อาเซียน-รัสเซียพร้อมร่วมมือบนพื้นฐานประโยชน์ร่วมกัน

ทำเนียบรัฐบาล 28 ต.ค.-นายกฯ ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 4 มุ่งผลักดันความร่วมมือบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล พร้อมผู้นำสมาชิกอาเซียน และนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่อาเซียนและรัสเซียยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เป็นเวลา 3 ปีแล้ว ไทยชื่นชมบทบาทที่สร้างสรรค์ของรัสเซียต่อโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง ทำให้ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซียมีความก้าวหน้า และมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในทุกมิติ ไทยสนับสนุนให้รัสเซียพิจารณาส่งเสริมความร่วมมือที่สอดคล้องกับสาขาที่ระบุในมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก บนหลักการ 3 เอ็ม คือ การไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน 

“อาเซียนกับรัสเซียยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันได้อีกมาก ไทยยังสนับสนุนข้อเสนอของรัสเซียในการประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน-รัสเซีย เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รัสเซียมีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยเฉพาะในด้านพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุมร่วมกันต่อไป” นายกรัฐมนตรี กล่าว


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อเสนอ Greater Eurasian Partnership ของประธานาธิบดีปูติน สามารถเชื่อมโยงกับแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 ตามแนวคิดการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภูมิภาคเพื่อการฟื้นฟูจากโควิด-19 ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งที่ทันสมัยและยั่งยืน การสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานโลก และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความหวังว่าจะได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีปูตินที่ประเทศไทยในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2565

นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวเน้นย้ำการเสริมสร้างความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย ซึ่งถือเป็นความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยประเด็นที่รัสเซียให้ความสำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือที่มีพลวัต การเสริมสร้างความมั่นคง และการฟื้นฟูภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ รัสเซียสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค.-สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง