กทม. สั่งทุกเขตปูพรมสำรวจถังดับเพลิง

กทม. 29 มิ.ย.- รองผู้ว่าฯ กทม. สั่งทุกเขตปูพรมสำรวจถังดับเพลิงในพื้นที่ จัดเก็บถังเสื่อมสภาพ เร่งนำถังที่สั่งซื้อใหม่มาทดแทน พร้อมทยอยนำข้อมูลถังเข้าระบบออนไลน์


“ถังดับเพลิงตอนนี้มีหลายที่มา แต่ไม่ว่าจะมาจากไหน เมื่ออยู่ในชุมชนจะเป็นเรื่องของ กทม. ที่ต้องเข้ามาดูแล” รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวขณะที่ลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยการจัดเก็บถังดับเพลิงที่เสื่อมสภาพในชุมชนจักรพรรดิพงษ์ และชุมชนวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อคลายความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับการจัดเก็บถังดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร วันนี้ (29 มิ.ย. 66)

การจัดเก็บถังดับเพลิงโดยเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ เจ้าหน้าที่ที่ไปจัดเก็บจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบว่าถังที่มีอยู่สามารถใช้ได้หรือไม่ หากใช้ได้ก็จะตั้งไว้จุดเดิม ถึงแม้ถังดับเพลิงในชุมชนจะเป็นชนิดผงเคมีแห้ง แต่ก็มีโอกาสรั่วได้เช่นกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรุงเทพมหานครจะต้องปูพรมเพื่อตรวจสอบและจัดเก็บถังดับเพลิงที่ใช้ไม่ได้ออกจากพื้นที่ พร้อมกับทำหน้าที่เฝ้าระวังเพลิงด้วย สำหรับประชาชนทั่วไปหากสังเกตพบว่าถังดับเพลิงเป็นสนิมหรือบวม สามารถแจ้งมายังกรุงเทพมหานคร โดยโทร.199 แจ้งผ่านสำนักงานเขต หรือแจ้งผ่านระบบTraffy Fondue ได้


ตามหลักแล้วจะต้องมีถังดับเพลิง 5 หลังคาเรือนต่อ 1 ถัง แต่หากแต่ละหลังคาเรือนมีจำนวนคนมาก มีกิจกรรมที่ต้องเฝ้าระวังมาก หรือมีความเสี่ยงมาก ก็อาจต้องเพิ่มจำนวนถังให้เหมาะสม ซึ่งขณะนี้กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยในกรุงเทพมหานคร (BKK Risk Map) สำรวจความเสี่ยงของชุมชน สำรวจผู้ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ อาทิ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก โดยให้ทุกเขตลงพื้นที่สำรวจความปลอดภัย จุดติดตั้งสัญญาณเตือนไฟไหม้ เส้นทางเคลื่อนย้าย พร้อมจัดทำแผนเผชิญเหตุทุกชุมชนให้ตรงกับสภาพของแต่ละพื้นที่

สำหรับความแตกต่างของถังดับเพลิงแต่ละประเภท ถังดับเพลิงสีแดง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ถังดับเพลิงบรรจุผงเคมีแห้ง และถังดับเพลิงบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยถังดับเพลิงผงเคมีแห้งจะมีแรงดันที่ 195 PSI. มีเกจวัดแรงดัน สายฉีดมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเส้น ส่วนถังดับเพลิง CO2 จะมีแรงดันที่ประมาณ 800 – 1,200 PSI. ไม่มีเกจวัดแรงดัน เนื่องจากเป็นถังที่มีแรงดันสูง ปลายกระบอกฉีดจะมีลักษณะเป็นกรวย ส่วนถังดับเพลิงสีเขียว ภายในจะบรรจุน้ำยาเหลวระเหยหรือสารอื่นที่อยู่ในสถานะของเหลว มีเกจวัดแรงดัน และถังดับเพลิงสเตนเลส ภายในจะบรรจุโฟมหรือน้ำ ซึ่งถังดับเพลิงประเภทนี้จะไม่มีอยู่ในชุมชน ส่วนถังดับเพลิงที่อยู่ในชุมชนปัจจุบันจะมีถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (สีแดง) และถังดับเพลิงน้ำยาเหลวระเหย (สีเขียว)

วิธีการตรวจสอบและดูแลถังดับเพลิงเบื้องต้นสำหรับประชาชน ได้แก่


  • 1. สลักยังอยู่
  • 2. เกจวัดแรงดันอยู่ตรงกลาง ในช่องสีเขียว ไม่ตกไปทางซ้ายหรือขวา
  • 3. รูปทรงถังอยู่ในสภาพปกติ ไม่บวม (ถังที่บวมจะบวมที่ด้านล่าง) ไม่แตกร้าว ไม่เป็นสนิม สายสมบูรณ์ ไม่เปื่อยหรือฉีกขาด
  • 4. ค่อย ๆ ยกถังคว่ำแล้วฟังเสียง ถ้าสารเคมีภายในถังยังใช้ได้ จะได้ยินเสียงคล้ายทรายไหลภายในถัง ในกรณีบางถังถูกตั้งไว้นาน จะเกิดการเกาะของสารเคมี วิธีป้องกันจึงต้องหมั่นยกคว่ำ
  • 5. ควรเก็บถังให้ห่างจากความร้อน แสงแดด น้ำ หรือความชื้น และไม่ควรตั้งวางถังบนพื้นเพราะจะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย หากติดตั้งแบบแขวน ระยะความสูงจากพื้นถึงก้านบีบไม่ควรเกิน 1.5 เมตร

เมื่อจะใช้งานเพื่อดับเพลิง ให้ใช้มือข้างถนัดหิ้ว บิดสลักออก ยกหัวฉีดชี้ไปที่ฐานของไฟหรือต้นเพลิง (ทำมุมประมาณ 45 องศา) ผู้ฉีดควรอยู่เหนือลม ระยะห่างจากฐานของไฟควรอยู่ห่างประมาณ 2 – 4 เมตร เพราะสารเคมีอาจจะฟุ้งเข้าตาได้ บีบไกให้สารพุ่งออกมา ทั้งนี้ การใช้ถังดับเพลิงจะเป็นการระงับอัคคีภัยในเบื้องต้นก่อนนักดับเพลิงจะไปถึงที่เกิดเหตุ

ในส่วนของการลงพื้นที่เพื่อตรวจความเรียบร้อยของถังดับเพลิงในชุมชน จะปูพรมดำเนินการทั้ง 50 เขต โดยชุมชนใดที่มีการจัดเก็บถังดับเพลิงที่เสื่อมสภาพไป กรุงเทพมหานครจะนำถังใหม่ไปติดตั้งให้โดยเร็ว ส่วนถังที่ยังใช้งานได้จะมีการตรวจสภาพปีเว้นปี เพื่อให้ประชาชนมั่นใจ ในขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครเตรียมนำเข้าข้อมูลถังดับเพลิงในระบบ BKK Risk Map มีการแบ่งสีพื้นที่เป็น แผนที่สีแดง ส้ม เหลือง เพื่อแสดงความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ ซึ่งขณะนี้นำเข้าข้อมูลประปาหัวแดงเรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการนำเข้าข้อมูลในส่วนของถังดับเพลิงตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป

โดยจากนี้ ถังดับเพลิงทุกถังจะมีการติด QR Code เพื่อแสดงข้อมูลประเภทของถัง วันเวลาที่ตรวจบำรุงรักษาล่าสุด ตำแหน่งในการติดตั้ง นอกจากนี้จะมีการระบุคุณสมบัติการดับเพลิงของถังดับเพลิงแต่ละถังด้วย ซึ่งหากประชาชนไม่มั่นใจในการใช้งานให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครเพื่อขอความช่วยเหลือ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

คุมตัวโจรมาเลย์ชิงทอง 138 บาท ทำแผนฯ

ตำรวจคุมตัวโจรมาเลย์ชิงทอง 138 บาท ในพื้นที่หาดใหญ่ ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ พบประวัติสุดแสบ ปล้นฆ่าที่มาเลเซียตั้งแต่อายุ 17 ยังหนีมาก่อเหตุซ้ำที่ไทยอีกหลายครั้ง

นายกฯ ขึ้น ฮ. ดูสภาพจราจรเดินทางสงกรานต์

นายกฯ ขึ้น ฮ. บินดูสภาพจราจร ถ.มิตรภาพ-เส้นทางขึ้นเหนือ-ลงใต้ เตรียมพร้อมประชาชนเดินทางกลับบ้านสงกรานต์ พร้อมตรวจคืบหน้าก่อสร้างทางด่วนพระราม 2 มั่นใจเปิดใช้เต็มรูปแบบ ปลายปี 68 ขณะ “สุริยะ” ยันปลอดภัย ไม่มีของตกหล่น สั่งหยุดก่อสร้างตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้แทน สตง.แจงยิบสร้างตึก สตง. ยันเหล็ก-ปูนมีมาตรฐาน

กมธ.ติดตามงบฯ ถกโครงการสร้างตึก สตง.แห่งใหม่ ด้าน ‘ผู้แทน สตง.’ แจงยิบปรับสัญญาถึง 14 มิ.ย.นี้ ทั้งที่การสร้างต้องเสร็จ 31 ธ.ค.66 ยัน เหล็ก-ปูนมีมาตรฐาน ลั่นเดินหน้าสร้างต่อ แต่ปรับรูปแบบไม่สูง-ทับที่ตึกเก่า ใช้งบที่เหลือสร้าง