fbpx

สปสช.เผยปี 65 ประชาชนรับบริการ 30 บาทรักษาทุกที่กว่า 2 แสนครั้ง

กรุงเทพฯ 27 ต.ค. – สปสช.เผยปี 65 ประชาชนรับบริการ 30 บาท รักษาทุกที่กว่า 2 แสนครั้ง ส่วนใหญ่รักษาความดัน ไข้หวัด โควิด เบาหวาน การเย็บแผล


สปสช.เผยปีงบประมาณ 2565 มีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำของตนตามนโยบายยกระดับบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิแล้วกว่า 1.5 แสนคน รวมจำนวนการรับบริการกว่า 2 แสนครั้ง โรคที่เข้ารับบริการมากสุด 5 อันดับแรกคือ ความดันโลหิตสูง ไข้หวัด โควิด เบาหวาน การเย็บแผลและตัดไหม

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานตามนโยบายยกระดับบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ ว่า ในปีงบประมาณ 2565 มีประชาชนเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำของตน ในหน่วยบริการ 955 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 155,668 คน 209,718 ครั้ง สำหรับเขตพื้นที่ที่มีจำนวนผู้เข้ารับบริการมากที่สุด 3 อันดับ คือพื้นที่ สปสช. เขต 9 นครราชสีมา มีผู้เข้ารับบริการ 29,295 คน รวม 38,138 ครั้ง รองลงมาคือพื้นที่ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้ารับบริการ 27,864 คน รวม 38,369 ครั้ง และ สปสช.เขต 6 ระยอง มีผู้เข้ารับบริการจำนวน 14,856 คน รวม 27,781 ครั้ง


โรคที่เข้ารับบริการมากสุด 5 อันดับแรก คือ 1.ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ หรือ Essential (primary) hypertension 2.โรคหวัดหรือไข้หวัด หรือ Acute nasopharyngitis [common cold] 3.โรคโควิด 4.เบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือ Non-insulin-dependent diabetes mellitus, without complications 5.การเย็บแผลและตัดไหม หรือ Attention to surgical dressings and sutures

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า 30 บาทรักษาทุกที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศเป็นสิทธิประโยชน์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) อนุมัติให้ผู้มีสิทธิบัตรทองหรือสิทธิ 30 บาท สามารถไปรับบริการนอกหน่วยบริการประจำของตนหรือนอกหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายได้ในกรณีที่มีเหตุอันควร

ทพ.อรรถพร กล่าวขยายความคำว่ากรณีที่มีเหตุอันควร หมายถึงการไปรับบริการโดยไม่ได้มีการนัดหมายมาก่อน หรือไม่ใช่การส่งต่อไปรับบริการ เช่น การรับยา กรณีเป็นผู้ป่วยที่ต้องทานยาต่อเนื่องแล้วยาหมดในระหว่างเดินทางไปต่างพื้นที่ สามารถมาขอรับยาที่หน่วยบริการที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาประจำได้ นอกจากนี้ ยังมีกรณีทำแผลและรับวัคซีน เช่น กรณีเดินทางไปต่างพื้นที่แต่ต้องทำแผลต่อเนื่องทุก 2-3 วัน หรือถูกสุนัขกัด ต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้ครบและมีเหตุต้องเดินทางไปต่างพื้นที่ ก็ไปทำแผลหรือวัคซีนในหน่วยบริการอื่นได้


“เช่นเดียวกับกรณีเจ็บป่วย เช่น ปวดศีรษะ ไข้หวัด ปวดท้อง เคืองตา ฯลฯ หรือกรณีไปต่างพื้นที่แล้วปวดฟัน ก็สามารถไปรับบริการทันตกรรมพื้นฐาน ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ในหน่วยบริการนอกพื้นที่ได้” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว

ทพ.อรรถพร กล่าวต่อไปว่า การเข้ารับบริการนอกหน่วยบริการประจำของตนนั้น สามารถไปรับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ทั้งแบบภายในจังหวัดเดียวกัน ข้ามจังหวัด และข้ามเขตสุขภาพ

ขั้นตอนการรับบริการ ต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนรับบริการ โดยใช้บัตรประชาชน หรือ เข้าไปที่เมนู “ขอรหัสเข้ารับบริการ” ในแอปพลิเคชันไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso แล้วสแกน QR code ที่หน่วยบริการจัดไว้ให้ และสุดท้ายยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู สแกนรับบริการ เมื่อยืนยันตัวตนแล้วก็สามารถเข้ารับบริการตามที่กล่าวข้างต้นได้เลย. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย