สธ. ย้ำตรวจ ATK หากผลเป็นบวกต้องได้รับการดูแลถูกต้อง-รวดเร็ว

กทม. 11 ก.ย.-สธ.ย้ำหน่วยบริการ แจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนตรวจด้วยตัวเองแล้ว ขอให้วางแนวปฏิบัติให้ชัดเจน โดยประชาชนต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้อง หรือพิมพ์แนวปฏิบัติว่าจะติดต่อหน่วยบริการอย่างไรในกรณีผลตรวจเป็นบวกแจกคู่ไปกับชุดตรวจด้วย ย้ำเมื่อประชาชนติดต่อมาแล้วห้ามปฏิเสธการดูแล ด้าน สปสช.คาดสัปดาห์หน้าเริ่มเปิดลงทะเบียนขอรับชุดตรวจได้

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) เพื่อแจกประชาชน และการจ่ายชดเชยค่าบริการสำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ วันที่ 10 ก.ย. 2564 โดยระบุว่าขณะนี้ โหมดในการใช้ชีวิตของคนไทยคือ Living with COVID หรือการใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขจะทำมี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ


  1. ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด แม้ไม่มีวัคซีนยี่ห้อใดในโลกที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 100% แต่สามารถป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้เกือบ 100% ดังนั้นต้องเร่งฉีดให้ครอบคลุมมากที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสป่วยแล้วเสียชีวิตสูง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์นั้น ขณะนี้ยังมีสัดส่วนการฉีดวัคซีนที่น้อยมาก ดังนั้นขอให้หน่วยบริการดูแลให้มากขึ้น ปกติหญิงตั้งครรภ์ต้องมาคลินิกฝากครรภ์ทุกเดือนอยู่แล้ว ถ้ามาแล้วพบว่ายังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ก็ให้เจ้าหน้าที่ฉีดได้เลย ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดฉีด
  2. universal prevention ให้บุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สื่อสารกับประชาชนในเรื่องการป้องกันตัว ขอให้คิดเสมือนว่าตัวเองติดเชื้ออยู่แต่ยังไม่มีอาการ ต้องป้องกันตัวไม่ให้เอาเชื้อไปติดคนอื่น ขณะเดียวกันก็ต้องคิดเสมอว่าคนรอบๆตัวอาจมีเชื้อโควิดโดยที่ยังไม่แสดงอาการ เพราะฉะนั้นก็ต้องป้องกันตัวไม่ให้รับเชื้อจากคนอื่นเช่นกัน
  3. การตรวจหาเชื้อด้วย ATK เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดหนัก ในขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กำลังอยู่ในช่วงขาลง แต่ก็ไม่มีอะไรยืนยันว่าจะไม่กลับมาระบาดหนักอีก การตรวจหาเชื้อด้วย ATK จะเป็นเครื่องมือช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพราะถ้าสามารถค้นหาได้เร็ว แยกได้เร็ว แทนที่ 1 คนจะแพร่เชื้อได้ 8-9 คนก็อาจจะเหลือ 1 คนต่อ 1-2 คนหรือไม่ติดใครเพิ่มเลย

“ต้องขอบคุณ สปสช.ที่สนับสนุนให้ประชาชนมีชุดตรวจ ATK ที่สามารถใช้เองได้ ดังนั้น ATK 8.5 ล้านชิ้นนี้ ต้องฝากทุกจังหวัดในการกระจายและให้ประชาชนได้ทำการตรวจด้วยตัวเอง โดยให้ อสม.ช่วยในการกระจายชุดตรวจและสอนวิธีการใช้” นพ.ธงชัย กล่าว

นพ.ธงชัย เน้นย้ำด้วยว่า ขอให้หน่วยบริการที่กระจายชุดตรวจในแต่ละพื้นที่ จัดทำแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจนว่าถ้าผลตรวจเป็นบวกแล้วต้องทำอย่างไร ติดต่อที่ไหน ให้มาหาที่โรงพยาบาลหรือโทรมาก่อนแล้วโรงพยาบาลไปรับ โดยให้จัดทำแนวทางตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งพิมพ์สติกเกอร์พร้อมหมายเลขติดต่อหน่วยบริการติดไว้ที่กล่อง ATK หรืออาจพิมพ์แนวทางการปฏิบัติใส่ซองไปพร้อมๆกันก็ได้


“เมื่อกระจายชุดตรวจลงไปแล้วขอให้วางแนวปฏิบัติให้ชัดเจน โดยประชาชนต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้องรวดเร็วและไม่มีการปฏิเสธไม่ว่าจะตรวจด้วย ATK จากโครงการนี้หรือไปซื้อมาตรวจเองก็ตาม ถ้าอาการไม่หนักก็แนะนำให้ทำ Home Isolation แต่ถ้าจะรับเข้าโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาล ต้องทำ RT-PCR ก่อน” นพ.ธงชัย กล่าว

นพ.ธงชัย กล่าวย้ำเพิ่มเติมว่า ในการแจก ATK นั้น ขอให้เจ้าหน้าที่มีการสอบถามเบื้องต้นก่อนว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ไม่ใช่ใครมาขอก็ให้หมด ขอให้เน้นกลุ่มเสี่ยงที่มาจากพื้นที่ที่มีการระบาด คนในครอบครัวในชุมชนมีผู้ป่วย รวมทั้งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในในตลาด โดยหากตรวจครั้งแรกแล้วไม่เจอ ให้แนะนำว่าอย่าเพิ่งวางใจ อีก 4-5 วันให้ตรวจซ้ำอีกครั้งหรือตรวจทันทีที่มีอาการไม่สบาย

นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คาดว่าชุดตรวจ ATK จะกระจายไปยังหน่วยบริการต่างๆได้ในสัปดาห์หน้าและเริ่มลงทะเบียนรับชุดตรวจได้ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งในจำนวนชุดตรวจ 8.5 ล้านชุด จะกระจายในเบื้องต้น 96% แบ่งเป็น กทม. 2.5 ล้านชุด เขตสุขภาพที่ 1-12 อีกประมาณ 5 ล้านชุด หน่วยบริการในสังกัดกรมอนามัยอีก 4 แสนชุด ส่วนชุดตรวจที่เหลือจะเป็นส่วนที่สำรองไว้


นพ.อภิชาติ กล่าวว่า ในพื้นที่ กทม. จะบริหารจัดการโดยสำนักอนามัยของ กทม. กระจายไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข แล้วศูนย์บริการสาธารณสุข มอบต่อให้ผู้นำชุมชนหรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) นำไปกระจายให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเน้นชุมชนแออัด ตลาด ร้านเสริมสวย สปา โรงเรียน และกลุ่มที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะ

นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถขอรับได้ที่คลินิกชุมชนอบอุ่นและร้านยาที่เข้าร่วมกับโครงการของ สปสช. โดยลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดจะกระจายชุดตรวจ ATK ไปยังโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยมี อสม. และจิตอาสา กระจายชุดตรวจให้กลุ่มเสี่ยงที่บ้าน ขณะเดียวกันประชาชนก็ยังขอรับชุดตรวจที่คลินิกชุมชนอบอุ่นและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการในต่างจังหวัด ผ่านการลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตังได้เช่นกัน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย