เปิด 8 บทเรียนออนไลน์ “MOOC” หลักสูตร โควิด-19

กรุงเทพฯ 20 ส.ค.-กองทุนสื่อฯ-ม.เกษตร ร่วมพัฒนาสื่อ เปิด 8 บทเรียนออนไลน์ “MOOC” หลักสูตร โควิด-19 และระบาดวิทยาโดย2 ผู้เชี่ยวชาญ “ศ.นพ.ยง-รศ.ยืน ภู่วรวรรณ” นำองค์ความรู้ แก้ปัญหาประเทศชาติ “ดูแล ปกป้อง ป้องกัน”หยุดโรค-การระบาดของโรค ถ่ายทอดความรู้ ส่งตรงถึงมือประชาชนในรูปแบบคลิป-วิดีโอ


สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแถลงข่าวและเปิดการใช้งานบทเรียนออนไลน์ ภายใต้ “โครงการพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์ และดำเนินการสำหรับนักเรียนและประชาชน หลักสูตร โควิด-19 และระบาดวิทยา” จากการสนับสนุนของ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ และ รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ หัวหน้าโครงการฯ และคณะทำงานโครงการฯ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ตรงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในรูปสื่อบทเรียนออนไลน์ “MOOC” (Massive Open Online Course) บนเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้โดยง่าย

นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลได้ให้ทุกหน่วยงานทำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด รวมถึงออกมาตรการป้องกัน ควบคุม เยียวยาและแก้ปัญหาผลกระทบ
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้จัดทำโครงการสื่อสารรณรงค์ ป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงของโควิด-19 และรณรงค์เพื่อป้องกันการระบาดรอบใหม่ ผลิตสื่อรณรงค์เฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และยังมีการระบาดอยู่ทั่วโลก จำเป็นต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง


“โครงการบทเรียนออนไลน์ “MOOC” หลักสูตร โควิด-19 และระบาดวิทยา เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดทำบทเรียนออนไลน์ เพื่อเตรียมพร้อมให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ ความเข้าใจ จากแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ โรคโควิด-19 และการระบาดวิทยาเบื้องต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ตรงผ่านบทเรียนออนไลน์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ง่าย รวมถึงเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลในการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง แยกแยะข่าวลวง ข่าวหลอกได้ ทำให้การป้องกัน ลดความเสี่ยง และบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ในประเทศไทย โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นแบบออนไลน์ พร้อมทั้งบูรณาการการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สังคมอย่างถูกต้องและมีคุณธรรม โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี และมีประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปอย่างมาก” ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว

นางวรินรำไพ ปุณย์ธนารีย์ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กล่าวว่า โครงการพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์ ดำเนินการสำหรับนักเรียนและประชาชน หลักสูตร โควิด-19 และระบาดวิทยา เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ได้ตรงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของกองทุนฯ อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงพลังความร่วมมือในการทำงานเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของประเทศชาติในขณะนี้ ดังนั้น ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทโดยตรงในการทำให้ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และฉลาดใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงต้องสร้างความร่วมมือที่ก่อเกิดพลังออกมาในรูปขององค์ความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุข การแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โดยการนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ไปสื่อสารบนแพลตฟอร์มที่ทรงพลังและปลอดภัย ให้เกิดการนำไปใช้ได้ง่ายและทันทีทันใด เท่าทันต่อสถานการณ์ในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New normal)

“ขณะที่โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การดำเนินวิถีชีวิตถึงยุคที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ก้าวเข้ามาโดยไม่ทันได้ตั้งตัวทุกเรื่อง โดยเฉพาะภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดเรื่องสุขภาพ ดังที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ “โควิด-19” เห็นผลกระทบเป็นที่ประจักษ์ชัดและรุนแรง ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ที่ยังคงรุนแรงอยู่ เป้าหมายเดียวกันที่ทุกคนพยายาม คือวันที่จะชนะเชื้อโรคตัวนี้ ให้หยุดการแพร่ระบาด การดึงพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เป็นองค์กรให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายตามพันธกิจของกองทุนฯ มาเป็นเครือข่ายในการส่งต่อความรู้ให้กับสังคม เพื่อให้ทุกคนสามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดจากความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในการเรียนรู้เรื่องโควิด-19 มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการป้องกันโรค การดูแลตนเอง ครอบครัว และสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน เพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้องและการมีวินัยต่อการนำไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง” รองผู้จัดการกองทุน กล่าว


ด้าน ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในสถานะการณ์ที่ต้องรับมือกับโรคระบาดร้ายแรงโควิด-19 จนถึง 1 สิงหาคม 2563 ทั่วโลก ยังอยู่ในสถานการณ์การระบาดที่รุนแรง ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่อยู่นอกประเทศจีนที่สามารถยืนยันผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนเป็นรายแรก ในวันที่ 13 มกราคม 2563 และมียอดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในเดือนมีนาคม 2563 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2563 ก็สามารถควบคุมการระบาดได้ดีระดับหนึ่ง แต่ก็ยังอยู่ในสถานะการณ์เสี่ยงที่อาจจะมีการระบาดรอบสองได้
โครงการ พัฒนาบทเรียน หลักสูตร โควิด-19 และระบาดวิทยา ทำในรูปสื่อบทเรียนออนไลน์ แบบ MOOC (Massive Open Online Course) อยู่บนเว็บไซต์ให้ทุกคนเข้ามาเรียนได้ง่าย

“การเรียนออนไลน์ เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เข้ากับสถานการณ์ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส เพื่อเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด 19 และองค์ความรู้ในการดูแล ปกป้อง ป้องกันโรค และการระบาดของโรค เน้นด้านวิทยาการเกี่ยวกับชีววิทยาไวรัส และโรคโควิด 19 และระบาดวิทยา เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อการเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป ในรูปบทเรียนออนไลน์ MOOC เพื่อสร้างสรรค์แบบเปิดให้เข้าถึงแบบกว้างขวาง” ศ.นพ. ยง กล่าว

ด้าน รศ. ยืน ภู่วรวรรณ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้จัดทำโดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจัดออนไลน์บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้รายวิชา: โควิด 19 และระบาดวิทยา บนเว็บไซต์บทเรียน https://learningcovid.ku.ac.th ประกอบด้วย 8 บทเรียน ได้แก่ 1)ความรู้เกี่ยวกับไวรัส 2)รู้จักโรคโควิด 19 3)พื้นฐานการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด 19 4)ระบาดวิทยา 5)การป้องกัน 6)เรียนรู้จากข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับโควิด 19 7)ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 และ 8)วินัยการปฏิบัติตามมาตรการและทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย โดยเนื้อหาการเรียนรู้หนึ่งบทมี 4-6 ตอน รวม 39 ตอน แต่ละตอนถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น ขนาดความยาว 3- 15 นาที ผสมกับเนื้อหาความรู้ที่อ่านเข้าใจง่าย และมีแบบทดสอบ เพื่อเรียนรู้ด้วยตนเองแบบออนไลน์ เมื่อเรียนผ่านตามเกณฑ์ จะได้รับประกาศนียบัตร ที่ออกให้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อีกด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า