รัฐห่วงเด็กหลุดระบบการศึกษา

ทำเนียบรัฐบาล 7 ธ.ค.-รองโฆษกรัฐบาลระบุ รอบ 3 ปี กสศ.ช่วยนักเรียนยากจนกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง ด้วยงบฯ 2.18 หมื่นล้านบาท เผยอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้น ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำด้านต่าง ๆ รวมถึงการดูแลนักเรียน นักศึกษาผู้ขาดโอกาสแบบพุ่งเป้าผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกสศ.รายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานว่า รอบ 3 ปี ( พ.ค. 61-พ.ค. 65) ว่า กศส. ได้ใช้งบประมาณจากทุกแหล่งเงินจำนวน 21,886.43 ล้านบาท ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาทั้งในและนอกระบบให้ได้รับประโยชน์รวมกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง(นับตามครั้งที่มีการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เด็ก 1 คน มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) ประกอบด้วย 1) เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา 3.02 ล้านคน/ครั้ง แยกเป็น นักเรียนทุนเสมอภาค 2.97 ล้านคน/ครั้ง นักเรียนทุนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา 8,013 คน และเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 45,028 คน 2) เด็ก เยาวชน และแรงงานนอกระบบการศึกษา 44,829 คน 3)ครู 26,648 คน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กสศ.ให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ขาดโอกาสโดยเปลี่ยนแปลงการทำงานเชิงระบบ เช่น เปลี่ยนแปลงระบบการคัดกรองความยากจน โดยสร้างแนวทางการค้นหาเด็กนักเรียนยากจนร่วมกับครูในพื้นที่ตามหลักการความเป็นธรรมและโปร่งใส มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนโดยตรงโดยพิจารณาจากความจำเป็นและความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล จากระบบเดิมที่เป็นการให้เงินงบประมาณกับโรงเรียนและจ่ายเงินรายหัวตามจำนวนนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนไปจัดการศึกษาเพียงอย่างเดียว


“การดำเนินงานดังกล่าวได้แสดงผลสัมฤทธิ์ผ่านตัวชี้วัดหลายประการ อาทิ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาที่มีอัตราการเข้าเรียนน้อยกว่าร้อยละ 85 ได้ลดลงจาก 18,345 คน ในภาคเรียน 1/2563 เหลือ 1,024 คน ในภาคเรียน 2/2563 และเด็กยากจนและยากจนพิเศษ 11,783 คน มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยสามารถเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย (TCAS64) ในสถาบันอุดมศึกษา 69 แห่งทั่วประเทศ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กสศ.ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ “iSEE” โดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ 6 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสได้ตรงตามเป้าหมาย มีระบบการติดตามนักเรียนทุนรายบุคคลผ่านเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลและใช้ติดตามรายที่หลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา และมีการระดมความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้มีส่วนสนับสนุน กสศ. ทั้งในรูปแบบการระดมทุนและความร่วมมือกว่า 200 องค์กร.-สำนักข่าวไทย    


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง