“พริษฐ์” ลงพื้นที่หนองคาย ชี้ 3 โจทย์ใหญ่ฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลด

พริษฐ์ช่วยน้ำท่วม

หนองคาย 22 ก.ย. – “พริษฐ์” ลงพื้นที่หนองคาย ชี้ 3 โจทย์ใหญ่ฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลด ต้องส่งเงินเยียวยาให้ถึงมือประชาชนโดยเร็วและเป็นธรรม อัดฉีดเงินให้ท้องถิ่นเร่งฟื้นฟูเมือง พร้อมดูแลสุขภาพจิตผู้ประสบภัยไม่ให้เผชิญกับความเครียด-กังวลโดยลำพัง


นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน พร้อมด้วยทีมงานของพรรค ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วม โดยในช่วงเช้าได้ลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาประชาชนผู้ประสบภัยในอำเภอท่าบ่อ ก่อนจะไปร่วมทำความสะอาดฟื้นฟูโรงเรียนและรับฟังข้อเสนอจากประชาชนและอาสาสมัครในพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่

พริษฐ์ กล่าวว่า ถึงแม้หนองคายจะอยู่ในสภาวะน้ำลดแล้ว แต่เหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงวันที่ 15-21 กันยายน สร้างความเสียหายต่อพื้นที่รวมกัน 6 อำเภอ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการฟื้นฟูเยียวยาไปแล้วบางส่วน รวมงบประมาณ 3,045 ล้านบาท ซึ่งตนมองว่า การฟื้นฟูเยียวยาอาจแบ่งออกเป็นโจทย์หลัก 3 ข้อด้วยกัน


ข้อแรกคือ “การฟื้นฟูทางการเงิน” ซึ่งโจทย์เร่งด่วนที่สุดคือต้องทำให้เงินเยียวยาถึงมือประชาชนโดยเร็ว เพราะเงินเยียวยาไม่ได้สำคัญเฉพาะในมิติของการ “ชดเชยค่าเสียหาย” ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่ยังมีความสำคัญในการช่วยประชาชนให้ “ลุกกลับมาตั้งหลัก” และเริ่มหารายได้ได้อีกครั้งหนึ่ง

พริษฐ์ กล่าวว่า ในระหว่างการลงพื้นที่ ได้พบกับประชาชนที่ทำอาหารที่บ้านเพื่อขายผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งระหว่างนี้จะยังไม่มีรายได้จนกว่าจะซ่อมแซมบ้านเสร็จและซื้ออุปกรณ์เข้ามาใหม่ รวมถึงได้พบกับประชาชนที่ทำสวน ซึ่งก็จะยังกลับมาปลูกใหม่ไม่ได้ หากน้ำที่ขังอยู่จำนวนมากยังไม่มีคนมาช่วยสูบออก สำหรับคนกลุ่มนี้ ทุกวันที่ผ่านไปโดยไม่ได้รับการเยียวยาจึงเป็นอีกหนึ่งวันที่พวกเขายังกลับมาทำมาหากินแบบเดิมไม่ได้

ถึงแม้ ครม. จะอนุมัติเงินเยียวยาตั้งต้น 5,000-9,000 บาทต่อครัวเรือน ไปแล้ว รวมถึงเงินเยียวยา 230,000 บาท ในกรณีที่บ้านเสียหายมากกว่า 70% ขึ้นไป แต่ประชาชนหลายคนที่ตนไปคุยด้วยยังไม่ทราบข้อมูลว่าต้องดำเนินการต่ออย่างไร และบางพื้นที่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่เดินทางมาให้คำแนะนำ
.
ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อเสนอรัฐบาล ดังนี้ 1.พิจารณาใช้วิธีส่งเงินเยียวยาให้ถึงมือประชาชนโดยเร็วที่สุด สำหรับเงินเยียวยาตั้งต้น 5,000-9,000 บาทต่อครัวเรือน รัฐบาลควรใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) มาซ้อนทับกับข้อมูลพิกัดที่อยู่บนแผนที่โลก (Geocoding) เพื่อให้เงินชดเชยผู้ประสบภัยโดยอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐได้เลยทันที เพื่อลดขั้นตอนและภาระทางเอกสารที่ยุ่งยากเกินไป ส่วนเงินซ่อมแซมบ้าน รัฐบาลควรให้เงินซ่อมแซมบางส่วน (เช่น 10,000 บาท) ทันทีสำหรับบ้านทุกหลังที่ประสบภัย จากนั้นเมื่อสำรวจและประเมินความเสียหายเสร็จสิ้นก็ค่อยจ่ายส่วนต่างที่เหลือตามมาตามสภาพจริง
2.เพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นใช้ในการออกนโยบายฟื้นฟูเยียวยาประชาชนในพื้นที่ตนเองเพิ่มเติมอย่างเต็มที่มากขึ้น เนื่องจากกลไกเยียวยาของท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะรวดเร็วกว่า และมีรายละเอียดที่คำนึงถึงปัจจัยเฉพาะรายพื้นที่ได้มากกว่า
3.เพิ่มและเจรจากลไกในการให้สินเชื่อดอกเบี้ย 0% กับประชาชนผู้ประสบภัย เพื่อนำมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการหรือซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพของตนเองโดยเร็ว
4.เร่งประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้กับผู้ประสบภัย
5.พิจารณาถ่ายโอนอำนาจในการประกาศเขตภัยพิบัติและการบริหารจัดการงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้แก่ท้องถิ่นในอนาคค เพื่อให้สามารถใช้เงินได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น โดยหากมีความกังวลว่าจะมีการประกาศเขตภัยพิบัติที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ก็ให้มีกลไกที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะทำเรื่องเสนอให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พิจารณาทบทวน ยืนยัน หรือยับยั้งการประกาศเขตภัยพิบัติที่ท้องถิ่นประกาศไปแล้วได้


พริษฐ์กล่าวต่อว่า นอกจากการทำให้เงินถึงมือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วแล้ว รัฐบาลยังต้องกำหนดเงินชดเชยเยียวยาให้เป็นธรรมกับทุกกรณีด้วย โดยตัวอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบคือ มาตรการเงินเยียวยาตั้งต้นของรัฐบาลซึ่งมีระดับไม่เท่ากันสำหรับแต่ละกรณี (5,000 / 7,000 / 9,000 บาท) ถึงแม้ระยะเวลาที่ถูกน้ำท่วมขัง จะถูกใช้เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดระดับเงินเยียวยา แต่ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้สัมพันธ์กับระยะเวลาเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกี่ยวข้องลักษณะของการเกิดอุทกภัยด้วย เช่น หากเป็นน้ำป่าไหลหลากและมีโคลนหรือหน้าดินไหลลงมาด้วย ความเสียหายก็จะสูง แม้ว่าระยะเวลาที่น้ำท่วมขังจะไม่ถึง 7 วัน หรือบางกรณีน้ำอาจท่วมไม่ถึงหนึ่งวันด้วยซ้ำแต่เกิดความเสียหายสูงมาก ก็จะได้รับความช่วยเหลือเพียงขั้นต่ำสุดเท่านั้น

ดังนี้ รัฐบาลควรพิจารณาเสริมเกณฑ์ในการกำหนดระดับการเยียวยาที่คำนึงถึงหลายปัจจัยมากขึ้น โดยดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่สุด รวมถึงควรทบทวนเกณฑ์ในการกำหนดเงินเยียวยาพื้นที่เกษตรกรรมให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เสียหายจริงด้วย

โจทย์หลักข้อที่สองคือ “การฟื้นฟูเมือง” โดยพริษฐ์ กล่าวว่า ถึงแม้พื้นที่เมืองหนองคายจะไม่ได้รับความเสียหายมากเท่ากับพื้นที่อื่นๆ (เช่น เชียงราย) แต่สถานที่ให้บริการหลายส่วนที่ได้รับความเสียหาย เช่น โรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก อาจต้องยุติการให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนชุมชนบ้านหม้อที่ตนไปร่วมทำความสะอาด อาจต้องปิดทำการรวมกัน 2-3 สัปดาห์ ถึงแม้จะเปิดกลับมาได้ แต่ก็มีอาคารเรียนบางส่วนที่ชำรุดและต้องเร่งซ่อมแซมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุกับนักเรียน

จึงมีข้อเสนอว่า รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นและ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อซ่อมแซมบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ถนน ไฟส่องสว่าง โรงเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวมถึงออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ เช่น กระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านการลดหย่อนภาษีสำหรับ “เมืองน้ำลด” ในลักษณะคล้ายกับที่เคยใช้กระตุ้นการท่องเที่ยว “เมืองรอง”

ส่วนโจทย์หลักข้อที่สามคือ “การฟื้นฟูสุขภาพจิต” พริษฐ์ กล่าวว่า รายงานการศึกษาจากหลายประเทศชี้ชัดว่าคนที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ มีแนวโน้มจะเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงกว่าประชาชนทั่วไป เช่น ภาวะป่วยทางใจหลังประสบภัยในชีวิต (PTSD) ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ถึงแม้ความเครียดและความกังวลบางส่วนอาจมีความสัมพันธ์กับปัญหาทางการเงินและความสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่การเฝ้าดู คัดกรอง และดูแลรักษาความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยทุกคนเป็นภารกิจที่ไม่ควรถูกละเลย

จึงมีข้อเสนอว่า รัฐบาลควรพัฒนาทักษะและสนับสนุนเครื่องมือให้ประชาชนเป็น “แนวหน้าสุขภาพจิต” ที่มีความรู้พื้นฐานในการสังเกตอาการของคนรอบข้างด้านสุขภาพจิต มีทักษะขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพจิต เช่น การรับฟัง การสร้างกำลังใจ และการให้คำปรึกษา และเข้าถึงเครื่องมือประเมินความเสี่ยงพื้นฐานที่นำไปใช้งานต่อได้ นอกจากนี้ยังควรสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรให้เพียงพอสำหรับสายด่วนสุขภาพจิต หรือช่องทางอื่นในการได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตด้วย – 312 สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร