กรม สบส. จัดทีม อสม.ชวนคนไทยร่วมกำจัดโรคโปลิโอ

4 ต.ค. – กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) มอบนโยบายถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ ร่วมจัดทีมลงพื้นที่เชิญชวนประชาชนให้นำบุตร-หลาน อายุครบ 2 เดือน ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ มารับวัคซีนที่หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐ และเอกชนใกล้บ้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กำจัดโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศ


นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. ให้สัมภาษณ์ว่า โรคโปลิโอ (Poliomyelitis) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสโปลิโอเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความพิการ และบางครั้งอาจทำให้ถึงเสียชีวิต แม้ประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 แต่ก็ยังจะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ด้วยอาจจะมีการนำเชื้อโปลิโอมาจากผู้เดินทางจากนอกประเทศ ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคโปลิโอส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยเด็ก และหนุ่มสาว แต่หากผู้สูงอายุป่วย ก็มักจะมีอาการรุนแรงและเป็นอัมพาตได้มากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับเชื้อโรค และอายุของผู้รับเชื้ออย่างในเด็กอายุน้อยก็จะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กโต ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสูญเสีย และกำจัดโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศ การให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในเด็กเล็กถือเป็นเรื่องสำคัญ กรม สบส.จึงได้มีนโยบายไปถึง อสม.ทั่วประเทศ ให้จัดทีมลงพื้นที่เชิญชวนให้พี่น้องประชาชนนำบุตร-หลาน อายุครบ 2 เดือน ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ มารับการฉีดวัคซีนที่หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐ และเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใกล้บ้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งหน่วยบริการสาธารณสุขจะให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในเด็กตามสูตร “2 IPV + 3 OPV” หรือฉีด 2 เข็ม หยอด 3 ครั้ง โดยการรับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) จำนวน 2 เข็ม เมื่ออายุครบ 2 เดือน และ 4 เดือน หลังจากนั้นให้มารับวัคซีนโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV) จำนวน 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 6 เดือน, 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี พร้อมเฝ้าระวังติดตามอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นหลังเด็กรับวัคซีน

ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคโปลิโอ สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโปลิโอ จะมีอาการไข้ต่ำ เจ็บคอ ระบบประสาทถูกทำลาย การหายใจล้มเหลว แขนขาลีบ เกิดการอักเสบของไขสันหลังเกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขา ในรายที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดความพิการตลอดชีวิต หรือถึงขั้นเสียชีวิต โดยปัจจุบันยังไม่มียารักษาแต่ป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยการหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด และล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ ซึ่งการป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ การรับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอตามกำหนดให้ครบ 5 ครั้ง. -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯหารือบริษัทยา

นายกฯ ถกบริษัทยา Astrazeneca พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทย

บริษัทยาระดับโลก Astrazeneca หารือ นายกฯ ยืนยันไทยยังเป็นพันธมิตรที่ดีมายาวนาน พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ นายกฯ มั่นใจการแพทย์ของไทยติดระดับในโลก ยืนยันหลายประเทศทั่วโลกบินมารักษาในประเทศไทยจำนวนมาก

ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค.

กรมควบคุมมลพิษ เผยวันนี้ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค. ประสานทุกหน่วยงานยกระดับการแก้ไขปัญหา พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

หวยอลวน12ล้าน

หวย 12 ล้านพาวุ่น “ผู้กองเข้ม” แจ้งความ “ยายแหล่”

หวยอลวนมาอีกแล้ว หลังยายแหล่ แม่ค้าร้านลาบก้อย ที่เพิ่งถูกสลากฯ เป็นเศรษฐีใหม่ 12 ล้านบาท แต่มีตำรวจรายหนึ่ง ไปแจ้งความ ว่าถูกยายแหล่ ยักยอกทรัพย์

แอปฯ “ล่าเหรียญ” ฟีเวอร์ ทำชาวบ้านเดือดร้อน

แอปพลิเคชัน “Jagat” ฟีเวอร์ ทำวัยรุ่นว้าวุ่น แห่ล่าเหรียญแลกเงินที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ทำชาวบ้านและผู้ประกอบการเดือดร้อน ตำรวจเตือนการแชร์พิกัดตำแหน่งอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเฝ้าติดตามและฉวยโอกาสขโมยทรัพย์สินได้ และอาจเสี่ยงเจอข้อหาบุกรุก