fbpx

สว.โวยกระทู้ถูกเลื่อนทั้งที่บรรจุระเบียบวาระแล้ว

รัฐสภา 16 ก.ย.-สว.โวยกระทู้ถูกเลื่อนทั้งที่บรรจุระเบียบวาระแล้ว ส่งผลวันนี้ไร้กระทู้เป็นหนังสือ วอนรัฐมนตรีช่วยมาตอบ ทั้งนโยบาย รพ.สต. และปัญหาครอบงำอี คอมเมิร์ซข้ามชาติ ประชาชนเดือดร้อนหนัก

การประชุมวุฒิสภาวันนี้ (16 ก.ย.) มีพลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม และแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า กระทู้ถามของนายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา ที่ถามนายกรัฐมนตรี ถึงนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แต่นายกรัฐมนตรีติดภารกิจ มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยตอบแทน ซึ่งทุกคนติดภารกิจและแจ้งว่าจะมาตอบกระทู้ในวันจันทร์ ที่ 23 ก.ย.นี้


ขณะที่กระทู้ถาม ของนางสาวนันทนา นันทวโรภาส สว. ที่ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอให้รัฐบาลเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการครอบงำของอีคอมเมิร์ซข้ามชาติเพื่อปกป้องผู้ประกอบการ SME ในไทย ซึ่งรัฐมนตรีติดภารกิจเช่นกันและจะขอมาตอบในวันที่ 7 ตุลาคม จึงไม่มีกระทู้ถามเป็นหนังสือ

นายเปรมศักดิ์ กล่าวว่าความจริงแล้วเรื่องนี้เป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล ขณะนี้มีปัญหา รพ.สต. โดยเฉพาะทางภาคใต้ มีปัญหามากมีหลายส่วนเกษียณ แต่ไม่มีคนบรรจุแทน จึงได้ถามกระทู้ เพราะประชาชนมีปัญหาเรื่องของการเข้ารับบริการ 30บาทรักษาทุกที่ ทำให้มีบุคลากรไม่พอเพียง จึงขอฝากไปยังรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้มาตอบ เพราะในวันที่ 30 กันยายน จะเกิดปัญหา ว่า จะไม่มีบุคลากรเต็มสูบมาทำงาน จึงอยากให้ประธานช่วยขันน็อตว่ายังไงก็ขอให้มาตอบ เพราะแถลงนโยบายไปแล้วก็อยากให้ทำงานตามนโยบาย ไม่อย่างนั้นจะถูกมองว่าไม่จริงจัง และ หวังอะไรไม่ได้


ด้านนางสาวนันทนา นันทวโรภาส สว. กล่าวว่าเช่นเดียวกับนายแพทย์เปรมศักดิ์ ตนได้ยื่นกระทู้มาตั้งแต่รัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีการครอบงำของอีคอมเมิร์ซข้ามชาติ ส่งผลกับเศรษฐกิจไทยตอนนี้ SME ไทยกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก จึงตั้งใจที่จะให้กระทรวงพาณิชย์มาตอบว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งขณะนี้รัฐมนตรีเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง กลับเลื่อนไปถึงวันที่ 7 ตุลาคม ขณะที่ประชาชนและคนที่ทำธุรกิจเดือดร้อนอย่างหนัก เหตุใดจึงไม่รีบมาตอบ เพราะขณะนี้ธุรกิจจะเจ๊งกันไปหมดประเทศแล้ว ดังนั้นวันที่ 7 ตุลาคม ขอให้มาตอบไม่ควรจะเลื่อน และต้องส่งตัวแทนมาตอบ ถ้าเคารพ เสียงของประชาชน และวันนี้ทำให้ตนเสียสิทธิ์ ในการถามกระทู้สด เพราะกระทู้ได้ถูกบรรจุเข้าระเบียบวาระแล้ว จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าครั้งหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมาตอบและทำให้ทราบว่าท่านจะแก้ไขปัญหาให้ ธุรกิจ sme อย่างไรและขอว่าอย่าได้เลื่อนไปอีก.-312
-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน