สคบ.แจงแบบเรียน -หนังสือสินค้าควบคุมฉลาก

สคบ. วันนี้ ( 8 พ.ย.) เลขา สคบ. แจง การกำหนดแบบเรียน -หนังสือ เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค หลังพบข้อท้วงติง เตรียมประชุมหาทางออกร่วมกัน 15 พ.ย.นี้ ด้านตัวแทนสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ เชื่อเป็นนิมิตหมายที่ดี ไขข้อกระจ่างให้ผู้จัดพิมพ์หนังสือทั่วประเทศ
นายธสรณ์อัทฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ นายพัสกร ทัพมงคล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สคบ.ร่วมกันแถลงข่าว ชี้แจงกรณีมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Theerapat Charoensuk” (ธีรภัทร เจริญสุข) กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อความแบบสาธารณะ หัวข้อ “สรุปเรื่อง หนังสือต้องมีฉลาก วิบากกรรม สคบ.” โดยวันนี้นายธีรภัทร ได้เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวด้วย
เลขาธิการ สคบ. ชี้แจงว่า คณะกรรมการว่าด้วยฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 2522 ได้กำหนดให้แบบเรียน หนังสือ เป็นสินค้าควบคุมฉลาก เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า รวมถึงคำพรรณนา คุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแก่ผู้บริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า โดยข้อมูลที่ระบุเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าเพื่อแสดงให้เข้าใจว่าสินค้านั้นเป็นอะไร ชื่อผู้บริโภค หรือผู้นำเข้าเพื่อขาย สถานที่ตั้ง และในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้า ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตราคาปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำราคา เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่เพียงพอในการเลือกซื้อสินค้า


เลขาธิการ สคบ. ยังชี้แจงกรณี นายจรัญ หอมเทียนทอง อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ ระบุว่า ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนดให้หนังสือแบบเรียนต้องมี มอก. นั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจาก สคบ.เพียงกำหนดให้สินค้าที่ควบคุมฉลากต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อผู้บริโภค ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานของสินค้าแต่ประการใด ในเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ด้าน ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สคบ. ชี้แจงว่าผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอ โดยผู้ผลิตจะต้องมีหน้าที่ในการจัดทำสลากเพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภคที่เพียงพอ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่คณะกรรมการฉลากกำหนดไว้ 12 ข้อ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจในการซื้อสินค้าในท้องตลาดได้อย่างถูกต้อง ตรงความต้องการ ทำให้เกิดอิสระในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ขณะเดียวกันสินค้าบางประเภทจะต้องมีคำเตือนระบุเอาไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้งานได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้ามีหน้าที่ในการจัดทำฉลาก และ ยังมีสินค้าบางอย่างที่ไม่เข้าลักษณะของสินค้าควบคุมฉลาก เช่น สังฆทาน เวลาผลิต ผลิตในร้านทั่วไปใช้คนไม่ถึง 50 คน ซึ่งไม่เข้าลักษณะโรงงาน จึงมีความจำเป็นสินค้านั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค หรือการใช้ชีวิตประจำวัน จึงกำหนดเป็นประกาศเฉพาะให้กับสังฆทานผ่านในสินค้าควบคุมฉลาก เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคว่าสินค้านั้นหมดอายุเมื่อไหร่ ให้ผู้บริโภคได้ทราบก่อนซื้อสินค้า ขณะเดียวกันแบบเรียนและหนังสือ สคบ. ได้ออกประกาศเป็นสินค้าควบคุมในภาพรวม แต่เมื่อได้ข้อสังเกตหรือข้อห่วงใยจากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จึงได้เสนอคณะกรรมการฉลาก ให้คณะอนุกรรมการฯ ไปพิจารณาศึกษาและเชิญสมาคมเข้าร่วมพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 15 พฤศจิกายน เพื่อนำสภาพปัญหามาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน
ขณะที่นายธีรภัทร ผู้แทนสมาคมผู้จัดพิมพ์ ระบุว่า ขอบคุณเลขาธิการ สคบ. ที่นำข้อร้องเรียนของทางสมาคมเข้าสู่การพิจารณาและตั้งอนุกรรมการว่าด้วยฉลาก โดยหวังว่าคณะอนุกรรมการจะพิจารณาเหตุผลที่เกี่ยว รวมถึงมาตรฐานการทำงานแบบสากล ปรับปรุงระเบียบที่เป็นข้อขัดข้องให้คลี่คลายไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้การจัดทำหนังสือทำ หนังสือมี พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ ที่มีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคอยู่ในหนังสือแล้ว ซึ่งข้อขัดข้องของสมาคมฯ เกี่ยวกับคณะกรรมการฉลาดที่กำหนดให้ต้องมีวิธีใช้ ข้อควรระวัง และมีการกำหนดขนาดความกว้างความสูงของฉลาก อาจก่อให้เกิดความยากลำบากกับหนังสือบางเล่มที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ทางสมาคมยังไม่ค่อยสบายใจ แต่การที่จะได้หารือกับคณะอนุกรรมการ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะได้เอาข้อมูลมาพูดคุย ว่าหนังสือที่ถูกจัดพิมพ์ไปแล้วทั่วประเทศ จะต้องนำมาปิดฉลากใหม่หรือไม่อย่างไร ให้สามารถดำเนินการให้สอดคล้องกับระเบียบ และประกาศของ สคบ .- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา จ่อแจ้งข้อหา “นุ-แซน” เพิ่มเติม และเชื่อว่ามีบุคคลอื่นที่ต้องถูกดำเนินคดีอีก ส่วน “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ยังไม่ประสานเข้าพบหลังออกหมายเรียก

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน ยิงสู้ จนท.

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน จ.นครพนม หลังหนีข้ามมา จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ปิดล้อมเกลี้ยกล่อมให้วางอาวุธ แต่ไม่สำเร็จ คนร้ายยิงต่อสู้

ขู่ยื่นเอาผิด รมว.ดีอี ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ปชช.

รัฐสภา 3 ธ.ค. – กมธ.ไอซีที สว. ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุนเกียร์ว่าง ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ประชาชน – ปล่อย “หมอบุญ” หนีลอยนวล จี้รัฐยกปราบหลอกลวงออนไลน์เป็นวาระแห่งชาติ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม คนที่หก วุฒิสภา แถลงผลการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ซึ่งตรวจสอบกรณีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงอาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรณีของนพ.บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี ที่พบกรณีฉ้อโกงและฟอกเงิน เป็นมูลค่าสูงกว่า 7,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าวถูกแจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ห้วยขวาง แล้วปี 2566 แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่งนพ.บุญเดินทางออกไปนอกประเทศและไม่มีการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ในการหลอกหลวงผ่านโฆษณาชวนเชื่อนั้น ทำผ่านโบรกเกอร์ที่หลอกลงทุน ทั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนที่คุ้นเคยกับเครือโรงพยาบาลธนบุรี “จากการชี้แจงกรณี นพ.บุญของหน่วยงานที่ชี้แจง พบเป็นการโยนกลองกันไปมา ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบจริงจัง […]

ข่าวแนะนำ

ยูเนสโก ประกาศรับรอง ‘เคบายา’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

วธ.เผย ยูเนสโก ประกาศรับรอง ‘เคบายา’ มรดกวัฒนธรรมร่วม 5 ประเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567

รัฐบาลจัดพิธีอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว อย่างยิ่งใหญ่

พระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว จากสาธารณรัฐประชาชนจีน อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงแล้ววันนี้ พร้อมริ้วขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ ก่อนเปิดให้ประชาชนสักการะ พรุ่งนี้ (5 ธ.ค.) วันแรก

เปิดนาทีระทึก! เรือบรรทุก ชนเรือนำเที่ยวกลางเจ้าพระยา

ระทึก เรือพ่วงบรรทุก เฉี่ยวชนเรือนำเที่ยว จอดเทียบริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้สะพานกรุงเทพฯ ทำให้เรือนำเที่ยวขนาดใหญ่เสียหาย 5 ลำ เรือเล็กจมอีก 1 ลำ