พระปกเกล้าพร้อมหนุนข้อมูลยกร่างประชามติ

สำนักงานกกต. 4 ธ.ค.-“สติธร” เผยสถาบันพระปกเกล้าพร้อมให้ความเห็นยกร่างพ.ร.บ.ประชามติ แนะฉบับใหม่ควรเปิดกว้างแจงข้อดี-เสียให้ประชาชนประกอบการตัดสินใจ


นายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ให้สัมภาษณ์กรณีคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติของสภาผู้แทนราษฎร เตรียมเชิญสถาบันพระปกเกล้าเข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบของกฎหมายประชามติในแบบต่าง ๆ ว่า ทราบอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น แต่เรื่องนี้ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ต้องพูดกัน เพราะการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวด 15 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ต้องนำไปสู่การทำประชามติแน่นอน

“ที่สำคัญกฎหมายประชามติที่มีอยู่ ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะต้องออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายเก่าแล้วใช้ไปพลางก่อน แต่แนวโน้มน่าจะเป็นการเขียนกฎหมายใหม่ จึงเป็นเรื่องที่มีประเด็นทั้งในเชิงวิชาการ และขั้นตอน ถ้าได้รับการประสานมา ทางสถาบันฯเตรียมข้อมูลทางวิชาการ และอาจมีความเห็นประกอบว่าสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในแง่ของขั้นตอนกระบวนการควรเป็นอย่างไร” นายสติธร กล่าว


เมื่อถามว่าร่างพ.ร.บ.ประชามติฉบับใหม่ควรเปิดกว้างให้ประชาชนร่วมรณรงค์เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ทำประชามติหรือไม่ นายสติธร กล่าวว่า ถ้าตามหลักการการทำประชามติมีความสำคัญและสามารถรับรองความชอบธรรมของกฎหมายที่นำไปทำประชามติได้ จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการเปิดกว้าง เพราะการเปิดกว้างเสมือนเป็นการให้ความรู้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจกับประชาชนทั้งด้านดีและไม่ดี ทั้งยังเป็นกระบวนการที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นหัวใจสำคัญของประชามติ ถ้าไม่ทำ 2 เรื่องนี้เมื่อทำประชามติไปแล้ว โอกาสที่ประชาชนจะไม่ยอมรับมีสูง

ส่วนถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญที่ส.ส.ร.ยกร่างขึ้นจะสามารถรณรงค์ได้หรือไม่ นายสติธร กล่าวว่า ถ้ากฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ ก็ควรเป็นสิ่งที่ทำได้ เวลานี้สิ่งที่เราจะนำไปให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการทำประชามติคือวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและรูปแบบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ซึ่งย่อมต้องมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงน่าจะเป็นเวทีที่ทุกคนมีโอกาสจะมาพูดคุยกันว่าที่เห็นด้วยเพราะอะไร มีข้อดีอย่างไร หรือมีรูปแบบอื่นที่ดีกว่า แต่สุดท้ายวันที่ลงประชามติจริง ๆ จะเป็นตัวตัดสินเองว่าแบบไหนที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการที่จะนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไปในอนาคตมันสามารถเดินหน้าต่อไปได้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

เชียงรายพบสารหนูเกินมาตรฐานใน “น้ำกก” คาดจากเหมืองเมียนมา

สำนักงานสิ่งแวดล้อมฯ เชียงราย ได้รับร้องเรียนว่า “น้ำกก” มีสีขุ่น เมื่อนำไปตรวจพบสารหนูเกินค่ามาตรฐานหลายเท่า กระทบสุขภาพประชาชน คาดมาจากเหมืองแร่ทองคำในเมียนมา ผู้ว่าฯ เชียงราย เรียกประชุมด่วน

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม