แอมเนสตี้ พร้อมเครือข่ายภาคประชาชนยื่นหนังสือเร่งสภาดันร่างกฏหมายประมาณอุ้มหายเข้าสู่การพิจารณาให้ทันสมัยประชุมนี้
รัฐสภา 8 ก.ย.-แอมเนสตี้ พร้อมเครือข่ายภาคประชาสังคมและญาติผู้เสียหายจากการทรมาน-อุ้มหาย จี้ สภาฯเร่งดันร่าง กฎหมายทรมานและอุ้มหาย เข้าพิจารณาให้ทันสมัยประชุมนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พร้อมด้วย น.ส.ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รวมถึงภาคประชาสังคม , เครือข่ายญาติผู้เสียหายจากการทรมาน-อุ้มหาย และนายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือไฮโซลูกนัท ร่วมกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์พร้อมยื่นหนังสือผ่านไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่หน้าอาคารรัฐสภา เพื่อผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมี 4 ฉบับ โดยมีนายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นตัวแทนส.ส. พรรคก้าวไกล มารับหนังสือ พร้อมยืนยัน พรรคก้าวไกล จะเร่งผลักดันให้การพิจารณากฎหมายฉบับดังกล่าวให้ทันการพิจารณาในสมัยประชุมนี้
นางพรเพ็ญ กล่าวว่า ขอให้สภาเลื่อน ลำดับการพิจารณาจากเรื่องด่วนในลำดับที่ 9 ขึ้นมาเป็นวาระแรกเพื่อให้ทันต่อสมัยการประชุมนี้ ซึ่งการมี พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปราศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรง เพราะการกระทำความผิดอย่างการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายถือเป็นอาชญากรรมและ ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่นานาอารยะประเทศทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันให้มีกฎหมายฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายทั้ง 4 ฉบับมีหลักพื้นฐานว่าการทรมานและการปฏิบัติอย่างไรมนุษยธรรมรวมทั้งการกระทำให้บุคคลสูญหายจะกระทำไม่ได้ไม่ว่าโดยข้ออ้างเหตุผลหรือภายใต้สถานการณ์ใดๆ เอากันหรือยังมีการกำหนดมาตรการป้องกันการทรมานและอุ้มหายโดยมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการพบญาติ พบทนายโดยกำหนดให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการทรมานและการอุ้มหายเท่านั้น รวมทั้งมีอำนาจในการตรวจสอบและรับการกระทำผิดและยาวความเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหาย. สำนักข่าวไทย