ชัวร์ก่อนแชร์: ชาติที่ฉีดวัคซีนน้อย ยอดตายปี 2022 ลดลง จริงหรือ?

16 มีนาคม 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : Reuters Fact Check (สหราชอาณาจักร)
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ประเภทข่าวปลอม : ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. เป็นการเสนอข่าวแบบ Cherry Picking
  2. เป็นการนำอัตราการฉีดวัคซีนที่แตกต่างในแต่ละประเทศ มาเชื่อมโยงกับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินอย่างไม่ถูกต้อง

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook และ Twitter ในต่างประเทศ โดยอ้างรายงานข่าวที่พบว่า ชาติในทวีปยุโรปที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง กลับพบการเสียชีวิตส่วนเกินในปี 2022 เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตรงข้ามกับประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศต่ำ กลับพบการเสียชีวิตส่วนเกินในปี 2022 น้อยลงอย่างมาก จนคลิปรายงานข่าวทำยอดวิวรวมกันกว่า 2 แสนครั้ง และมีการแชร์ไปแล้วกว่า 5,700 ครั้ง

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


คำกล่าวอ้างดังกล่าว นำมาจากรายงานโดยสถานีข่าว GB News ของสหราชอาณาจักร ออกอากาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2022 โดยผู้ประกาศ มาร์ค สเตย์น นำเสนอข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากร 100 คนในชาติของทวีปยุโรป ที่รวบรวมโดย Statista บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติจากประเทศเยอรมนี

ข้อมูลที่รวบรวมจนถึงเดือนมกราคม 2023 พบว่า โปรตุเกส คือชาติในทวีปยุโรปที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากร 100 คนสูงที่สุด โดยฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 272 โดสต่อประชากร 100 คน ตามมาด้วยประเทศมอลต้า ที่ฉัดวัคซีนประมาณ 258 โดสต่อประชากร 100 คน และ เบลเยี่ยม ที่ฉัดวัคซีนประมาณ 253 โดสต่อประชากร 100 คน

ส่วน บัลแกเรีย คือชาติในทวีปยุโรปที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากร 100 คนน้อยที่สุด โดยฉีดวัคซีนไปเพียง 67 โดสต่อประชากร 100 คน

อีกสถิติที่นำมาเปรียบเทียบในรายงาน คือ อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินของชาติยุโรปในเดือนมิถุนายน 2022 ที่รวบรวมโดย Eurostat หน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรป

เมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของเดือนมิถุนายนในปี 2016 จนถึงปี 2019 พบว่า บัลแกเรีย คือชาติที่มีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินน้อยที่สุดในปี 2022 โดยน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ -7.9% ทั้งๆ ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากรน้อยที่สุด ส่วนประเทศโปรตุเกสที่มีคนฉีดวัคซีนโควิด-19 มากที่สุด กลับมีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินสูงที่สุดในปี 2022 โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 23.9%

มาร์ค สเตย์น ผู้ประกาศในรายการตั้งข้อสรุปว่า ประเทศที่ฉีดวัคซีนน้อยที่สุด กลับมีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินน้อยที่สุด ส่วนประเทศที่ฉีดวัคซีนมากกลับมีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินสูงที่สุด ก่อนจะสรุปรายการด้วยความเห็นเชิงกระทบกระเทียบว่า “ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ไม่ใช่ผลลัพธ์ของเหตุการณ์จริงหรือ” (Correlation is not Causation?)

อย่างไรก็ดี การนำอัตราการฉีดวัคซีนและอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินมาเปรียบเทียบ เพื่ออ้างว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่มีประโยชน์ในการป้องกันการเสียชีวิต ถือเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง

โฆษกของ Statista ชี้แจงต่อ Reuters Fact Check ว่า การนำอัตราการฉีดวัคซีนของคนทั้งประเทศมาเทียบกับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินที่เกิดขึ้นเพียงเดือนเดียว เป็นเรื่องที่ไร้สติอย่างมาก

เจฟฟรีย์ มอร์ริส ผู้อำนวยการศูนย์ชีวสถิติ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) อธิบายต่อ Reuters Fact Check ว่า รายงานข่าวของ GB News คือรูปแบบของการ Cherry Picking ด้วยการนำอัตราการฉีดวัคซีนที่แตกต่างในแต่ละประเทศ มาใช้สนับสนุนแนวคิดของตนเองโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หากจะอ้างว่าวัคซีนโควิด-19 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตส่วนเกินเพิ่มขึ้น จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศที่ผู้อ้างจงใจทำให้ผู้คนหลงเชื่อเท่านั้น

การที่ผู้ประกาศกระทบกระเทียบแนวคิด “ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ไม่ใช่ผลลัพธ์ของเหตุการณ์” (Correlation is not Causation) ถือเป็นการไม่ยอมรับแนวทางหาผลลัพธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผล ทางรายการไม่แม้แต่จะพิสูจน์ความถูกต้องของข้อกล่าวอ้าง ด้วยการนำข้ออ้างไปเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากประเทศที่จงใจให้ผู้คนหลงเชื่อ

นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินยังมาจากสาเหตุอันหลากหลาย การนำอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินมาเทียบกับอัตราการฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศ ไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตได้ดีหรือไม่

เจฟฟรีย์ มอร์ริส อธิบายว่า การจะหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการฉีดวัคซีนกับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในระดับบุคคล ทั้งสาเหตุการเสียชีวิต, สถานะการฉีดวัคซีน และการเปรียบเทียบระหว่างประชากรที่ฉีดวัคซีนและไม่ฉีดวัคซีน

นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรกวนที่ต้องใช้พิจารณาอีกหลายอย่าง ทั้งอายุ, เพศ, สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม, โรคประจำตัว, ความเสี่ยงติดเชื้อของแต่ละอาชีพ รวมถึงประวัติการติดเชื้อโควิด-19

โฆษกของ Eurostat หน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรปชี้แจงว่า อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินอาจเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งกรณีของประเทศโปรตุเกสอาจเป็นผลมาจากคลื่นความร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศโปรตุเกสและสเปนในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

โฆษกของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) อธิบายว่า การนำข้อมูลสองแหล่งมาเปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์ บางครั้งอาจทำให้ผู้คนหลงเชื่อได้ไม่ยาก เราสามารถนำอัตราการเพิ่มขึ้นของสิ่งใด ๆ เช่นยอดขายรถยนต์หรืออัตราการอาบน้ำต่อครัวเรือนมาอ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย

โฆษกของ ECDC ยังย้ำว่า มีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ได้ว่า วัคซีนโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมาก รวมถึงช่วยลดอัตราการเสียชีวิตอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.reuters.com/article/factcheck-gbnews-excessdeaths/fact-check-european-mortality-data-do-not-support-link-between-higher-covid-19-vaccination-rates-and-excess-deaths-idUSL1N3180Q7

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร