ก่อนแชร์: ลิ่มเลือดจากวัคซีนโควิด-19 ต่างจากลิ่มเลือดคนทั่วไป จริงหรือ?

09 มีนาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางเว็บไซต์ในต่างประเทศ เมื่อ Epoch Times เว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอม เผยแพร่บทความที่อ้างว่าลิ่มเลือดของผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากลิ่มเลือดของคนทั่วไป โดยอ้างผลการทดลองที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ Natural News ที่กล่าวอ้างว่า โครงสร้างลิ่มเลือดของผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างจากคนไม่ฉีดวัคซีนอย่างชัดเจน


บทสรุป :

ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในร่างกายแต่ละส่วนมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน จึงบอกไม่ได้ว่าความแตกต่างนี้เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนหรือไม่

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


อย่างไรก็ดี การตรวจสอบโดย Fact Checker จาก Health Feedback พบว่า ผลการทดลองลิ่มเลือดจากเว็บไซต์ Natural News ขาดความน่าเชื่อถือด้วยเหตุผล 2 ประเด็นคือ 1. เว็บไซต์มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 บ่อยครั้ง และ 2. การทดลองมีจุดบกพร่องหลายข้อ

ประวัติการเผยแพร่ข่าวปลอมของ Natural News

Natural News เคยถูกตรวจสอบจาก Fact Checker ในต่างประเทศเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ทั้งการกล่าวหาว่าวัคซีนคือสาเหตุของการก่อมะเร็ง และเป็นแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยวัคซีน (Vaccine Holocaust)

เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง Media Bias/Fact Check กล่าวถึงว่า Natural News คือแหล่งข้อมูลด้านทฤษฎีสมคบคิดและวิทยาศาสตร์ปลอม และเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือที่สุดบนอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังเคยถูกสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง Facebook, Google และ YouTube ลบข้อมูลออกจากแพลตฟอร์ม ในข้อหาเผยแพร่ข่าวปลอมอีกด้วย

ลิ่มเลือดแต่ละส่วนมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน

ข้อกล่าวอ้างของ Natural News เกิดจากทดลองที่มีการนำลิ่มเลือดของผู้ที่อ้างว่าฉีดวัคซีนโควิด-19 และลิ่มเลือดของผู้ไม่ฉีดวัคซีน มาตรวจสอบผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า ICP-MS หรือเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ธาตุ โดยสามารถวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างของลิ่มเลือด

Natural News อ้างว่า ลิ่มเลือดของผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างลิ่มเลือดของคนที่ไม่ฉีดวัคซีนอย่างมาก จนไม่เหมือนกับเลือดของมนุษย์ เนื่องจากมีปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะมีแร่เหล็กเพียง 4.4% เมื่อเทียบกับที่พบในลิ่มเลือดของคนทั่วไป

อย่างไรก็ดี เหตุผลดังกล่าวไม่สามารถใช้อ้างว่าวัคซีนไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากลิ่มเลือดจากตำแหน่งในร่างกายที่ต่างกัน ส่งผลให้โครงสร้างของลิ่มเลือดมีความแตกต่างกัน

งานวิจัยปี 2020 ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์วารสารการแพทย์ Nature ได้เปรียบเทียบโครงสร้างลิ่มเลือดที่พบในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ซึ่งพบว่าลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง (Arterial Clots) มีองค์ประกอบหลักคือ โปรตีนไฟบรินหรือโปรตีนที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว (43%) และ เกล็ดเลือด (31%) และมีเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบเพียงเล็กน้อย

ส่วนลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous Clots) พบว่ามีเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบมากถึง 63%

ในเซลล์เม็ดเลือดแดงมีโปรตีนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์เนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดย ฮีโมโกลบิน ถือเป็นโปรตีนที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่พบว่า ยิ่งลิ่มเลือดก่อตัวมาเป็นเวลานานเท่าไหร่ ปริมาณโปรตีนไฟบรินในลิ่มเลือดจะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

จึงสรุปได้ว่า การนำความแตกต่างของปริมาณแร่ธาตุในลิ่มเลือดมาใช้เป็นหลักฐานเพื่อโจมตีความไม่ปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะความแตกต่างของโครงสร้างในลิ่มเลือดมาจากหลายปัจจัย โดยตำแหน่งของลิ่มเลือดที่แตกต่างกันในร่างกาย ทำให้โครงสร้างของลิ่มเลือดมีความแตกต่างกัน รวมถึงระยะเวลาของการเกิดลิ่มเลือด ก็ทำให้โครงสร้างของลิ่มเลือดเปลี่ยนไปอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://healthfeedback.org/claimreview/mike-adams-flawed-analysis-clot-embalmer-richard-hirschman-doesnt-demonstrate-link-between-blood-clots-and-covid-19-vaccines-epoch-times/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ฉายาตำรวจปี67

เปิด 10 ฉายาตำรวจ ปี 67

สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมฯ เปิด 10 ฉายา ตำรวจ “บิ๊กต่าย” ฉายา “กัปตันเรือกู้” จากภารกิจร้อนในการกอบกู้วิกฤติศรัทธา-ภาพลักษณ์องศ์กร “สารวัตรแจ๊ะ” ได้ฉายา “อย่าเล่นกับระบบ แจ๊ะ”

นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญปีใหม่68 จากตำรวจ

“แพทองธาร” นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญจากตำรวจ มอบให้ประชาชน 4 โครงการ ช่วงปีใหม่ 2568 ทั้งที่พักฟรี-ราคาถูก ชวนโหลดแอปฯ Cyber Check ตรวจสอบป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง

ฉายาสภาปี67

ฉายาสภาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้าน วุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์”

สื่อสภาตั้งฉายาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้านวุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์” ส่วน “วันนอร์” รูทีนตีนตุ๊กแก ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” ส่วนผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง”