17 ธ.ค.-สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” มีความวิตกกังวล 48.89% และส่วนใหญ่เชื่อรัฐบาลแก้ไขไม่ได้ 74.53%
ประชาชนมีความวิตกกังวลปัญหา PM 2.5 มากน้อยเพียงใด ค่อนข้างวิตกกังวล 48.89% วิตกกังวลอย่างมาก 41.58% ไม่ค่อยวิตกกังวล 8.19% ไม่วิตกกังวล1.34%
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น เกิดจากสาเหตุใด พบว่าการเผาไร่นา เผาป่า ไฟป่า 79.04% โรงงานอุตสาหกรรม70.65% การก่อสร้าง 68.42%
วิธีรับมือปัญหา PM 2.5 พบว่ารับมือด้วยการติดตามข่าวสารและแนวทางปฏิบัติจากภาครัฐ 78.72 สวมหน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่กรองฝุ่น PM 2.5 76.14% ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง 62.42%
การเผาไร่นา เผาป่า เกิดขึ้นทุกปี 82.87% ต้นตอของมลพิษมีความหลากหลาย ทั้งจากมนุษย์และสภาพแวดล้อม 69.22% การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เกิดขึ้นต่อเนื่อง 66.28%
มีมาตรการควบคุมและบทลงโทษที่เด็ดขาด85.89% มีระบบการแจ้งเตือน ตรวจวัด และรายงานผลที่มีประสิทธิภาพ 80.45% ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ลดการปล่อยมลพิษ 69.55%
รัฐบาลจะแก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่ 74.53% คงจะแก้ไขไม่ได้ และแก้ไขได้แน่นอน 25.47%
น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเกษตรกรโคราชในหลายพื้นที่ มีความตื่นตัวกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในปัจจุบัน ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูเปิดหีบอ้อย เกษตรกรทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย โดยส่วนใหญ่จะเน้นตัดอ้อยสดแทนการเผา ซึ่งปกติฤดูการเก็บเกี่ยวจะตรงกับช่วงสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นพอดี การตัดอ้อยสดนอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นแล้ว ยังสามารถทำให้ขายอ้อยได้ราคาดี และมีคุณภาพเพราะอ้อยจะมีความหวาน
จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเงินสนับสนุนตัดอ้อยสดในโครงการสนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ไปแล้วนั้น ชาวไร่อ้อยจะได้รับเงินสนับสนุนตัดอ้อยสดตันละ 120 บาท คาดว่ามีชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการ 140,000 ราย เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวไร่อ้อยที่จะเริ่มจ่ายเงินได้ในเดือน ม.ค.2567 นี้
ด้านนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำ” จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการขึ้นเงินเดือนข้าราชการกลุ่มแรกเข้า ภายใน 2 ปี พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.93 ระบุว่า เหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า ควรขึ้นเงินเดือนข้าราชการทุกกลุ่มไม่ว่าจะแรกเข้าหรือรับราชการมานานแล้ว ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ไม่ควรขึ้นเงินเดือนข้าราชการตอนนี้ ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ขึ้นน้อยเกินไป ร้อยละ 3.51 ระบุว่า ขึ้นมากเกินไป และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ตอบ ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.11 ระบุว่า ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราเพิ่มขึ้นเท่ากันทุกจังหวัด รองลงมา ร้อยละ 28.40 ระบุว่า ขึ้นน้อยเกินไป ร้อยละ 28.32 ระบุว่า เหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 6.18 ระบุว่า ไม่ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้ ร้อยละ 0.84 ระบุว่า ขึ้นมากเกินไป.-สำนักข่าวไทย