กทม.เปิดพื้นที่สวนสาธารณะทั่วมุมเมือง

กรุงเทพฯ 11 ม.ค. – กทม.เปิดพื้นที่สวนสาธารณะทั่วมุมเมือง ซึ่งกิจกรรมนี้เป็น 1 ในนโยบาย 216 ข้อ ด้านสร้างสรรค์ดี คือ กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง และนโยบายเทศกาล 3 เดือน Colorful Bangkok 2022 ซึ่งกำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแห่งเทศกาลดนตรี


นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานการแถลงข่าวนโยบายด้านการสนับสนุนพื้นที่สำหรับดนตรีและการแสดงในกรุงเทพมหานคร​ พร้อมด้วยผู้บริหารเกี่ยวข้อง และ​คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร​ ภาคีเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง​ ร่วมงาน​กรุงเทพมหานคร​ โดย​สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมดนตรีในสวนกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 ตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็น 1 ในนโยบาย 216 ข้อ ด้านสร้างสรรค์ดี คือ กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง และนโยบายเทศกาล 3 เดือน Colorful Bangkok 2022 ซึ่งกำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแห่งเทศกาลดนตรี

“ในอนาคตดนตรีในสวนคงไม่ใช่เทศกาลที่มีแค่เดือนเดียว กทม.จะเปิดพื้นที่แบบนี้ต่อเนื่อง ถ้ามีกิจกรรมต่างๆ เราก็จะทำทั้งปี เนื่องจากกรุงเทพฯ​ มีพื้นที่ท่องเที่ยวค่อนข้างเยอะ แต่เมื่อดูความหนาแน่นก็จะมีอยู่ประมาณ10 สถานที่ ที่นักท่องเที่ยวอยากมา ดังนั้นเราจึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นทางเลือกมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะต้องมีพื้นที่สร้างสรรค์พื้นที่ทำกิจกรรมให้มากขึ้น การเปิดสวนเป็นการสร้างทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยว มากกว่านั้นเราก็พยายามที่จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนเข้าถึงพื้นที่สร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น เพิ่มรถสาธารณะมากขึ้น สร้างความปลอดภัยทางด้านสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งตอนนี้ทางกรุงเทพฯ ได้มีมาตรการจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการเปิดให้นักท่องเที่ยวและคนไทยได้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนความปลอดภัยทางด้านทรัพย์สิน ได้ประสานกับตำรวจท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ในการดูแลครบถ้วนทั้งเรื่องสร้างสรรค์ ความปลอดภัยและโรคภัยไข้เจ็บ” นายศานนท์ กล่าว


กรุงเทพมหานคร มีนโยบายว่าด้วยเรื่องเมืองแห่งการสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความสุขให้กับคนกรุงเทพฯ สนับสนุนการออกมาใช้ชีวิตบนพื้นที่สาธารณะ สร้างการเคลื่อนไหวทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม กรุงเทพมหานครได้ผลักดันนโยบายหลายข้อ เพื่อสร้างเสียงดนตรีให้เกิดขึ้นทั่วทุกมุมเมือง ซึ่งเทศกาลดนตรีในสวน เป็น 1 ในนโยบาย 216 ข้อ ด้านสร้างสรรค์ดี คือ กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง กทม.จึงดำเนินการจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 สวน ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ครอบคลุม 6 โซน ทั่วกรุงเทพมหานคร ตลอดปี 2566

โดยในเดือนมกราคมนี้ ซึ่งเป็นเดือนแห่งเทศกาลดนตรีในสวน ตามนโยบายเทศกาล 12 เดือน กรุงเทพมหานคร กำหนดจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 สวน คือ สวนวชิรเบญจทัศ สวนสันติชัยปราการ สวนรมณีนาถ สวนเบญจสิริ สวนเสรีไทย สวน 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (เคหะร่มเกล้า) สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (บางกอกน้อย) และสวนเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (สะพานพระราม 9) รวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง โดยเป็นการแสดงดนตรีจากวงดนตรีของเยาวชนและประชาชน ที่สมัครผ่านช่องทางของกรุงเทพมหานคร และผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และศิลปินจากค่ายเพลงต่างๆ เข้าร่วมมากมาย

นอกจากนี้ ยังมีเทศกาลดนตรีในสวน ณ สวนหลวงพระราม 8 ซึ่งจัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข โดยจัดทุกวันอาทิตย์ จำนวน 6 ครั้ง ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์ 2566 และกิจกรรมการแสดงดนตรีของกรุงเทพมหานคร ซึ่งบรรเลงโดยวงดนตรีกรุงเทพมหานคร โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2566 ณ มิวเซียมสยาม และศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ศิลปะการแสดงเปิดหมวก Bangkok Street Performer จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่นักดนตรีและนักแสดง ได้แสดงดนตรีบนสถานีรถไฟฟ้าและทางเดิน Sky Walk จำนวน 7 จุดทุกวัน ตลอดเดือนมกราคม 2566


ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป กรุงเทพมหานครได้ปลดล็อกสวนสาธารณะ จำนวน 12 สวน เพื่อเปิดพื้นที่สวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร ให้ประชาชนสามารถเข้าไปเล่นดนตรีได้โดยไม่ต้องขออนุญาต โดยมีเงื่อนไข คือ การเล่นดนตรีนั้นจะต้องไม่มีการหารายได้หรือผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ใช้เครื่องขยายเสียง หากเป็นการเล่นดนตรีที่ใช้เสียงดังเกิน 85 เดซิเบล จะต้องเล่นดนตรีในพื้นที่ที่สวนสาธารณะจัดเตรียมไว้

กรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวนทุกท่านมารับชมและรับฟังดนตรีในกิจกรรมดนตรีในสวนกรุงเทพมหานคร เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับบรรยากาศของสวนและสุนทรียศาสตร์ของดนตรีอย่างเต็มอิ่ม ซึ่งสามารถแชร์ประสบการณ์ดีๆ จากงานนี้่ ผ่านแฮชแท็ก (#) #Colorfulbangkok2022 #ดนตรีในสวน #BKKstreetperformer #เทศกาลดนตรีในสวน และ #TikTokเพลย์ลิส สามารถติดตามตารางการแสดงได้ที่ FB Page ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้ทุกสัปดาห์ รวมถึงติดตามกิจกรรมน่าสนใจมากกว่า 120 อีเวนต์ ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2565 – เดือนมกราคม 2566 ได้ที่เว็บไซต์ https://www.bangkokartcity.org/. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง