กทม.เตรียมจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียปีหน้า

กรุงเทพฯ 25 ก.ย. – กทม.เตรียมจัดเก็บค่าบำบัดนำเสียปีหน้า หลังรอกฎหมายลูกนานกว่า 20 ปี แก้ปัญหาใช้เงินภาษีส่วนรวมจ่ายค่าบำบัดปีละ 800 ล้านบาท ชี้ประชาชนผู้ใช้น้ำรายย่อยไม่ต้องกังวล นำร่องสถานประกอบการที่ใช้น้ำมากก่อน


“น้ำประปาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนกรุงเทพฯ ปัจจุบันเราใช้น้ำอยู่ประมาณ 2 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เมื่อใช้เสร็จก็กลายเป็นน้ำเสีย บางส่วนเอกชนก็จะบำบัดเอง บางส่วนก็ส่งไปบำบัดรวมที่ส่วนกลาง หรือที่โรงบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ทั้ง 8 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครไม่ได้จัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย แต่มีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการถึงปีละ 800 ล้านบาท ขีดความสามารถในการบำบัดคือ 1.2 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 100% ทำได้เพียง 37%”

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียระหว่างกรุงเทพมหานคร กับการประปานครหลวง โดยมีนายมานิต ปานเอม ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ร่วมลงนาม ในวันนี้ (25 ก.ย.) ณ ห้องรัตนโกสินทร์ กทม.


ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า การเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียครั้งนี้ไม่ได้รบกวนประชาชน แต่เป็นการเก็บจากผู้ประกอบการที่มีขนาดใหญ่ โดยคิดคำนวณจากน้ำดีที่ใช้ประมาณ 80% ที่นำมาคำนวณ โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลน้ำมาจากการประปานครหลวง การนำมาตรวัดน้ำดีมาใช้เป็นไปตามหลักสากล ฝากถึงประชาชนไม่ต้องกังวล เพราะการจัดเก็บจากที่พักอาศัยของประชาชนยังไม่มีอยู่ในแผน เฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ที่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ระยะแรกคาดว่าจะจัดเก็บได้ประมาณ 200 ล้านบาท ยังมีส่วนต่างอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม หัวใจคือ PPP หรือ Polluters Pay Principle ผู้สร้างมลภาวะต้องเป็นผู้จ่าย เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ไม่ให้เกิดนำภาษีของประชาชนส่วนรวมมาจ่าย และเป็นกระตุ้นให้คนใช้น้ำน้อยลง

ด้าน ผู้ว่าการ กปน. กล่าวว่า การประปานครหลวงเห็นด้วยกับกรุงเทพมหานคร ตามหลักการที่ว่าผู้ที่ก่อไห้เกิดมลภาวะต้องมีส่วนร่วม ความร่วมมือในครั้งนี้การประปาพร้อมสนับสนุนข้อมูลให้กับกรุงเทพมหานครเพื่อให้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย ซึ่งอนาคตอาจจะมีความร่วมมือเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเสียอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า การจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มจัดเก็บได้ในต้นปีหน้า ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน โดยการจัดเก็บแยกเป็น 2 กลุ่ม คือสถานประกอบการ (แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2) ที่ใช้น้ำจำนวนไม่เกิน 2,000 ลบ.ม. จะเก็บในอัตรา 4 บาท/ลบ.ม. แต่สถานประกอบการ โรงงานขนาดใหญ่ (แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3) ที่ใช้น้ำเกิน 2,000 ลบ.ม. จะเก็บในอัตรา 8 บาท/ลบ.ม. สำหรับวิธีการจัดเก็บ กทม.จะเป็นผู้ออกใบแจ้งหนี้เอง โดยในอนาคตจะหารือการประปาเพื่อให้การออกใบแจ้งหนี้เป็นใบเดียวกัน ในส่วนของสถานประกอบการหรือโรงแรมที่มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเองแล้วอาจจะไม่ต้องจ่ายค่าบำบัดนี้ และในส่วนของสถานประกอบการที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่บริการของโรงบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ทั้ง 8 แห่ง ก็ยังไม่จ่ายค่าบำบัดเช่นกัน


ทั้งนี้ กรุงเทพหมานครได้ออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยที่ผ่านมาผู้แทนของกรุงเทพมหานครและการประปา ได้หารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทั้ง 2 หน่วยงานเป็นไปตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

• แลกเปลี่ยนข้อมูลรหัสประจำบ้าน และข้อมูลการใช้น้ำรายเดือนสนับสนุนการทำงานระหว่างกัน สำหรับรายละเอียดความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลง มีดังต่อไปนี้
1.กทม.สนับสนุนข้อมูลรหัสประจำบ้าน (House ID) แก่ กปน. เพื่อการให้บริการของ กปน. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตาม พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  1. กปน. ตกลง ให้ความร่วมมือกับ กทม. ในการสนับสนุนข้อมูลการใช้น้ำรายเดือน ในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ที่กรุงเทพมหานครประกาศจัดเก็บ เพื่อเป็นฐานข้อมูลใช้ประกอบในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เช่น ข้อมูล ปีอ่านน้ำ เดือนอ่านน้ำ รหัสประจำบ้าน รหัสประเภทบุคคล ทะเบียนผู้ใช้น้ำ รหัสสถานะผู้ใช้น้ำ รหัสประเภทผู้ใช้น้ำ ชื่อผู้ใช้น้ำ สถานที่ใช้น้ำ ปริมาณการใช้น้ำ ประจำเดือน หรือข้อมูลอื่นตามที่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงร่วมกัน
  2. กทม. และ กปน. จะสนับสนุนในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้
    ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงเก็บรักษาข้อมูลทั้งหมดตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ให้เป็นความลับ

โดยพื้นที่บริการ จัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สี่พระยา รัตนโกสินทร์ ช่องนนทรี หนองแขม ทุ่งครุ ดินแดง จตุจักร และศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บางซื่อ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 22 เขตการปกครอง ได้แก่ เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา ดินแดง ราชเทวี พญาไท ปทุมวัน บางซื่อ จตุจักร ห้วยขวาง หลักสี่ หนองแขม บางแค ภาษีเจริญ ดุสิต ทุ่งครุ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ และหลักสี่

การคิดค่าบริการ คิดปริมาณน้ำเสียที่ร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้น้ำประปาคูณด้วยอัตราค่าธรรมเนียมตามประเภทของแหล่งกำเนิดน้ำเสีย ซึ่งจะเริ่มเก็บในต้นปีหน้า แบ่งประเภทและอัตรา ดังนี้

1.แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 อัตราไม่เกิน 4 บาท/ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ (ก) หน่วยงานของรัฐหรืออาคารที่ทำการของเอกชนหรือองค์กร ระหว่างประเทศ (ข) มูลนิธิ ศาสนสถาน สถานสาธารณกุศล (ค) โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล (ง) โรงเรียนหรือสถานศึกษา (จ) สถานประกอบการ ที่มีการใช้น้ำเฉลี่ยย้อนหลังหนึ่งปีก่อนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน

  1. แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3 อัตราไม่เกิน 8 บาท/ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ (ก) โรงแรม (ข) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (ค) สถานประกอบการ ที่มีการใช้น้ำเฉลี่ยย้อนหลังหนึ่งปีก่อนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เกินกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน

• ชำระง่ายๆ ผ่าน 3 ช่องทาง
สถานที่รับชำระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย มี 3 ช่องทาง ประกอบด้วย
1.จุดบริการรับชำระเงินของกรุงเทพมหานคร (1) จุดบริการรับชำระเงิน ณ ฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักการระบายน้ำศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง (2) จุดบริการรับชำระเงิน ณ สำนักงานเขตทุกเขต
(2) จุดบริการรับชำระเงินของธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
(3) ธนาคารที่ให้บริการชำระบิลข้ามธนาคาร (Cross-bank Bill Payment) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) บริการธนาคารบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Banking) และเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติโดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการชำระบิลข้ามธนาคารได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละธนาคารหรือผู้ให้บริกา. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ลิณธิภรณ์” แจงปมสะกดคำผิด ยอมรับผิดพลาดพร้อมแก้ไข

กระทรวงวัฒนธรรม 4 ก.ค.- “ลิณธิภรณ์” ยอมรับดรามาใช้ภาษาไทยสะกดคำผิด พร้อมแก้ไขปรับปรุงตัว รับปากจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก บอก บางครั้งรีบพิมพ์ไม่ได้ตรวจทาน ทำเกิดผลเสียทุกวันนี้ แจงมีปัญหาสุขภาพ อาจทำให้ออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงดรามาเรื่องการใช้ภาษาไทยในโซเชียลมีเดีย ว่า ตนขอยอมรับอย่างซื่อตรง ว่าบางครั้งในการสะกดคำของตนเองก็มีความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งใช้การพิมพ์ด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้โพสต์ข้อความไปแล้ว ก่อนจะมารู้ตัวอีกทีก็ผ่านไป 2-3 ชั่วโมง มันเป็นความผิดพลาด อันนี้ตนยอมรับด้วยความจริงใจ และวันนี้ตนก็เข้าใจดีว่าเมื่อมานั่งตำแหน่งตรงนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือต้องปรับปรุง และคิดว่าหลังจากนี้ความผิดพลาดเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะตนก็อยากเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ของประเทศเหมือนกัน รวมถึงอีกสิ่งที่ตนอยากจะบอกคือการออกเสียงควบกล้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบ จากปัญหาสุขภาพ แต่ส่วนหนึ่งตนก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวว่า วันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในภาพนโยบายใหญ่ คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยใน รายละเอียดที่ชัดเจน และจะเข้ากระทรวงพร้อมกันในวันที่ 8 กรกฎาคม สำหรับตนหากใครที่เคยติดตาม ก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ พูดเรื่องการศึกษาในส่วนของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเรื่องการลดค่าสอบทีแคส (TCAS) รวมถึงเรื่องการทำโครงการ ด้านสุขภาพภาวะจิต และอาจจะเป็นโครงการหนึ่งที่ตนจะสานต่อ […]

มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ที่บราซิล

ทำเนียบ 3 ก.ค.-มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 17 ที่บราซิล 6-7 ก.ค.นี้ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2568 ร่วมกับผู้นำจาก 10 ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS และประเทศหุ้นส่วนจากหลากหลายประเทศ ที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยไทยเข้าร่วมในฐานะประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (Partner Country) สำหรับการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างความร่วมมือโลกใต้เพื่อการสร้างธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ปีนี้ ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) สาธารณสุข (2) การค้า การลงทุน และการเงิน (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ธรรมาภิบาลของปัญญาประดิษฐ์ […]

Hun Sen, at event marking ruling party's 74th founding anniversary

ฮุน เซน เรียกร้องปั๊ม ปตท. งดนำเข้าน้ำมันจากไทย

พนมเปญ 3 ก.ค.- นายฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรียกร้องให้เจ้าของปั๊ม ปตท.เลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน สื่อของกัมพูชารายงานว่า นายฮุน เซน พูดถึงเรื่องนี้ในระหว่างการประชุมกับครูและนักเรียนที่ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในจังหวัดไพรแวงในวันนี้ เรียกร้องให้เจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุกแห่งในกัมพูชาเลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นจากเวียดนาม  มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อปั๊ม แม้ว่า ปตท.จะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยก็ตาม นอกจากนี้นายฮุน เซนยังพูดถึงเรื่องที่ไทยเคยขู่ว่าจะตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เน็ต ห้ามขายเชื้อเพลิง และอื่นๆ ให้กัมพูชาด้วยว่า เมื่อไทยขู่มากัมพูชาก็ตอบโต้ทันที กัมพูชาต้องพึ่งพาตนเองให้ได้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตเหมือนกับที่กำลังเผชิญจากไทยในเวลานี้ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากไทย แต่กัมพูชาก็ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ของกัมพูชา ประธานวุฒิสภากัมพูชาเน้นย้ำว่า มาตรการทั้งหมดที่กัมพูชาได้ดำเนินไปนั้นเป็นการตอบโต้โดยตรงกับภัยคุกคามจากฝ่ายไทย รวมทั้งการที่ไทยปิดด่านพรมแดนแต่เพียงฝ่ายเดียว เขาแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า การเจรจากับไทยจะเริ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายไทยจะต้องยอมเปิดด่านทุกจุดอย่างเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยทำก่อนวันที่ 7 มิถุนายนแล้วเท่านั้น.-816(814).-สำนักข่าวไทย

เปิด 7 จุดยืน “ปชน.” ทางออกประเทศหาก “แพทองธาร” พ้นเก้าอี้

กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “แพทองธาร” พ้นตำแหน่ง เปิดเงื่อนไขโหวตนายกฯ คนใหม่ พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “นายกฯ แพทองธาร” พ้นจากตำแหน่ง เพื่อนำพาประเทศไปสู่ทางออกที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับประชาชนทุกคน ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศต้องการมากที่สุด คือรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีความชอบธรรม และสามารถตั้งทีมบริหารจากความรู้ความสามารถ ไม่ใช่จากการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง2.รัฐบาลที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากสภาชุดปัจจุบัน ทางออกสำหรับประเทศจึงเป็นการจัดให้มี “การเลือกตั้งใหม่” โดยเร็ว3.รักษาการนายกฯ ควรประกาศให้ชัดเจนว่าจะใช้อำนาจที่ตนเองมี ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง4.หากรักษาการนายกฯ ไม่ทำ และมีเหตุใดที่ทำให้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร พ้นจากตำแหน่ง กระบวนการในการเลือกนายกฯ คนใหม่ จะต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งนายกฯ ที่พร้อมเดินหน้าสู่การยุบสภา5.เพื่อให้ประเทศไม่ถูกบีบไปสู่ทางตันหรือการใช้อำนาจนอกครรลองประชาธิปไตย เราพร้อมจะพิจารณาลงมติให้กับผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ คนใหม่คนใดก็ตาม ที่ยอมรับ “เงื่อนไข” ในการเป็นรัฐบาลชั่วคราว โดยทางพรรคประชาชนจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลและจะไม่มีใครจากพรรคประชาชนไปเป็นรัฐมนตรี 6.“เงื่อนไข” ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา สำหรับนายกฯ คนใหม่ จะต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย6.1 การประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี6.2 การยืนยันภารกิจเฉพาะหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว (เช่น การดำเนินการให้มีการจัดประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง เพื่อถามประชาชนเรื่องการมี […]

ข่าวแนะนำ

เหนือ-อีสานตอนบน-ตะวันออก ฝนตกหนักถึงหนักมาก

กทม. 5 ก.ค.-กรมอุตุฯ เตือนภาคเหนือ อีสานตอนบน และภาคตะวันออก ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 70% ของพื้นที่ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในขณะที่บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ดานัส”แล้ว คาดว่า […]

ทลายบ่อนกลางกรุง พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา

กทม. 4 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เอาจริง สั่งจัดระเบียบสังคมทันที หลังรับตำแหน่ง มท.1 ประเดิมงานแรก สั่งการชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง บุกทลายบ่อนพนันกลางกรุง หลังมีประชาชนร้องเรียน พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการให้นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ “ปิดบ่อนสะพานใหม่” จับกุมบ่อนการพนันกลางกรุง โดยชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วย นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจนรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สนธิกำลังพนักงานฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทลายบ่อนการพนันขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนสะพานใหม่ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร […]

ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร

กองทัพบก 4 ก.ค.-ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร หลังลาดตระเวนพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น จากกรณีเฟซบุ๊กเพจ “Army Military Force” โพสต์คลิปทหารพรานของไทยปะทะคารมกับทหารกัมพูชา ที่กำลังพยายามรุกลํ้าเข้ามาในดินแดนไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีอาวุธปืนครบมือนั้น พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารีว่า ชุดลาดตระเวนของกองร้อยทหารพรานที่ 2304 ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ได้ทำการลาดตระเวนพื้นที่ ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกำลังทหารกัมพูชา ในบริเวณจุดชมวิวภูผี ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดน ใกล้บริเวณปราสาทโดนตวล และเขาพระวิหาร และบริเวณเส้นทางลาดตระเวนใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายไทยมีการลาดตระเวนตรวจตราอย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าทักทายเจรจากัน และแยกย้ายกันไป ไม่มีเหตุความรุนแรงใด พล.ต.วินธัย กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายจุดพบกำลังทหารกัมพูชามาลาดตระเวนในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น และบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับหน่วยของกัมพูชาร่วมลงพื้นที่ด้วยตนเอง เมื่อมาพบเจอกับฝ่ายทหารไทยก็จะมีพูดทักทายกัน และบางครั้งก็อาจจะมีแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะเหมือนถกเถียงกันบ้าง แต่ทั้งหมดไม่ถึงขั้นตั้งใจจะใช้ความรุนแรงต่อกัน เพราะต่างฝ่ายต่างระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดข้อตกลง และต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ตามแนวทางผู้บังคับบัญชา.-313.-สำนักข่าวไทย

นักธรณีวิทยา​ย้ำไม่มีสัญญาณ​สึนามิ​เข้าไทย​ ไม่ต้องตระหนก

กรุงเทพฯ​ 4 ก.ค. – ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา ย้ำขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณทางวิทยาศาสตร์​บ่งชี้ว่า​จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าสู่ประเทศไทย​ จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วง​ 1-2​ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณใกล้หมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา เป็นการเลื่อนตัวในแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง จึงไม่เข้าลักษณะที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ ขณะเดียวกัน จากการติดตามข้อมูลยังไม่พบสัญญาณทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า​ จะมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเกิดคลื่นสึนามิ ศ.ดร.สันติ กล่าว​ว่า​ ก่อนหน้านี้​เรารู้​จักแนวมุดตัวของเปลือก​โลก​บริเวณ​หมู่เกาะ​นิโคบาร์​-สุมาตรา ที่หากมีการเคลื่อนตัวจะมีโอกาส​เกิดสึนามิ​ แต่ล่าสุด​พบ​ว่า​ มีแนวภูเขาไฟ​ใต้น้ำ​บริเวณ​หมู่เกาะ​สุมาตรา​ที่​ไม่เคยปะทุมาก่อนและบอกไม่ได้​ว่าจะปะทุ​เมื่อ​ใด ซึ่งนักธรณีวิทยา​และหน่วยงาน​ด้านภัยพิบัติ​จะต้องติดตาม​อย่างต่อเนื่อง​ต่อไป​ ทั้งนี้ แม้ในอดีตจะเคยเกิดสึนามิจากรอยเลื่อนสุมาตราที่เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก​ แต่ย้ำว่า​ เหตุการณ์ปัจจุบันไม่มีตัวชี้วัดในลักษณะเดียวกัน จึงขอให้ประชาชนอย่ากังวลเกินควร อย่างไรก็ตาม การตื่นรู้ต่อภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น แอปพลิเคชันกรมอุตุนิยมวิทยา การติดตามข้อมูลจากภาครัฐ และระบบแจ้งเตือนภัยในท้องถิ่นเช่น Cell Broadcast​ ที่​ภาครัฐ​เร่งดำเนินการ​สำหรับ​แจ้ง​เตือน​ภัยพิบัติ​ต่าง​ ๆ ให้​ครอบคลุม​ทั่วประเทศ​ ทั้งนี้ ​การเตรียมความพร้อมคือเรื่องสำคัญ รัฐเองก็พยายามส่งสัญญาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว […]