“พุทธิพงษ์” สยบดราม่า “หมอชนะ” ยันทุกฝ่ายยังทำงานร่วมกัน

กรุงเทพฯ 17 ม.ค.-“พุทธิพงษ์” สยบดราม่า “หมอชนะ” ยืนยันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังร่วมกันทำงาน เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น ล่าสุดปรับปรุงแอปฯ เพิ่มความมั่นใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล


หลังเฟซบุ๊กเพจทีมงานอาสาหมอชนะ MorChana Volunteer Team และกลุ่ม Code for Public ทีมนักพัฒนาอาสาสมัครภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอปฯ หมอชนะ ประกาศส่งมอบสิทธิการดูแลแอปฯ ทั้งหมดให้กับรัฐบาลอย่างเต็มตัว โดยระบุว่า ทีมงานภูมิใจที่จะส่งมอบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งเกิดจากการริเริ่มบูรณาการของภาคประชาชนสู่ภาครัฐ ที่มีความครบสมบูรณ์ ในแนวทางการออกแบบและกระบวนการในการใช้งานทุกอย่าง เพื่อให้ภาครัฐได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิผล

ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กระทรวงสาธารณสุข ไม่รู้เรื่องการทำแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ดังกล่าว แต่กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ควบคุมโรค และตนในฐานะรัฐมนตรี ก็กำกับดูแล และสนับสนุนทุกอย่างเพื่อให้การควบคุมโรค ได้ประสิทธิภาพที่สุด ส่วนเรื่องแอปพลิเคชันต่างๆ เป็นส่วนที่ (ศบค.) ดำเนินการ เป็นเรื่องทางเทคนิค ที่เมื่อมีแอปฯ มา กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับการสนับสนุนก็นำมาใช้ ควบคู่กับวิธีการสอบสวนโรคที่กรมควบคุมโรคทำอยู่แล้วหลายวิธี และไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแอปฯ เรื่องข้อมูลใดๆอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ฝากให้กำลังใจทีมพัฒนา แต่หากมีอะไรที่ช่วยแก้ปัญหาได้ ก็พร้อม และอยากให้ช่วยกัน


ล่าสุด นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) บอกว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ได้ส่งต่อ “หมอชนะ” มาให้ทางรัฐบาลกำกับดูแลอย่างเต็มตัวแล้ว เพื่อรับมือการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ทำให้มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น ทาง ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้ให้ผู้พัฒนาปรับปรุงโดยยกเลิกการขอข้อมูลส่วนบุคคลในการลงทะเบียน เช่น ชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ ออก ไม่ให้มีการได้มาหรือเก็บข้อมูลนั้นไว้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ นอกจากนั้นยังตัดฟังก์ชันการทำงานของแอปฯ หมอชนะ ออกหลายจุด เพื่อให้ใช้งานง่าย และไม่ลิดรอนสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน โดยมีการใช้งานเพียงการตรวจสอบหาบุคคลที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้ติดเชื้อเพื่อแจ้งเตือนเท่านั้น

การพัฒนาแอปฯ หมอชนะ เกิดจากการร่วมมือกันของอาสาสมัครที่อยากให้มีแอปพลิเคชันในลักษณะติดตามตัวผู้ใช้งาน เพื่อมาช่วยในการควบคุมโควิด โดยมีการพัฒนามาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 โดยดีอีเอสได้ตรวจสอบแล้วว่ามีความมั่นคงปลอดภัยและไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้ให้การรับรอง และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) เป็นผู้ดูแล และเมื่อเกิดการระบาดรอบใหม่ จึงนำแอปฯ หมอชนะมาใช้ติดตามผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เพื่อให้เข้ามารับการตรวจสอบ โดยในการนำหมอชนะมาให้ประชาชนใช้ นอกจากเพิ่มการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลแล้ว บางฟังก์ชันการใช้งานรวมถึงการจัดระดับความเสี่ยงของแต่ละบุคคลไม่ได้นำมาใช้ ทำให้มีผลต่อองค์กรที่ใช้งานแอปฯ หมอชนะ มาก่อนหน้านี้ สามารถใช้งานได้น้อยลง

ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครผู้พัฒนาแอปฯ หมอชนะ จึงได้ออกคำชี้แจงเพื่อให้ทุกคนทราบว่าได้มอบแอปฯ นี้ ให้รัฐบาลนำไปใช้งานแล้ว ไม่ได้อยู่ในความดูแลของกลุ่ม โดยทางกลุ่มยังให้การสนับสนุนการใช้งานของรัฐบาลต่อไป ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังร่วมกันทำงาน ทั้งกลุ่มผู้พัฒนาแอปฯ และ สพร. เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น และเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้คลาวด์เก็บข้อมูลที่ สพร. เริ่มไม่พอมาตั้งแต่ต้นปีนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ จึงต้องให้ใช้คลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) มารองรับในการเก็บข้อมูล


โดยเมื่อเย็นวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก Code for Public และเพจเฟซบุ๊ก ทีมงานอาสาหมอชนะ Mor Chana Volunteer Team ได้ออกแถลงการณ์การส่งต่อแอปฯ หมอชนะ จากกลุ่มอาสาสมัครไปสู่การกำกับดูแลจากทางรัฐบาลอย่างเต็มตัว ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ ระบุว่า กลุ่มผู้พัฒนาจะไม่ได้เป็นผู้ดูแลแอปฯ หมอชนะ อีกต่อไปอย่างเป็นทางการ และทั้งหมดนี้ก็เป็นไปตามที่ทางทีมผู้พัฒนาวางแผนกันไว้ว่าจะดูแลเพียงส่วนของโปรแกรมระบบเปิดในการพัฒนา (Open Source) ซึ่งหลังจากนี้ก็จะยังพัฒนา Open Source ตัวเดิมต่อไป

และเมื่อดูจากแถลงการณ์ในข้อที่ระบุว่า “การดำเนินการการส่งต่อให้รัฐบาลครั้งนี้ คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลเป็นสำคัญเช่นเดิม ดังนั้นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบทิ้งออกจากฐานข้อมูล รวมถึงตัวแอปฯ ได้ปิดฟีเจอร์ยืนยันตัวตนเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เวอร์ชัน 2.0.1 ทำให้ผู้ใช้ใหม่จะไม่มีวิธีในการใส่เบอร์โทรตัวเองเข้าระบบอีกต่อไป” จะเห็นว่าทางกลุ่มผู้พัฒนาได้ดำเนินการตามคำร้องขอของรัฐบาลแล้ว เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า