รมว.กต. พอใจผลเยือนอินเดีย สรุปภาพรวมกรอบ Bimstec

อินเดีย 13 ก.ค.- “มาริษ” พอใจผลเยือนอินเดีย สรุปภาพรวมกรอบ Bimstec เน้นความมั่นคงทางอาหาร-พลังงาน-ทรัพยากรมนุษย์ ขณะชูท่องเที่ยว แบบ Digital Nomad ย้ำความพร้อมไทยเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำในเดือนกันยายน และขอให้สนับสนุนไทย เป็นสมาชิก BRICS ปลายปีนี้


นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สรุปภาพรวมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทค (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 2 ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการปูทางให้ประเทศสมาชิกของบิมสเทคเข้ามาหารือกัน แลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างอิสระเสรี เพื่อที่จะวางแนวทางไปสู่การประชุมบิมสเทค ซัมมิท ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกันยายนนี้

ช่วงของการประชุม ในฐานะที่ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพ ซึ่งดร.สุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ก็ให้เกียรติประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม โดยตนได้เสนอความสำคัญของการร่วมมือกันในกรอบ 3 ประเด็น


  1. พัฒนาความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื่องจากประเทศไทยและอินเดียและประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้น ทั้ง 7 ประเทศสมาชิก สามารถมีความร่วมมือรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารให้เกิดขึ้นในภูมิภาคและช่วยเหลือประชาคมโลกได้ด้วย โดยเฉพาะด้านการประมง รวมถึงการปลูกข้าว ซึ่งความมั่นคงทางอาหารสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้
  2. ความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมองจุดสำคัญที่พลังงานหมุนเวียน ซึ่งหลายประเทศสมาชิกมีศักยภาพ ในการส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงเช่น เมียนมา ถือเป็นประเทศที่มีพลังงานน้ำ โดยในประเทศไทยรัฐบาลพยายามส่งเสริมพลังงานทางเลือก
  3. ความมั่นคงของทรัพยากรมนุษย์คือ ความร่วมมือในเรื่องของการมี Health Care ถือว่าประเทศไทยเป็นผู้เล่นหลักในเรื่องนี้

ดังนั้น กรอบความร่วมมือทั้ง 3 เรื่อง จะนำไปสู่การพิจารณาของการประชุมผู้นำบิมสเทคที่ประเทศไทยในเดือนกันยายนนี้

นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดีย ยังจัดให้ประเทศสมาชิกบิมสเทค ร่วมหารือกับ นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ซึ่งนายกรัฐมนตรีอินเดีย ก็ได้กล่าวถึงหลักการ “เชื่อมต่อแบบไร้ร้อยต่อ ซึ่งตนได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอินเดียว่า จะนำเอาข้อคิดเห็นของนายกฯ ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธีมของการประชุมบิมสเทค ซัมมิท ที่ไทย ซึ่งจะอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเปิดขอบเขตของประเทศสมาชิกบิมสเทคมากขึ้น ถือเป็นแนวทางเบื้องต้นของการหารือในกรอบของรัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทค เพื่อปูทางไปสู่การให้นายกรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกบิมสเทคในการทำงานร่วมกันในอนาคตต่อไป

สำหรับการพบปะพูดคุยกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ได้พูดคุยกันอย่างกว้างขวาง เพื่อผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของไทยและอินเดีย ประกอบไปด้วย การพัฒนาศักยภาพด้านการทหารร่วมกัน ทั้งความร่วมมือซ้อมรบระหว่างไทย-อินเดีย การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ที่อยากเห็นการครอบคลุมทั้งระบบ นำมาสู่การวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการร่วมมือด้านความมั่นคง รวมถึงความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพราะไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งในอินเดียเองก็มีศักยภาพด้านนี้เป็นอย่างมาก


ส่วนการท่องเที่ยวก็มองเห็นความสำคัญที่ไทยและอินเดียมีความตกลงฟรีวีซ่า ถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันการท่องเที่ยวของประชาชน ที่จะสร้างความเชื่อมต่อระหว่างประชาชนและภาคธุรกิจ รวมถึงการแลกเปลี่ยน Digital Nomad ทั้งอินเดียและไทย ยังมีศักยภาพในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งนโยบายต่างๆ จะถ่ายทอดไปสู่ภาคปฏิบัติหรือเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมก็ต้องอาศัยบทบาทและศักยภาพของนักธุรกิจ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายก็มองเห็นความสำคัญที่จะเน้นความสำคัญและความร่วมมือภาคธุรกิจถือเป็นนโยบายหลักของนายกรัฐมนตรีเศรษฐาที่ต้องการเห็นศักยภาพของนักธุรกิจ ทั้งสองประเทศนำไปสู่ผลสรุปที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ขณะด้านการค้าการลงทุน สามารถเพิ่มพื้นที่การค้าระหว่างกันได้ ทั้งนี้ตนได้เชิญชวนนักลงทุนอินเดียเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นในหลายสาขาทั้ง ด้าน EV ด้านเศรษฐกิจ ดิจิทัล

สำหรับด้านการศึกษา โดยอินเดียมีสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ มีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะเกิดความร่วมมือด้านการศึกษา โดยเฉพาะการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาสามารถทำธุรกิจด้านการศึกษาร่วมกันได้

นอกจากนี้ ยังพูดคุยถึงบทบาทของประเทศไทยที่ต้องการเป็นจุดเชื่อม ทั้งไทยและอินเดียต่างเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ และสามารถร่วมมือกันในกรอบของกลุ่มภาคีอื่นได้ โดยเฉพาะ BRICS ซึ่งได้ขอความร่วมมืออินเดียให้ความสนับสนุนประเทศไทย เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของประเทศไทยในกลุ่มประเทศ BRICS ภายในปีนี้ ซึ่ง ดร.สุพรหมณยัม ชัยศังกระ จะนำไปพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอินเดียต่อไป.-315-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร