สำนักข่าวไทย ๘ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี/สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ติดตามการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ติดตามประเมินผล การถ่ายโอนภารกิจ การดูแลผู้สูงอายุให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงกลาโหม โครงการพัฒนาระบบการให้บริการ โรงพยาบาลของเหล่าทัพ/ โครงการข้าราชการพลเรือนกลาโหม
กระทรวงการคลัง ๑) การใหความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บรรเทาภาระค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา ตั้งแต่เดือน ต.ค. ๒๕๖๒ – ก.ย. ๒๕๖๓ ช่วยค่าไฟฟ้าไม่เกิน ๒๓๐ บาท/คน/เดือน และค่าน้ำประปาไม่เกิน ๑๐๐ บาท/คน/เดือน ชําระราค่าสินค้าอุปโภคและบริโภคผ่านเครื่อง EDC ซึ่งระบบจะแยกยอดภาษีมูลคาเพิ่มรอยละ ๗ ออกจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และจะนําเงินร้อยละ ๕ มาจ่ายชดเชยผ่านช่อง e-Money โดยไม่เกินจํานวน ๕๐๐ บาท/คน/เดือน เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ผ่านกองทุนผูสูงอายุ โดยมีแหล่งเงินเข้ากองทุน คือ ภาษีสุราและยาสูบ ในอัตราร้อยละ ๒ ของภาษีที่เก็บ สำหรับโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผูสูงอายุ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ม.ค. ๒๕๖๑ – ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๓ มียอดเงินจากภาษีสุราและยาสูบเข้าบัญชี กองทุนฯ ทั้งสิ้น ๙,๔๐๑ ล้านบาท โดยได้จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วประมาณ ๙,๒๕๕ ล้านบาท จำนวนกว่า ๔.๖๘ ล้านคน สำหรับโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มียอดบริจาคเข้ากองทุนฯ แล้ว ๑๐.๓ ล้านบาท ๒) รางพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ พ.ศ. ….(ราง พ.ร.บ.คนบ.) และ ๓) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญแหงชาติ พ.ศ. …. (ร่าง พ.ร.บ. กบช.) อยู่ระหว่างดําเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ ๒๙ ก.ค. – ๒๑ ส.ค. ๒๕๖๓ ก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
กระทรวงมหาดไทย ๑) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกรุงเทพมหานคร จำนวน ๕๘๒,๑๙๗ คน การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีผู้เข้าร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับฝึกอาชีพในด้านต่างๆ เสร็จสิ้นโครงการ จำนวน ๓,๔๒๗,๓๓๑ คน ๒) เบี้ยยังชีพ “ผู้สูงอายุ” “คนพิการ” ผู้มีรายได้น้อย ขยายสิทธิกลุ่ม “มารดาตั้งครรภ์” “เด็กแรกเกิด” “เด็กวัยเรียน” กรุงเทพมหานครได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน ๘๙๒,๑๑๗ ราย งบประมาณ ๖,๙๙๒,๘๖๓,๒๐๐- บาท และได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนรัฐบาลสนับสนุนสงเคราะห์เบี้ยความพิการ จำนวนผู้พิการ ๙๗,๕๑๐ ราย งบประมาณ ๙๓๖,๐๙๖,๐๐๐บาท ๓) ลดความเหลื่อมล้ำของ “คุณภาพการบริการสุขภาพ” ทั้งระบบ พัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อนำไปสู่การให้บริการการรักษาพยาบาลที่ดีแก่พี่น้องประชาชน ให้เบิกจ่ายเป็นรายเดือนในอัตรา ๑,๐๐๐ บาท ต่อคน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปรับเพิ่มสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๖๓ เป็นต้นไป รวมถึงเด็กพิการทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ได้รับการปรับเพิ่มเบี้ยความพิการจาก ๘๐๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐ บาท
กระทรวงพาณิชย์ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ลดภาระค่าครองชีพ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้านธงฟ้าพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการให้นำสินค้ามาจำหน่ายในร้านธงฟ้าพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น มีร้านค้าให้บริการผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน ๙๑,๔๙๙ ร้านค้า เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๖๐ – ๓๑ พฤษภาคม ๖๓ รวมทั้งสิ้น ๑๑๓,๐๑๖ ล้านบาท
กระทรวงคมนาคม การพัฒนาระบบตั๋วร่วม แบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร ศรีรัช และอุดรรัถยาในวันหยุดราชการประจำปี รวม ๑๙ วัน ผลักดันการดำเนินมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท ในทุกช่วงเวลา (เดิมอัตราสูงสุด ๔๒ บาท) โดยมีอัตราแรกเข้า ๑๔ บาท ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงร้อยละ ๕๒.๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ และกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สูงสุดที่ ๒๕ บาท นอกช่วงเวลาเร่งด่วน (จากเดิม ๔๕ บาท) โดยมีอัตราแรกเข้า ๑๕ บาท ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงร้อยละ ๔๔.๔๕ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เพิ่มการขับขี่รถยนต์คล่องตัวและปลอดภัย สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด ๑๒๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ทุกประเภทบนถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ ๔ ช่องขึ้นไป จากความเร็วไม่เกิน ๙๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นความเร็วไม่เกิน ๑๒๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด บูรณาการการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับทางรถไฟ
กระทรวงแรงงาน ๑. การให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้กฎหมายประกันสังคม จำนวน ๑๖.๓๒ ล้านคน (ณ ๓๑ กรกฎาคม ๖๓) เป็นเงินทั้งสิ้น ๙๖,๙๒๓.๘๖ ล้านบาท ๒. สำนักงานประกันสังคม ดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ๑) ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างจากเดิมร้อยละ ๕ เหลือร้อยละ ๔ ๒) ผู้ประกันตน ตามมาตรา ๓๓ จากเดิมร้อยละ ๕ เหลือร้อยละ๑ ๓) ผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ จากเดิมร้อยละ ๙ เหลือร้อยละ ๑.๘ เป็นเงิน ๘๖ บาทต่อเดือน ขยายลดอัตราเงินสมทบ และนายจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา ๓๓ คงเหลือฝ่ายละ ร้อยละ ๒ และผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ คงเหลือเป็นเงิน ๙๖ บาทต่อเดือน ๓ เดือน (ส.ค. – ต.ค. ๖๓) ขยายเวลานำส่งเงินสมทบ ออกไป ๓ เดือน ๓. โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้แก่ สถานประกอบการ โดยสำนักงานประกันสังคมจะสนับสนุนเงินฝากเพื่อให้ธนาคาร นำไปปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ ๓% ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และ ดอกเบี้ยคงที่ ๕% ต่อปี กรณีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยสถานประกอบการที่จะยื่นกู้ได้ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๓ เดือน และต้องรักษาสถานภาพการจ้างงานผู้ประกันตน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ เป็นระยะเวลา ๓ ปี สามารถ ยื่นกู้ได้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
กระทรวงสาธารณสุข การลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการบริการสุขภาพ ๑ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิ์ทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP) ๒ การเพิ่มการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลโดยการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โดยมีการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายแล้ว จำนวน 1,112 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ ครอบคลุมการดูแลประชาชนกว่า 12 ล้านคน ๓ สร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนคนไทย สนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ศอ บต. “บริการ ณ จุดเดียว” เช่น ศูนย์ประสานงานและบริการการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ จชต., ศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นที่ จชต. และ ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีใน จชต. เปิดให้บริการที่ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้.-สำนักข่าวไทย